ข้อมูล E-waste 1.4 หมื่นตัน ขนย้ายไม่ตรงจดเเจ้ง 'บ.เจ.พี.เอส.' ทำผิดเงื่อนไขนำเข้ามากสุดกว่า 8 พันตัน
เปิดละเอียดตัวเลข 1.4 หมื่นตัน เคลื่อนย้ายซากอิเล็กทรอนิกส์ผิด กม. มีผู้กระทำผิด 6 ราย กรมโรงงานฯ สั่งพักใบอนุญาต 1 ปี โรงงานนำเข้า 5 แห่ง
สืบเนื่องจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) มีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำเข้าแก่ผู้นำเข้า 5 ราย ที่ทำผิด นำซากชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 14,031ตัน จากทั้งหมด 37,000 ตัน ของปี 2561เคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในสถานที่ไม่ตรงกับที่แจ้งไว้ ซึ่งถือเป็นการลงโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดเป็นระยะเวลา 1 ปี และได้สั่งการตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ให้ส่งซากชิ้นส่วนดังกล่าว ซึ่งออกนอกระบบกระบวนการผลิต คืนผู้นำเข้าที่ถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลจากกรมโรงงานฯ พบว่า ซากชิ้นส่วนฯ จำนวนดังกล่าวที่มีการลักลอบเคลื่อนย้ายมีผู้กระทำความผิด 6 ราย ดังต่อไปนี้
-บริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง จำกัด (ผู้กระทำความผิด )
มี 3 โรงงานนำเข้า ได้เเก่ บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด 1,120 ตัน, บริษัท โอ.จี.ไอ. จำกัด 350 ตัน และบริษัท เจ.พี.เอส. เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด 120 ตัน
-บริษัท นิวส์สกาย เมทัล จำกัด (ผู้กระทำความผิด)
มี 1 โรงงานนำเข้า คือ บริษัท เจ.พี.เอส. เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด 8,139 ตัน
-นายจำรัส พลายกระสินธ์ (ผู้กระทำความผิด)
มี 1 โรงงานนำเข้า คือ บริษัท เจ.พี.เอส. เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด 500 ตัน
-บริษัท อิซัน อินเตอร์เนชั่นเเนล (ไทยแลนด์) จำกัด (ผู้กระทำความผิด)
มี 1 โรงงานนำเข้า คือ บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด 2,952 ตัน
-บริษัท ยงถัง จำกัด (ผู้กระทำความผิด)
มี 1 โรงงานนำเข้า คือ บริษัท หย่งถัง ไทย จำกัด 664 ตัน
- บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด (ผู้กระทำความผิด)
มี 1 โรงงานนำเข้า คือ บริษัท เอส.เอส. อิมปอร์ต เอ็กปอร์ต อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด 186 ตัน .