เครือข่ายผู้ลี้ภัยฯ จี้ รบ.กำหนดแนวปฏิบัติกับผู้อพยพโรฮิงญา หลังพบขึ้นฝั่งไทยเมื่อ 1 เม.ย.
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยเเละคนไร้รัฐ ออกเเถลงการณ์ เรื่อง รัฐบาลไทยต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อกรณีผู้อพยพทางเรือชาวโรฮิงญา ระบุว่า หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้ งล่าสุดในพื้นที่รัฐยะไข่ในเดื อนสิงหาคม 2560 ประเทศเมียนมา ทำให้มีชาวโรฮิงญาเสียชีวิ ตจำนวนมาก และกว่าเจ็ดแสนคนต้องหนีข้ ามไปยังประเทศบังคลาเทศรวมกับผู้ ลี้ภัยที่มีอยู่เดิม ทำให้มีจำนวนชาวโรฮิงญาผู้ลี้ภั ยรวมทั้งสิ้นว่า 900,000 คน ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้ อมที่แออัดและขาดสุขอนามัยที่ เหมาะสมเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษยน ที่ผ่านมา ได้พบเรือของผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวน 56 คน มาขึ้นฝั่งไทยเป็นครั้งแรก ในพื้นที่ชายฝั่งอำเภอลันตา จังหวักกระบี่ นับตั้งแต่มีการทำลายขบวนการค้ ามนุษย์ที่ปฏิบัติการอยู่ในพื้ นที่ทะเลอันดามันของไทย มีการออกหมายจับเจ้าหน้าที่ และคนที่เกี่ยวข้องกว่า 150 คน และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 ศาลได้ตัดสินลงโทษผู้ต้องหาทั้ งสิ้น 62 คน จากจำนวนจำเลย 102 คน
จากการรายงานข่าว เจ้าหน้าที่ได้ให้ความช่วยเหลื อให้เดินทางทางเรือต่อไป ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึ งการขาดแนวทางปฏิบัติ ตามกฎหมายในการเผชิญเหตุการณ์ผู้ อพยพทางเรือที่มีประสิทธิ ภาพและเคารพในความเป็นมนุษย์ ตามหลักสากล รวมถึงการป้องกันไม่ให้ผู้มีอิ ทธิพล และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ใช้ อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายอย่ างที่เคยเกิดขึ้นในระหว่างปี 2556-2558
เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภั ยและคนไร้รัฐ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งกำหนดมาตรการภายใต้กฎหมายของไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลที่ชัดเจนอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึ งอำนาจตามกฎหมายภายในของไทย และความสอดคล้องหลักการสิทธิมนุ ษยชน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากการเดินทางทะเล กำหนดให้มีการคัดกรอง จัดทำประวัติ และจำแนกกลุ่มที่เปราะบางเพื่อให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิง ผู้ที่มีความเปราะบางอื่น ๆ ที่มีความสงสัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและปรามปรามการค้ามนุษย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุ ษยชนสากล
2.ให้ดำเนินการตามมาตรา 19 ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุญาตไปพำนัก ณ สถานที่ที่เห็นสมควรในระหว่างการดำเนินการ เช่น มัสยิด หรือบ้านพักฉุกเฉิน โดยต้องไม่กักขังตัวไว้ที่ห้ องกัก ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3.เร่งจัดตั้งกลไกประสานงานส่งต่อกับหน่วยงานราชการ ประชาสังคมภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ทั้งในระดับพื้นที่ชายฝั่ง และระดับชาติ ที่ประกอบด้วยรัฐบาลของชาติที่ เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศอาเซียน และหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมื อในการหยุดยั้งการเดิ นทางออกมาจากชายฝั่งบังคลาเทศ รวมถึงรับมือกับสถานการณ์ผู้ลี้ ภัยชาวโรฮิงญาที่อาจจะเดิ นทางมามากขึ้นในอนาคต
4.รัฐบาลไทยจะต้องเร่งรัดจัดทำกลไกการคัดกรองกลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้ลี้ภัยตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อ 10 มกราคม 2560 เพื่อให้เป็นแนวทางกำกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้ นที่ชายแดนในกรณีที่พบผู้อพยพลี้ ภัยในอนาคต
5.รัฐบาลจะต้องยุติมาตรการ "ช่วยเหลือให้ไปต่อ" ที่เคยดำเนินการระหว่างปี 2555 - 2558 รวมถึงนโยบายในทางลับที่อนุ ญาตให้หน่วยงานความมั่นคงในพื้ นที่ใช้อำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบ และเป็นปัจจัยผลักดันที่จะทำให้ มีการใช้อำนาจเกินกว่ ากฎหมายกำหนด เพื่อป้องกั นการฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จะนำไปสู่การขยายตัวของขบวนการนำพาและค้ามนมนุษย์
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตอบข้อสงสัยของสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรือบรรทุกผู้อพยพชาวโรฮีงญา หลบพายุที่เกาะลันตาของไทย โดยระบุว่า รัฐบาลไทยดูแลผู้อพยพชาวโรฮีงญาตามหลักสิทธิมนุษยชน และสนับสนุนให้ทุกประเทศ ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักสิทธิมนุษยชนเป็นแนวทางสำคัญ