ให้ทัน 20 เม.ย. กรมส่งเสริมฯ ซักซ้อมแนวปฏิบัติ ทำโครงการที่ใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทำหนังสือด่วนถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ซักซ้อมการใช้จ่ายเงินสะสมทำโครงการขับเคลื่อนนโยบายรัฐแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ยันวงเงินเกิน 5 แสน แต่ไม่เกิน 2 ล้าน สามารถใช้วิธีสอบราคา และให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ภายในวันที่ 20 เมษายน 2561 ส่วนกรณีที่วงเงินเกิน 2 ล้านขึ้นไป ให้จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีปกติ
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหนังสือด่วนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัด สั่งการให้ส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ สำรวจความต้องการและพิจารณาจัดทำโครงการ กิจกรรม ที่มีส่วนผสมของยางพารา โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีหนังสือแจ้งจังหวัดขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำโครงการ กิจกรรมที่มีส่วนผสมของยางพารา่ (อ่านประกอบ:มหาดไทยเปิดช่องใช้ 'เงินสะสม' อปท. สนับสนุนนโยบายรัฐ และ เจาะมุมมอง ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ กับรูรั่วโครงการประชารัฐ -ไทยนิยมฯ สู่รัฐล้วงเงินสะสมท้องถิ่นดันราคายาง)
ล่าสุด นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทำหนังสือด่วนสุด ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่องซักซ้อมการใช้จ่ายเงินสะสมจากการประชุมโครงการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ
ตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดให้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่มีส่วนผสมของยางพารา เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงขอซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติการใช้เงินสะสมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายางราคาตกต่ำ ดังนี้
1.การจัดซื้อจัดจ้างจากเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กรณีที่มีวงเงินเกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถใช้วิธีสอบราคา และให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ภายในวันที่ 20 เมษายน 2561 ส่วนกรณีที่วงเงินเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป ให้จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีปกติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
2.ภายหลังพ้นวันที่ 20 เมษายน 2561 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งยังสามารถดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราด้วยการจัดทำโครงการที่ใช้ยางพาราได้ต่อเนื่อง เพียงแต่ใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการปกติ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
3.การใช้จ่ายเงินสะสมตามข้อ 1 และข้อ 2 เพื่อดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาแหล่งน้ำ การก่อสร้างหรือปรับปรุงสนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย การก่อสร้างปรับปรุงสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือโครงการอื่นๆ ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบของโครงการด้วย
4.การกันเงินสะสมหรือจ่ายก่อนการใช้จ่ายแล้วแต่การพิจารณาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพิจารณากันไว้ในจำนวนเท่าใดก็ได้
5.เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงอาจพิจารณาใช้ดุลพินิจในการยกเว้นหรือผ่อนผัน การปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 ข้อ 5 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้
6.ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการก่อสร้างปรับปรุง หรือซ่อมแซมถนนที่มีส่วนผสมของยางพารา สามารถใช้มาตรฐานตามที่กรมทางหลวง หรือกรมทางหลวงชนบทกำหนดได้
7.ในแบบรูปรายการงานก่อสร้าง เอกสารเชิญชวน และสัญญาต้องระบุให้คู่สัญญาซื้อยางพาราจากการยางแห่งประเทศไทย หรือกลุ่มที่การยางแห่งประเทศไทยให้การรับรองเท่านั้น โดยหลังจากได้คู่สัญญาแล้ว ให้แจ้งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบโดยเร็ว พร้อมระบุวันที่คาดว่าจะซื้อยางพาราด้วย
ทั้งนี้ในหนังสือฉบับดังกล่าว ได้ตอบคำถาม และข้อสงสัย เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในโครงการดังกล่าวไว้ด้วย เช่น
คำถาม
กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับการถ่ายโอนถนนจากทางหลวงชนบทจำนวนมาก แต่งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรน้อยมาก งบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่เพียงพอต่อการซ่อมแซมถนน ซึ่งมีสภาพชำรุด เสียหายในหลายพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถนำเงินสำรองจ่าย งบกลาง มาใช้ซ่อมแซมถนนดังกล่าวได้หรือไม่ เพื่อแก้ไข ความเดือร้อนของประชาชน
คำตอบ
งบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย ตั้งไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายกรณีมีเหตุฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น หรือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นส่วนรวม ดังนั้น กรณีซ่อมแซมถนนถ่ายโอน ซึ่งมิใช่กรณีฉุกเฉินจำเป็น จึงไม่สามารถนำเงินสำรองจ่ายมาใช้ได้ ควรใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือเงินสะสมไปดำเนินการได้ ทั้งนี้ ต้องปรากฎในแผนพัฒนาท้องถิ่นด้วย
คำถาม
การที่ได้มีการปรับแผนพัฒนาท้องถิ่นและแก้ไขรายการในงบประมารรายจ่ายประจำปี จากโครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลติคคอนกรีต เป็นโครงการก่อสร้างถนนพาราแอสฟัลติคคอนกรีตดังนี้ ถือเป็นการสนองนโยบายรัฐบาาลแล้วหรือยัง
คำตอบ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการ ก่อสร้าง ปรับปรุงถนนที่มีส่วนผสมของยางพาราหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้ยางพารา เป็นลำดับแรก อย่างน้อย 1 โครงการ โดยอาจใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น ไม่ได้ระบุว่า ต้องใช้จ่ายจากเงินสะสมแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการมีการปรับแผนพัฒนาท้องถิ่นและแก้ไขรายการในงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบ จึงเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลส่วนหนึ่ง
คำถาม
โครงการก่อสร้าง ปรับปรุงถนนแอสฟัลติคกับแอสฟัลติกที่มีส่วนผสมของยางพารา มีความที่แตกต่างกันมาก เป็นภาระที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเพิ่มงบประมาณรายจ่ายเพื่อการนี้
คำตอบ
หลักการคำนวณราคากลางงานผิวทาง Para-Asphalt Concrete เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงกำหนด สำหรับราคาที่แตกต่างกันมากเนื่องจากต้องใช้น้ำยางมะตอย Para-Asphalt Concrete แทนน้ำยางมะตอย Asphalt Concrete 60/70 ซึ่งมีราคาต้นทุนที่แตกต่างกันมา