พลิกปูมสารพัดคดีทุจริตศธ. ความท้าทายบทบาท มือปราบโกง รมว.ศึกษาธิการ
"...เบื้องต้น ผู้ถูกกล่าวหายอมรับแล้วว่าได้กระทำความผิดจริง โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีญาติ พี่น้องและคนรู้จักถึง 19 บัญชี ตั้งแต่ปี 2551 - 2561 รวมกว่า 88 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงเวลา ดังกล่าวโอนเงินเข้าบัญชีหน่วยงานที่รับทุนรวมกว่า 77 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าเงินที่ยักยอก เข้าบัญชีญาติ พี่น้องและคนรู้จัก โดยยอดล่าสุดในปี 2561 ได้โอนเข้าบัญชีบุคคลอื่นกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่มีการโอนเข้าบัญชีหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับทุนดังกล่าวนี้เลย..."
ดูเหมือนว่าบรรยากาศการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้ยุคสมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ที่ชื่อ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กำลังร้อนแรงคึกคักในเรื่องการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ภาพของความพยายามในการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมารับผิดชอบการตรวจสอบปัญหาความไม่โปร่งใสเรื่องต่างๆ ทยอยเปิดตัวให้เห็นอย่างต่อเนื่อง บางเรื่องในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นทางการ
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ไล่เลียงข้อมูลการตรวจสอบคดีสำคัญต่างๆ มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบรายละเอียดดังนี้
@ Moenet ถลุงงบ3พันล้าน
เริ่มกันที่ประเด็นว่าด้วยระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ตกระทรวงศึกษาธิการ หรือ Moenet เรื่องนี้ที่มาที่ไปมาจาก เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 นพ.ธีระเกียรติ ได้สั่งยกเลิกโครงข่าย Moenet เนื่องจากพบว่ามีความไม่ชอบมาพากลในเรื่องค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตแต่ละเดือนของสถานศึกษา เช่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศจ.) ต้องจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตให้ Moenet ศูนย์การเรียนรู้ แพงกว่าราคาให้บริการของเอกชนทั่วไป แถมเมื่อเรียกดูเอกสารสัญญาต่างๆ ก็ไม่ปรากฎข้อมูลให้ตรวจสอบด้วย ขณะที่จากการสอบถามข้อมูลจากทางโรงเรียนบางแห่ง ก็พบว่าใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตจากเอกชนมาใช้งานโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง หลังจากที่ Moenet มีประสิทธิภาพการใช้งานค่อนข้างต่ำ ปล่อยสัญญาณแบบกะปริบกะปรอย ที่สำคัญโรงเรียนบางแห่งก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Moenet คืออะไร
ความคืบหน้าล่าสุดในกรณีนี้ นั้น ในวันที่ 12 มี.ค. นี้ คณะกรรมการที่ทำหน้าที่สืบสวนเรื่อง Moenet จะมีการประชุมเป็นนัดแรกเพื่อกำหนดแนวทางการสอบสวนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา ได้ตรวจสอบข้อมูลกรณี Moenet เบื้องต้น พบข้อมูลว่า โครงการ Moenet นั้นมีตัวตนอยู่จริง โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่าง บมจ.ทีโอทีกับสถานศึกษาต่างๆและเริ่มทำสัญญากับทางกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งเป็นปีที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้ บมจ. ทีโอที ทำโครงการ MOENet อย่างเป็นทางการ แต่โครงการประสบปัญหาเนื่องจากคณะกรรมการตรวจการจ้างชุดต่างๆที่ผ่านมานั้น ทำหน้าที่แค่ไปตรวจสอบข้อมูลจากบนหน้ากระดาษที่มีการรายงานผลเท่านั้น ไม่ได้มีการไปตรวจสอบลงลึกในรายละเอียดในแง่ของอุปกรณ์ อาทิ คอมพิวเตอร์ เซิฟเวอร์ต่างๆ ของสถาบันการศึกษาว่ามีความเสื่อมสภาพไปแล้วมากน้อยแค่ไหน หรืออุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ส่งผลอย่างชัดเจน ทำให้คุณภาพการให้บริการอินเตอร์เน็ตลดลง
