ทิศทางไทยรัฐในบังเหียนทายาทวัชรพลรุ่นที่ 3 ณ วันที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน
...ความเป็นมืออาชีพของวงการเรา คือ เรื่องจริยธรรมความถูกต้องของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเป็น อย่างแรกที่สื่อต้องทำให้ได้ ด้วยความที่ไทยรัฐก็อยู่ติดลมบนมานาน บางเรื่องบางอย่างก็อาจจะมองไม่เห็นถึงโอกาสถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราให้ทันกับโลกข้างนอกได้ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างจึงเกิดขึ้นได้ยากและล่าช้า แต่ความจริงแล้วส่วนตัวคิดว่าควรต้องปรับให้เร็วกว่านี้...
'จิตสุภา วัชรพล' หรือ 'นิค' รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เทรนด์ วีจี3 จำกัด (ไทยรัฐออนไลน์)
สื่อใหญ่ค่าย 'ไทยรัฐ' ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต โดยมีธุรกิจสื่อในเครือหลักๆ ก็คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ยอดขายอันดับหนึ่งของประเทศไทยมาหลายสิบปี –ไทยรัฐทีวี –เว็บไซต์ไทยรัฐ
ธุรกิจสื่อค่ายไทยรัฐ ที่เป็นของตระกูล 'วัชรพล' ถึงตอนนี้ สืบทอดและบริหารโดยคนตระกูล วัชรพล เข้าสู่รุ่นที่ 3 แล้ว โดยมี 3 พี่น้อง เป็นตัวหลักสำคัญ อันประกอบไปด้วย จูเนียร์-วัชร, นิค-จิตสุภา และแนท-ธนวลัย ที่คอยคุมบังเหียนบริหารงานของธุรกิจสื่อไทยรัฐทั้งหนังสือพิมพ์ ที่เป็นรายได้หลัก-ไทยรัฐทีวีและเว็บไซต์ไทยรัฐ ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ อีกหลายอย่าง
'จิตสุภา วัชรพล' หรือ 'นิค' รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เทรนด์ วีจี3 จำกัด (ไทยรัฐออนไลน์) ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูล 'วัชรพล' วิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจสื่อในภาวะปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่า ทุกประเทศทั่วโลกยังต้องมี Industry สื่อและคนที่ประกอบอาชีพสื่อสารมวลชน ที่มีบทบาทแต่วิธีการทำงานอาจปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามเทคโนโลยี ตามพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งกระดาษ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก แต่ในอนาคตข้างหน้าอีก 5 ปี 10 ปี ไม่รู้หรอกว่า จะมี platform อะไรใหม่ๆเกิดขึ้น อาจจมี another เฟสบุ๊กหรือ something อะไรเกิดขึ้นมาอีก
คิดว่าตัวรูปแบบของสื่อที่เราจะนำ content ไปสู่ผู้บริโภคสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ตัวองค์กรสื่อต้องมีความไวพอ flexible มากพอที่จะปรับให้เข้ากับยุคสมัยและพฤติกรรมผู้บริโภค ตัวกระดาษอาจจะค่อยๆ ลดลง เป็น trend ที่เห็นกันอยู่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แต่ถามว่าจะอีกกี่ปีอีกนานหรือไม่ ตอบยากเหมือนกัน จากที่เคยประมาณว่า 10 ปีน่าจะไหว ก็เริ่มไม่แน่ใจ ว่าจะต้องลดเร็วลงมาหรือไม่ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีหรือปีครึ่งก็มี technology ออกใหม่ หรือแม้แต่ platform ที่อยู่บนโลกดิจิทัล ก็ turn over เร็วมากเพราะมาแล้วไปๆ เร็วมาก
