เสรีภาพ-การชุมนุม-บังคับสูญหาย สิทธิมนุษยชนไทยอยู่ตรงไหนในรายงานแอมเนสตี้
รายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไทยตลอดปี 60 ของแอมเนสตี้ฯ ระบุว่า รัฐบาลไทยยังคงควบคุมอย่างเป็นระบบและโดยพลการต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบและการสมาคมนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรมทนายความสิทธิมนุษยชนนักการเมืองและบุคคลอื่นๆถูกดําเนินคดีเนื่องจากใช้สิทธิเหล่านี้อย่างสงบและต้องเข้ารับการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรมในศาลทหาร
ประเทศไทยได้ประกาศให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ หนึ่งในตัวขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมาภายใต้การปกครองของกองทัพ ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำปี 2560/61 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน 159 ประเทศทั่วโลกตลอดปี 2560 ที่ผ่านมา โดยพบว่าในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย มีการพยายามคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนมอย่างสงบของประชาชนอย่างหนัก
หากดูในส่วนของประเทศไทยโดยเฉพาะในเรื่อง เสรีภาพในการแสดงออกการสมาคมและการชุมนุมอย่างสงบซึ่งเกี่ยวข้องกับคำสั่ง คสช. ที่3/2558 ที่แอมเนสตี้ออกมาเรียกร้องให้มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ในประเทศ โดยเฉพาะข้อกำหนดห้ามการชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวนั้น เป็นคำสั่งที่ออกมาโดยมีจุดประสงค์หลักคือการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารแทนกฎอัยการศึก ซึ่งที่ผ่านมาถูกวิพากษ์อย่างมากว่า มีปรากฏการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ขาดการตรวจสอบถ่วงดุล ไม่เคารพหลักนิติธรรมและพันธกรณีกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อีกทั้งยังละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างกว้างขวาง ไม่ได้แตกต่างจากการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้กฎอัยการศึกแต่อย่างใด
เสรีภาพในการแสดงออก
ในรายงานประจำปี 2560 ของแอมเนสตี้ ระบุข้อเหตุการณ์ละเมิดสิทธิในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบว่า ตลอดปี 2560 รัฐบาลยังคงควบคุมอย่างเป็นระบบและโดยพลการต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบและการสมาคม นักศึกษา ที่เป็นนักกิจกรรม ทนายความสิทธิมนุษยชน นักการเมืองและบุคคลอื่นๆ ถูกดําเนินคดีเนื่อง จากใช้สิทธิเหล่านี้อย่างสงบและต้องเข้ารับการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรมในศาลทหาร
ที่ผ่านมาทางการได้ดําเนินคดีอาญากับผู้เข้าร่วมการชุมนุม ประท้วงอย่างสงบ การสัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรมของภาคประชาสังคม ซึ่งตามคําสั่ง คสช. พ.ศ. 2558 กําหนดโทษทางอาญาสําาหรับ “การชุมนุมทางการเมือง” ของบุคคลห้าคนหรือมากกว่านั้น
อย่างกรณีที่ถูกสังคมจับตามาก เดือนพฤจิกายน ที่ตำรวจได้ดําเนินคดีอาญากับผู้ประท้วงที่พยายามยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่สงขลา (อ่านประกอบ สลายกลุ่มต้านถ่านหินเทพา รวบ16 แกนนำ หลังเดินเท้าขอยื่นหนังสือถึงนายกฯ ครม.สัญจร)
นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองสามคนที่ออกมาคัดค้าน คสช. และ ผู้สื่อข่าวหนึ่งคน เป็นส่วนหนึ่งของบุคคลที่ถูกดําเนินคดีในข้อหายุยงปลุกปั่น หรือความผิด ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือแสดงความเห็นสนับสนุนนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน รวมทั้งการแสดงความเห็นผ่านโซเชียลมีเดียและยังพบว่ามีนักกิจกรรม ผู้สื่อข่าว และคนงานถูกฟ้องหมิ่น ประมาทโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและบริษัทเอกชน กรณีที่ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิด สิทธิ ข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และการประพฤติ มิชอบของเจ้าหน้าที่
เดือนตุลาคมมีการยุติการดําเนินคดีอย่างเป็นทางการต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสามคน ได้แก่ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นายสมชาย หอมลออ และ น.ส. อัญชนา หีมมิหน๊ะ จากการรายงานว่าเจ้าหน้าที่ ทหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซ้อมทรมาน ซึ่งทั้งสามคนถูกแจ้งความดําาเนินคดีเมื่อปี 2559 (อ่านประกอบ อัยการสั่งไม่ฟ้อง 3 นักปกป้องสิทธิฯ กรณีรายงานการทรมานภาคใต้ )