ส่วนกรณีไม่มีสัญญาว่าจ้างเป็นทางการนั้น แหล่งข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการได้ชี้แจงสำนักข่าวอิศราว่าในช่วงปี 2545 บมจ.ทีโอทียังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ การให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีเป็นในลักษณะของค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟ ค่าน้ำ จึงทำให้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนบุคคลที่น่าจะรู้เรื่องนี้ดีมากที่สุด หนีไม่พ้นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ก็ต้องไปไล่ดูข้อมูลว่า ใครเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บ้าง และที่สำคัญค่าใช้จ่ายที่กระทรวงศึกษาฯ ต้องจ่ายให้กับบมจ.ทีโอที จำนวนเท่าไรกันแน่ ขาด ครบ เกิน จำนวนที่ตกลงไว้อย่างไร คงต้องไปดูรายละเอียดกันอีกครั้ง
@ เจาะอควาเรียมหอยสังข์สารพัดปัญหา
นอกเหนือจากประเด็นเรื่อง Moenet แล้ว ยังมีประเด็นเรื่องโครงการก่อสร้างศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา ที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ อำเภอเมืองสงขลา ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หรือ อควาเรียมหอยสังข์ เกิดขึ้นมาด้วย โดยถูกชาวบ้านร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใส
จากการสำรวจข้อมูลพบว่า โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2554 ในวงเงินประมาณ 800 ล้านบาท แต่จนถึงขณะนี้ การดำเนินการโครงการกลับยังไม่เสร็จ ทั้งยังมีรายงานใช้งบประมาณไปแล้วไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านบาท แต่ได้มาเพียงแค่อาคารร้าง กลายเป็นการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ของ จ.สงขลาอย่างมาก
จนเป็นเหตุให้ นพ.ธีระเกียรติ ต้องออกคำสั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น
โดยเมื่อช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะรองประธานคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ปัญหาทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงทิศทางการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ 1.เรื่องการก่อสร้าง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านอควาเรียมเห็นว่ารูปทรงโครงสร้างของอาคารแข็งแรงสามารถใช้งานได้ แต่ภายในอาคารสำหรับจัดแสดงสัตว์น้ำต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะตู้แสดงสัตว์น้ำมีสภาพชำรุดทรุดโทรม
2.เรื่องที่มาที่ไปของโครงการนี้ สำหรับสาเหตุใดถึงเกิดความล่าช้านั้น ยังสรุปไม่ได้ เนื่องจากเอกสารบางส่วนไม่ครบ เพราะเป็นระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 10 ปีแล้ว แต่จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบข้อมูลของโครงการนี้ในระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2550-2557 มีการแก้ไขสัญญาถึง 6 ครั้ง เช่น การขอเปลี่ยนแบบ การขอเปลี่ยนงวดงาน เป็นต้น ซึ่งเราไม่รู้ว่าการขอแก้ไขสัญญาดังกล่าวมีประเด็นอะไรแอบแฝงหรือไม่ โดยฝ่ายกฎหมายของตนกำลังขอข้อมูลอยู่ รวมถึงจะขอดูการใช้งบประมาณเหลือจ่ายของ สอศ.ในปี 2558 จำนวน 269 ล้านบาท, ปี 2559 จำนวน 42 ล้านบาท และในปี 2560 จำนวน 70 ล้านบาท
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดในกรณีนี้นั้น กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา และเจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ ที่รับผิดชอบดูแลเรื่องดังกล่าว ลงพื้นที่ตรวจสอบ พร้อมชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น เบื้องต้นทั้งหมดยืนยัน งบประมาณที่ใช้ดำเนินการเพียง 1,200 ล้านบาทเท่านั้น ไม่ใช่ 1,400 ล้านตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ ในส่วนที่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จะมีการเพิ่มงบประมาณจำนวนกว่า 250 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเปิดให้ใช้ได้ในปี 2562
@ พบทุจริตสร้างโดมโรงเรียนภาคใต้
อีกประเด็นที่ต้องจับตามองคือ เรื่องการทุจริตกรณีก่อสร้างหลังคาปกคลุมลานสารพัดประโยชน์ หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่าโดม ของ 11 สถานที่เรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเมื่อวันที่ 3 ม.ค. สตง. (สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตรวจทาน กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การเรียนรู้ม. (สพม.) 15 ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายรายปีงบประมาณ 2559 ของที่ทำการคณะกรรมการการเรียนรู้ขั้นต้น (สพฐ.) ปริมาณ 62 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการโดมดังกล่าว โดยข้อสังสัยของ สตง.ประกอบไปด้วย 1.ตรวจเจอสถานศึกษาแต่ละที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยแนวทางพิเศษที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายตามกฎเกณฑ์ ข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่อง 2.กรรมวิธีการตรึกตรองผู้เสนอราคามีบริษัทผู้ทำธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์เป็นคนประมูลหน้าที่การงานก่อสร้าง 3.สถานศึกษาตั้งราคาที่สูงกว่าราคากฏเกณฑ์การเสนอราคากึ่งกลางการก่อสร้างตามระบบราชการ