...สำหรับรูปแบบของการเสพทีวีได้ถูก fadeไปแล้วจากทีเคยมานั่งดูทีวีแบบ Linear และดู program ที่ทีวีที่สถานีแต่ละช่องจัดไว้ให้ fix ตาม slot เริ่มมีรูปแบบของ on demand มากขึ้น ย้อนหลังมากขึ้น แต่ทั้งหมดสิ่งทีพูดมา สิ่งที่ยังคงอยู่ คือตัว content ดังนั้นแต่ละช่องทาง ต้องหาวิธีกรนำเสนอ content ให้เหมาะสมหรือเข้ากับ platform technology ของแต่ละ platform แม้ว่าตัว media และ platform จะเปลี่ยนไป แต่ content คือหัวใจ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานิคกับพี่จูเนียร์ (วัชร วัชรพล) พยายามที่จะเน้นเรื่องของคำว่า content ให้มากขึ้น เพราะ content มัน fluid มันไปอยู่ที่ไหนก็ได้ เพียงแต่ว่าต้องมีคุณภาพตามมาตรฐาน ความเป็นมืออาชีพของวงการสื่อเหมือนเดิม
...ส่วนโมเดลธุรกิจของสื่อทั่วโลกจากนี้ เท่าที่เห็นยัง reline on advertising model คือรูปแบบการหาโฆษณา จากที่เรามีฐานผู้อ่านเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ กับรูปแบบของsubscription หรือ play wall ยอมรับตรงๆว่าไม่มั่นใจว่าตลาดเมืองไทยจะพร้อมที่จะจ่าย subscription หรือplay wall หรือเปล่า แต่ส่วนตัวลึกๆยังเชื่อว่าไม่เพราะคนไทยไม่พร้อมและคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะต้อง educateตลาด เพราะ content บน internet ของประเทศไทยเท่ากับ free เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่จะลุกกขึ้นไปเก็บเงินจึงเป็นเรื่องยาก ยิ่ง content ของเราเป็น content ข่าวซึ่งสามารถหาทดแทนได้จากที่อื่นเต็มไปหมดเล
ฉะนั้นการที่จะออก Business Model ที่เป็นเรื่องของ Subscription คิดว่าอาจจะยังไม่ใช่ ณ เวลานี้ของตลาดเมืองไทย แต่ความจริงแล้วทางไทยรัฐก็พยายามที่จะมองหาวิธีการสร้างรายได้รูปแบบใหม่ๆกับทาง partner หลายๆฝ่าย แค่หลายอย่างก็ยังอยู่ในขั้นของการทดลอง ลองผิดลองถูก ส่วนใหญ่ก็ยังเห็นทุกคนก็ยังไปเน้นให้ความสำคัญจากการโฆษณา กับการหารายได้จาก advertising model อยู่ ซึ่งในเชิง business model ยังไม่เห็นว่ามีเจ้าไหนที่ทำได้แบบ break through ออกมาเหมือนกันในวงการสื่อทั่วโลก
-จากสภาวะสื่อสิ่งพิมพ์ซบเซาทั้งระบบตั้งแต่กลุ่มคนอ่าน-ยอดโฆษณา-ยอดขาย ไทยรัฐได้รับผลกระทบอย่างไรและที่ผ่านมา ไทยรัฐ ปรับตัวอย่างไรบ้างจากผลกระทบดังกล่าว?
สื่อหนังสือพิมพ์กกระทบทุกคนที่อยู่ในวงการ printing และ Magazine รวมทั้งหนังสือพิมพ์
“ไทยรัฐกระทบแน่นอนแต่ว่ายังโชคดีมีบุญเก่าเยอะกว่าเล่มอื่น เพราะฉะนั้นความลำบากอาจจะยังไม่เท่ากับเล่มอื่นที่จะต้องปิดตัวลงไป moving forward ไปข้างหน้าของหนังสือพิมพ์ ตอบยากเหมือนกัน แต่ว่าหลักๆ ต้องบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและรักษาฐานผู้อ่าน พยายามโยกฐานผู้อ่านจาก platform หนังสือพิมพ์ไปยังplatform อื่นๆที่เรามีอยู่ในเครือ คือให้เขายังคงจงรักภักดีกับตัว Brand ไทยรัฐ ซึ่งที่ผ่านมากก็ค่อนข้าง achieveในระดับหนึ่ง จากการ transform จาก print ไปสู่ Digital Media บนช่องทาง online ของไทยรัฐก็ perform ได้ค่อนข่างดีแล้วเราก็มีฐานแฟนคลับที่เป็นฐานผู้อ่านหนังสือพิมพ์โยกขึ้นมาอ่านบน online รวมทั้งได้แฟนคลับรุ่นใหม่ๆทาง online ด้วย”
-ผู้ที่เสพสื่อทางหนังสือพิมพ์จะค่อยๆ หายไปจากตลาด จะส่งผลให้ลดจำนวนยอดพิมพ์ยอดขายลงหรือไม่?
