นักวิชาการชี้ไทยไร้แผนที่เสี่ยงภัยพิบัติระดับพื้นที่สพฉ.รุกนำร่องเมืองกาญจน์
สถาบันแพทย์ฉุกเฉิน รุกทำแผนที่แผ่นดินไหว นำร่องกาญจนบุรีอบรมทีมกู้ชีพรองรับสถานการณ์ นักวิชาการชี้มีแต่แผนที่ระดับประเทศ-ฐานข้อมูลเก่าใช้ไม่ได้ แนะทำทุกพื้นที่เสี่ยง ครอบคลุมทุกภัยพิบัติ
นพ.ชาตรีเจริญชีวะกุลเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงการดำเนินการเตรียมรับมือการเกิดแผ่นดินไหวหลังจากที่นายวิทยาบุรณศิริรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มอบนโยบายให้สพฉ.ดำเนินการร่วมกับพื้นที่เสี่ยงว่าขณะนี้ได้ประสานทีมกู้ชีพในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงให้เตรียมพร้อมรับมือทั้งในเรื่องการเตรียมป้องกันและการช่วยเหลือ
คือ 1. เตรียมจัดให้มีการฝึกอบรมทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วตอบโต้ภัยพิบัติเพิ่มเติมให้ครอบคลุมมากขึ้นโดยเบื้องต้นจะจัดอบรมเพิ่มเติมอีก 2 รุ่นในวันที่ 23 เม.ย.นี้เพื่อรองรับการเกิดสถานการณภัยพิบัติที่มีความถี่มากขี้น 2.ประสานให้ทีมกู้ชีพในพื้นที่ให้เตรียมความพร้อมทั้งระบบการสื่อสารการแจ้งเหตุและบุคลากรและ 3.ได้จัดเตรียมรถซูเปอร์แอมบูแลนซ์หรือรถพยาบาลฉุกเฉิน 6 ล้อยกสูงที่มีอุปกรณ์ทางแพทย์ครบครันพร้อมระบบสื่อสารประจำในพื้นที่เสี่ยงแล้วโดยหากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
ขณะที่นพ.ไพโรจน์บุญศิริคำชัยผู้ช่วยเลขาธิการสพฉ.กล่าวว่าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่และวางแผนบูรณาการร่วมกับกลุ่มจังหวัดพื้นที่เสี่ยงโดยนำร่องแล้วที่จ.กาญจบุรีซึ่งเป็นกลุ่มจังหวัดพื้นที่เสี่ยงใกล้รอยเลื่อนแผ่นดินไหวโดยได้หารือร่วมกับนายชัยวัฒน์ลิมป์วรรณธะผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีภาครัฐภาคเอกชนและทีมกู้ชีพในพื้นที่เพื่อร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการรับมือหากเกิดแผ่นดินไหวร่วมกันเพื่อร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและเกิดการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น เช่น การเตือนภัยการกู้ภัยและการช่วยเหลือผู้ป่วยซึ่งหลังจากนี้จะมีการเตรียมการในทุกพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวต่อไป
ด้าน นายบุรินทร์ เวชบรรเทิงรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยกับศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศราว่า ประเทศไทยมีแผนที่เสี่ยงภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่มีเฉพาะกรณีแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นแผนที่ระดับประเทศ มี 22 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว คือกลุ่มภาคเหนือ-ภาคตะวันตก 10 จังหวัด กลุ่มกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด กลุ่มภาคใต้ 7 จังหวัด แต่ส่วนใหญ่เป็นฐานข้อมูลเก่าที่จัดทำมาเมื่อ 10 ปีก่อนซึ่งยังไม่ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันยกเว้นกรุงเทพฯ-ปริมณฑลที่มีการปรับปรุงล่าสุดปี 2549 และกำลังมีการจัดทำอีก 4 กลุ่มจังหวัด เช่น เพชรบุรี ราชบุรี ทั้งนี้ยังไม่มีแผนที่เสี่ยงภัยระดับพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดลงไป ซึ่งเสนอว่าควรจะจัดทำ
ด้าน ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ประธานคณะอนุกรรมการสาขาผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าที่ผ่านมามีแผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวระดับประเทศแล้ว แต่ที่ภาครัฐต้องเร่งจัดทำคือแผนที่เสี่ยงภัยโดยลงรายละเอียดถึงระดับจังหวัดและเมือง เพราะสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และต้องทำให้ครอบคลุมทุกประเภทภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ซึ่งแผนที่เหล่านี้จะต้องนำไปใช้จัดทำมาตรฐานความปลอดภัยรองรับทั้งด้านการวางผังเมืองและก่อสร้าง
“ถ้าเราตั้งใจทำกันจริงๆและมีงบประมาณให้ผู้มีความรู้มาทำการสำรวจ คิดว่าแผนที่ในแต่ละเมืองคงใช้เวลาไม่ถึง 2 ปี โดยภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมผังเมือง กรมการปกครอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย กรมทรัพยากรธรณี” .
ที่มาภาพ : http://www.toptenthailand.com/display.php?id=2495