ล่าสุด นพ.ธีระเกียรติก็ได้มีคำสั่งให้ พล.ท.โกศลลงไปตรวจสอบข้อมูลแล้วเช่นกัน โดย พล.ท.โกศลได้ชี้แจงถึงกรณีการก่อสร้างโดมนี้ว่าจากการติดตามเรื่องนี้ก็ทราบมาเช่นกันว่าโครงการนี้มีการใช้งบฯเหลือจ่ายของ สพฐ.ปี 2559 มาดำเนินการโครงการกับโรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแค่ในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น
ทั้งนี้ นอกเหนือจากเรื่อง Moenet , อควาเรียม และโดมโรงเรียนภาคใต้แล้ว ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ออกมาระบุว่า ตามที่กลุ่มตรวจสอบภายในสำนักงานปลัดศธ. ได้ทำการตรวจสอบบัญชีงบประมาณ ประจำปี 2560 ของสำนักงานปลัดศธ. เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า มีการทุจริตเงินกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต ซึ่งกองทุนดังกล่าวก่อตั้งเมื่อปี 2542 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นกองทุนสำหรับสนับสนุนเด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบากให้มีทุนการศึกษาต่อระดับวิชาชีพ โดยใช้เงินจากการออกสลากกินแบ่งการกุศลงวดพิเศษ เงินอุดหนุนจากงบประมาณ เงินบริจาคและเงินดอกผลของกองทุน การบริหารกองทุนให้มีคณะกรรมการกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
สำหรับข้อทุจริตนั้นพบว่ามีการโอนเงินทุนการศึกษาของนักเรียนในโครงการเข้าบัญชีของบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 2551-2561 เป็นจำนวนเงินรวมกว่า 88 ล้านบาท และตนได้รายงานต่อ นพ.ธีระเกียรติ รับทราบแล้ว โดยนพ.ธีระเกียรติได้สั่งการให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่ทุจริต และให้ตรวจสอบกองทุนอื่น ๆให้เข้มข้น รวมถึงไปแจ้งความ ต่อ สน.ดุสิต ในคดีอาญา และให้ส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) ด้วย ขณะเดียวกันก็ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง และได้ย้ายบุคคลที่ตรวจสอบพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง 2 ราย พ้นหน้าที่ไปแล้ว เพื่อให้คณะกรรมการสืบสวนฯทำงานได้สะดวก
อย่างไรก็ดี เบื้องต้น ผู้ถูกกล่าวหายอมรับแล้วว่าได้กระทำความผิดจริง โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีญาติ พี่น้องและคนรู้จักถึง 19 บัญชี ตั้งแต่ปี 2551 - 2561 รวมกว่า 88 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงเวลา ดังกล่าวโอนเงินเข้าบัญชีหน่วยงานที่รับทุนรวมกว่า 77 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าเงินที่ยักยอก เข้าบัญชีญาติ พี่น้องและคนรู้จัก โดยยอดล่าสุดในปี 2561 ได้โอนเข้าบัญชีบุคคลอื่นกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่มีการโอนเข้าบัญชีหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับทุนดังกล่าวนี้เลย
ทั้งหมด คือ ภาพรวมสารพัดคดีทุจริต ที่เกิดขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการในห้วงเวลานี้ ซึ่งนับเป็นบททดสอบสำคัญในการทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของ นพ.ธีระเกียรติ กับบทบาทมือปราบโกง ซึ่งเคยประกาศเอาไว้ว่าจะปราบปรามการทุจริตในกระทรวงศึกษาให้เด็ดขาด ว่าจะทำได้จริงตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้หรือไม่
อ่านประกอบ:
เช็คชื่ออดีตผอ.ศูนย์เทคโนฯศธ.ไขปมMoenetเกิดยุค 'เกียรติศักดิ์-คุณหญิงกษมา'ก่อนกรณีถลุง3พันล.
รมว.ศธ.เอาจริง! สั่งตั้งกก.สอบ Moenet ถลุงงบ3พันล.แล้ว-เล็งคุ้ยมติครม.หาหลักฐานเพิ่ม
อิศราตะลุย ศธ. แกะรอย MOEnet ถลุง3พันล. ศูนย์เทคโนฯยันตกลงทีโอทีแบบจีทูจีไม่มีสัญญาให้ดู?
เปิดปมรมว.ศึกษาฯสั่งเลิกMOEnet ถลุง3พันล.ไร้เอกสารตรวจสอบ-ล่าไอ้โม่งหลังฉากรับปย.?