กระทบในเชิง Circulation อยู่แล้ว เป็นปกติตามรูปแบบธุรกิจ Model การหารายได้ เมื่อมีผู้อ่านน้อยลงยอดพิมพ์ก็ต้องน้อยลงตามไปด้วยโดยปริยาย แต่ถ้าถามว่าของไทยรัฐถึงจุดที่ขาดทุนหรือต้องปิดตัวลงเหมือนเล่มอื่นเราก็คงยังไม่ย้ำแย่ถึงขั้นนั้น คนดูทีวีที่เป็นจอแก้วน้อยลง แต่เขาก็ไปดูบน platform อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น แต่ตอนนี้ปัญหาของ platform online คือเราไม่ได้เป็นเจ้าของ platform เอง แล้วคนที่เป็นเจ้าของก็คือ global player ซึ่งไม่ได้ง้อหรือcare local media เท่าไหร่
การคุยเรื่องตัวเลขการแบ่งรายได้ร่วมกัน ดูเหมือนเราเสียเปรียบอยู่ประมาณหนึ่งสำหรับพวก local media ทั้งหมด ก็เลยเหมือนจะเป็นกึ่งๆ อุปสรรคแต่ก็ไม่เชิงเสียทีเดียว เพราะผู้บริโภคไปอยู่บนนั้นเยอะมาก ส่วนตัวเราก็มีหน้าที่ต้องไปอยู่ available everywhere ทุกที่ๆคนดูคนอ่านเขาไปอยู่ ถ้าในเชิงทีวีภาพรวมอย่างที่บอกว่า คุณภาพเนื้อหารายการยังต้องเน้น เช่น ความถูกต้องของเนื้อหาข่าว ความรวดเร็วในการนำเสนอ ความสนุกสนานในการรับชมรายการบันเทิงต่างๆก็ยังต้องคงอยู่เหมือนเดิม เพราะรสนิยมของคนไทยก็ยังคล้ายๆ เดิม เพียงแต่ตลาดมีความสนใจเฉพาะกลุ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็จะมีรายการที่ตอบโจทก์ความสนใจเฉพาะกลุ่มพวกนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความยากในเชิงภาพรวม คือจะทำอย่างไรให้ช่องเราได้รับการจดจำ รายการแข็งแรง โฆษณาวิ่งเข้ามา ในฐานะผู้บริหารสื่อไทยรัฐ ที่มีธุรกิจสื่อหลายแห่ง เมื่อถามถึงว่า มองอย่างไรที่ทีวีบางช่อง Rating สูงแต่ข่าวที่ช่องนำเสนอกลับไม่มีคุณภาพ ขณะที่บางช่องข่าวมีคุณภาพแต่ Rating กลับไม่ดี ไม่มีคนติดตาม 'จิตสุภา วัชรพล' มีทัศนะว่า ความจริงแล้วต้อง balance ทั้งสองด้าน แต่ความจริงแล้วคุณภาพก็นำพามาซึ่ง Rating ในมุมหนึ่ง
“ถ้าเราทำแต่ข่าว แล้วสนใจแต่ Rating โดยไม่สนใจคุณภาพ สุดท้ายแล้ว Brand ชื่อเสียงที่สั่งสมมาก็อยู่ไม่ได้คนดูสมัยนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่รู้เรื่อง เขาก็ดูข่าวจากเฟซบุ๊คหรือที่อื่นๆ ถ้าเราเสนอข่าวผิด เอาแต่ความเร็วหรือเอาแต่สนุกปาก คนดูเขาก็รับรู้ได้ เขาก็ไม่ดู Rating ก็ไม่มาอยู่ดี”
ความจริงต้องยอมรับว่าทีวีของประเทศไทย คือความบันเทิง เพราะฉะนั้นทีวีช่องที่เน้นนำเสนอแต่ข่าวเพียวๆจะแอบอยู่ยากกว่าช่องบันเทิง variety เพราะเม็ดเงินโฆษณาฐานคนดู ความเคยชินของผู้บริโภคอยู่ที่ความบันเทิงกับรายการ variety มากกกว่า ทั้งนี้ยอดสูงสุดของ Rating แน่นอนว่ารายการข่าวจะสู้รายการบันเทิงไม่ได้ ยกเว้นจะมีสถานการณ์ที่เป็น Breaking News ระดับชาติ ก็จะเป็น case พิเศษ
“ในยามปกติทุกคนก็หาเช้ากินค่ำ ทำงานมากลับบ้านทุกคนก็อยากผ่อนคลาย อยากได้อะไรที่หลุดโลกเพ้อฝัน ดูละครจะได้ไม่ต้องมาคิดมาก จึงเป็นพฤติกรรมความเคยชินและวิธีการเสพทีวีของคนบ้านเรา เป็นแบบนี้มานานแล้ว”
-ความเป็นมืออาชีพของสื่อต่างๆ มีความสำคัญแค่ไหน?