ในส่วนต่อมาประเด็นการใช้มาตรา 112 แอมเนสตี้ ระบุว่า ทางการไทยยังคงดําเนินคดีอย่างเข้มงวดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีบทลงโทษต่อการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ มีบุคคลถูกแจ้งข้อหาหรือฟ้องคดีตามมาตรา 112 ในช่วงปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีผู้ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่ออดีตกษัตริย์ การพิจารณา คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมักเป็นการพิจารณาคดีแบบลับ
เดือนมิถุนายน ศาลทหารกรุงเทพ พิพากษาลงโทษจําคุกชายคนหนึ่ง 35 ปีโดยลดจากโทษจําาคุก 70 ปีเนื่องจากการรับสารภาพ นับเป็นโทษที่หนักเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการโพสต์ข้อความหลายครั้งเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
เดือนสิงหาคม จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ นักศึกษา นักกิจกรรม และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกศาลพิพากษา ลงโทษจําคุกเป็นเวลาสองปีครึ่ง เนื่องจากศาล เห็นว่ามีความผิดจากการแชร์บทความพระราชประวัติของบีบีซีบนเฟซบุ๊ก กรณีต่อมาทางการยังแจ้งความดําเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับนักวิชาการคนสําคัญ (สุลักษณ์ ศิวรักษ์) เนื่องจากความเห็นของเขาเกี่ยวกับสงครามยุทธหัตถีของกษัตริย์ไทยที่เกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16
นอกจากนี้ทางการไทยกดดันเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล และยูทูปว์ ให้ลบเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังขู่จะดําเนินคดีกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ลบเนื้อหา รวมทั้งบุคคลที่สื่อสารหรือแชร์ข้อความที่โพสต์โดย ผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่อยู่ระหว่างการลี้ภัย
ต่อมามีการจับกุมบุคคลหกคน เนื่องจากการแชร์ โพสต์ในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการย้ายหมุดคณะราษฎร์ จนถึงสิ้นปีบุคคลเหล่านี้ยังคงถูกคุมขังอยู่ โดยถูกดําเนินคดีในหลายกรรมเนื่องจากการละเมิดมาตรา 112 ทางการไทยยังได้เสนอร่างกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์และมาตรการอื่นๆ ซึ่งเพิ่มอํานาจในการสอดแนมทางอินเทอร์เน็ตและการเซ็นเซอร์ โดยไม่จําเป็นต้องขอหมายศาล
การสังหารนอกกระบวนการ กฎหมายและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
เดือนมีนาคม ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมเยาวชน ชาวลาหู่ อายุ 17 ปี ถูกยิงสังหารที่ด่านตรวจของทหารและเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการยิงเพื่อป้องกันตัว จนถึงสิ้นปี การสอบสวนการเสียชีวิตของเขามีความคืบหน้าไม่มากนัก (อ่านประกอบ บันทึกปากคำจากพื้นที่ เกิดอะไรขึ้นกับ 'ชัยภูมิ ป่าแส' )
ทางการยังไม่มีการส่งมอบภาพจากกล้องวงจรปิดที่บันทึกเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุให้ นอกจากนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในการสอบสวนของรัฐบาลเพื่อคลี่คลายคดีการบังคับบุคคลให้สูญหายผู้แทนรัฐบาลไทยแจ้งต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อเดือนมีนาคมว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาเสนอเรื่องการบังคับบุคคลให้สูญหาย กรณีทนายสมชาย นีละไพจิตและพอละจี รักจงเจริญ” หรือ “บิลลี่” ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดําเนินการ
แต่จนถึงสิ้นปียังไม่มีการดําาเนินการใดๆ (อ่านประกอบ 3 ปีการหายไปของบิลลี่กับวัฒนธรรมอำนาจนอกระบบยุติธรรมของไทย )
เดือนมีนาคมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบที่จะให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองบุคคลผู้ถูกบังคับให้สูญหายทุกคน ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเมื่อปี 2555 อย่างไรก็ดี จนถึงสิ้นปีประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าว อีกทั้งยังไม่ได้กําาหนดกรอบเวลาในการดําเนินงานด้วย
ขณะที่ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ส่งกลับร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายให้กับคณะรัฐมนตรีเพื่อ “การปรึกษาหารือเพิ่มเติม” (อ่านประกอบ ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ) โดยในร่างสุดท้ายมีการแก้ปัญหาช่องว่างของกรอบกฎหมายในปัจจุบันเกี่ยวกับการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหายจําเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างนี้เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