กษ.เปิดรายชื่อเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติรับพระราชทานโล่วันพืชมงคล
กระทรวงเกษตรฯเปิดรายชื่อเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์ด้านการเกษตรประจำปี2555 เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เร็วๆนี้ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น.ส.สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ที่มีผลงานดีเด่นสาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและยกย่องเกียรติคุณของบุคคลที่มีผลงานดีเด่น และเผยแพร่ผลงานเหล่านั้นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่าง ในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยในปี 2555 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2555 ในวันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2555 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง อันได้แก่ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 15 สาขาอาชีพ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 12 กลุ่ม สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 4 สาขา ดังนี้
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555 จำนวน 15 สาขาอาชีพ คือ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายไพโรจน์ พ่วงทอง จ.เพชรบุรี 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นางประมวญ ทั่งทอง จ.ตราด 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายประทิน อ่อนน้อย จ.กาญจนบุรี 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายหนูทัศน์ คำแพง จ.ร้อยเอ็ด 5) อาชีพปลูกหม่อนไหม ได้แก่ นางบุญสิน ราษฎร์เจริญ จ.ขอนแก่น 6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายซิมโอน ปัญญา จ.เชียงใหม่ 7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายประชิต อนุกูลประเสริฐ จ.ขอนแก่น 8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายธนา วิศวฤทธิ์ จ.สตูล 9) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายไพรัตน์ ชื่นศรี จ.บุรีรัมย์ 10) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นางมณฑา สร้อยแสง จ.ราชบุรี 11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นายธีรภัทร อุ่นใจ จ.จันทบุรี 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ได้แก่ นายสุเทพ เพ็งแจ้ง จ.พิจิตร 13) สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ นายสมบัติ วิเชียรณรัตน์ จ.นครราชสีมา 14) ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายบรรทม แก้วอาษา จ.อุดรธานี และ 15) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ น.ส.สุนิสา อุยะตุง จ.ตราด
สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2555 จำนวน 12 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด จ.พัทลุง 2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวน บ้านสิงห์ จ.ราชบุรี 3) กลุ่มเกษตรกรทำไร่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำไร่แม่กลอง จ.ตาก 4) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านปางมะนาว จ.กำแพงเพชร 5) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มกองทุนประมงทะเลพื้นบ้าน บ้านแหลมเทียน จ.ตราด 6) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์บ้านท่าค้ำ จ.น่าน 7) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเต่า จ.น่าน 8) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านสร้างก่อ จ.อุดรธานี 9) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านดงสวรรค์ จ.สกลนคร 10) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ 4 ฝายธาตุน้อย จ.อุบลราชธานี 11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านนาพิน จ.อุบลราชธานี และ 12) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลห้วยแก้ว จ.พิจิตร
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2555 จำนวน 7 สหกรณ์ คือ 1) สหกรณ์การเกษตรทั่วไป ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเวียงสา จำกัด จ.น่าน 2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์ก พัฒนานิคม จำกัด จ.ลพบุรี 3) สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมนครชุม จำกัด จ.กำแพงเพชร 4) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด กรุงเทพมหานคร 5) สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จำกัด จ.ภูเก็ต 6) สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์เดินรถเพชรบูรณ์ จำกัด จ.เพชรบูรณ์ และ 7) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองห้าง จำกัด จ.กาฬสินธุ์
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2555 จำนวน 4 สาขา คือ 1) สาขาปราชญ์เกษตร ผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณปการต่อภาคการเกษตรไทย นายเสริมลาภ วสุวัต จ.นนทบุรี 2) สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง นายขวัญชัย รักษาพันธ์ จ.ฉะเชิงเทรา 3) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น นายจาง ฟุ้งเฟื่อง จ.ชุมพร และ 4) สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย นายอัมพร ด้วงปาน จ. สงขลา
อนึ่ง พระราชพิธีพืชมงคลนี้ เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร ได้กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี วันพระราชพิธีพืชมงคลยังถือให้เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี อีกด้วย