ความเป็นมืออาชีพคือพื้นฐานของการประกอบอาชีพข่าวและการอยู่ในวงการสื่อ แต่ความจริงแล้วทุกอาชีพต้องการความเป็นมืออาชีพ ความเป็นมืออาชีพของวงการ คือ เรื่องจริยธรรมความถูกต้องของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้นเป็น อย่างแรกที่สื่อต้องทำให้ได้ และต้องเข้าใจสิ่งนี้ตั้งแต่ที่คุณเลือกการเป็นนักข่าว ไม่ว่าจะเขียนหรือออหน้าจอทีวี หรืออยู่บน internet ถ้าเรียกตัวเองว่าสื่อก็ต้องมีความเป็นมืออาชีพอยู่ในตัว เพราะคือการให้เกียรติคนอ่าน
เครือไทยรัฐมีแนวโน้มที่จะขยับไปทำ Model อื่นๆหรือไม่ 'จิตสุภา วัชรพล' ให้ข้อมูลว่า มองไว้ แต่อยู่ในช่วงศึกษาข้อมูลและทดลองเป็น project เล็กๆ จะมีที่เราเพื่อต่อยอด Access ที่เรามีอยู่เพื่อรายได้รูปแบบใหม่ๆ นอกจากนี้ก็มีทั้งการขยายฐานผู้อ่านของ platform online
-คนมองว่าไทยรัฐมีสายป่านค่อนข้างยาวกว่าสื่ออื่นๆ ?
เรื่องสายป่านความจริงแล้วบริษัทอื่นน่าจะยาวกว่า แต่ในเชิง Brand มากกว่าที่คิดว่าแข็งแรงมากๆ ทุกคนมีภาพจำกับคำว่าไทยรัฐอย่างชัดเจนว่าไทยรัฐจะต้องเป็นอย่างไร คือ หน้าที่ของเราตอนนี้คือการมองหา New Opportunity และพยายามต่อยอดความแข็งแรงที่เรามีอยู่ออกไปยังธุรกิจใหม่หรือ Business Model ใหม่ๆ
-ไทยรัฐมีจุดแข็งขององค์กรที่ต่างจากบริษัทอื่นตรงที่การบริหารงานเป็นลักษณะครอบครัวหรือไม่?
มีทั้งข้อดีข้อเสีย ส่วนหนึ่งก็เป็นจุดแข็ง แต่อีกส่วนอาจจะเป็นจุดอ่อน เพราะการบริหารงานแบบที่ทุกคนอยู่กันเป็นครอบครัวก็ได้ถึงจุดหนึ่ง แต่ในจุดหนึ่งก็ต้องมีมืออาชีพเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแรง มุมมองวิธีคิดในการทำงานวิธีคิดใหม่ๆ แต่ความที่เป็นครอบครัวก็เลยอยู่กันและคุยกันได้หลายๆเรื่องทั้งในแบบที่อาจจะคุยกันไม่ได้ในองค์กรอื่น
พนักงานฝั่งหนังสือพิมพ์ทุกคนก็จะ อยู่กันแบบ 10-20-30 ปีทุกคนก็จะรักที่นี่เหมือนเป็นบ้าน เป็นครอบครัวอยู่กันจนรากกงอก (หัวเราะร่วน ) ส่วนข้อเสียถ้าอยู่กันแบบครอบครัวมากไป การปกครองก็แอบลำบาก และ New knowledge ที่จะเข้ามาในองค์กรก็อาจจะจำกัด เพราะเราอาจจะรู้กันแค่นี้ แต่ก็เป็นความอบอุ่นเป็นความผูกพัน ที่องค์กรอื่นๆไม่มี ซึ่งกึ่งๆเป็นวัฒนธรรมของที่ไทยรัฐ ส่งต่อแบบรุ่นสู่รุ่นโดยไม่รู้ตัว อย่างของนิคและพี่จูเนียร์ เป็น Generation ที่ 3 ความตั้งใจอยากจะ keep บรรยากาศของความเป็นครอบครัวอยู่เหมือนเดิม แต่บางอย่างก็อยากที่จะปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์การแข่งขันข้างนอก
การจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ข้างนอก คิดว่าไทยรัฐจะต้องเริ่มจากจุดไหนในองค์กรก่อน “ทายาทเครือไทยรัฐ” เล่าว่าความจริงแล้ว ช่วง 3-4 ปี เราได้ทยอยปรับมาตลอด ทั้งตัวคนวัฒนธรรมองค์กร เนื้อหาที่นำเสนอ Mindset โครงสร้างก็ต้องปรับหมดเลย แต่ก็มีอะไรที่ยังต้องทำอีกกเยอะมากเลย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของคน ระบบวิธีความคิดของคนที่นี่ เพราะมีหลาย Generation หลาย Mindset ด้วยความที่ไทยรัฐอยู่ติดลมบนมานาน บางเรื่องอาจจะมองไม่เห็นถึงโอกาส ถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงให้ทันกับโลกข้างนอกได้ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างจึงเกิดขึ้นได้ยากและล่าช้า แต่ความจริงแล้วส่วนตัวคิดว่าควรต้องปรับให้เร็ววกว่านี้
-แต่ธรรมชาติของคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง?
คนเป็นแบบนั้นและทุกคนก็กลัวการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนั่นคือสิ่งที่นิค เจอในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่นิคทำเรื่อง change องค์กร แต่ก็ยังต้องทำต่อไป ยังต้อง Educate ต้องทำให้เขารู้สึก comfort ให้มากที่สุดให้ได้ ส่วนในอนาคต เครือไทยรัฐ จะมีการดึงมืออาชีพแต่ละด้านมาทำงานในองค์กรนี้หรือไม่ ต้องเป็นจุดๆ ความจริง online ก็มองหาผู้บริหารระดับสูงมาช่วยเสริมทัพ ทางทีวีส่วนใหญ่เป็นมืออาชีพที่เข้ามาร่วม เพราะในรั้วไทยรัฐไม่มีใครเคยทำทีวีมาอย่างจริงจัง แต่หนังสือพิมพ์ไม่ได้อยู่ในจุดที่จะต้องมองหา professional ข้างนอกเข้ามา เพราะคนที่มีอยู่ก็มีความเชี่ยวชาญและรู้เรื่องเกี่ยวกับงานของเขาอยู่แล้ว
ทุกองค์กรก็มีความ Unique และไม่เหมือนกัน แต่ปณิธานก็ต้องสืบสานให้ไทยรัฐอยู่ต่อไปเรื่อยๆ แต่จะอยู่ด้วยรูปแบบไหน ยังตอบไม่ได้ แต่ความจริงแล้วธุรกิจสื่อถือว่าเปลี่ยนเร็วมาก หนึ่งปีก็เปลี่ยนแล้ว แผนที่ทำต้นปี กลางปีก็ต้องมาทบทวนมา revise ว่ายังสอดคล้องกับสภาพตลาดและสภาพการแข่งขันอยู่หรือไม่ ใน 5 ปีข้างหน้ามองไทยรัฐอย่างไรคงตอบไม่ได้ เพราะ dynamic เร็วมาก และเนื่องจากเราพยายามที่จะมองหา new business , new Opportunity
“ในอนาคตอาจจะไปคลำเจอธุรกิจดาวรุ่งใหม่ขึ้นมา อาจจะอยู่ภายใต้ชื่อไทยรัฐหรือไม่ ยังไม่รู้ ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นธุรกิจอะไร แต่ความตั้งใจอยากให้ชื่อของไทยรัฐอยู่สืบต่อไปรุ่นลูกกรุ่นหลาน”
ปล.ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์โดย พิมพ์นรา ประดับวิทย์ ตีพิมพ์ในหนังสือประจำปีวันนักข่าว 5 มี.ค. 2561