พฤติกรรมคนเปลี่ยนตามข้อเท็จจริง
สื่อโฆษณาอย่างเดียวไม่เปลี่ยนพฤติกรรม - คนเปลี่ยนตามข้อเท็จจริง เวลาเราเห็นโฆษณาว่า อาหารชนิดหนึ่งอร่อยมาก แต่พอไปกินจริงแล้วไม่อร่อย สุดท้าย คนก็ไม่กินและ ยิ่งโฆษณา ก็ยิ่งฆ่าตัวตาย แต่ในอีกด้านหนึ่งของอร่อย แต่ไม่มีคนรู้จัก โอกาสขายให้แพร่หลายก็น้อย สองเรื่องจึงต้องมาคู่กัน แต่ข้อเท็จจริง เป็นพื้นฐานที่สำคัญก่อนที่จะทำการโฆษณา
ข้อมูลเรื่องการสมรส และ การหย่าร้าง จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในช่วง 10 ปี จำนวนการสมรส ต่ำลง 23% ขณะเดียวกัน จำนวนการหย่าร้างต่ำลง 36% (รูปที่ 1) ... ที่น่าสนใจคือ อัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราการสมรสในปีถัดมาน้อยลง(รูปที่ 2) เช่น ในปี 2549 อัตราการหย่าร้างสูงถึง 13% เทียบกับ 4% ในปี 2548 จะเห็นผลว่า อัตราการสมรส ลดลงในปีถัดมา 2550 เป็น 16% เทียบกับ ปี 2549 ซึ่งลดลง 13%....เพราะการหย่าร้างที่สูงขึ้น คนจะเห็นได้จากข่าวดารา ทางสื่อต่างๆ หย่าร้างกัน ทำให้ ความรู้สึกอยากสมรส(จดทะเบียน)น้อยลง
เช่นเดียวกัน จำนวนการจับกุมผู้กระทำผิด หากจับกุมได้มากขึ้น จำนวนการกระทำผิด(แจ้งความ) ก็น้อยลง (รูปที่ 3).... ที่จริงต้องชมเชยตำรวจไทยนะครับ เพราะจากสถิติ แสดงให้เห็นว่า ความสามารถของตำรวจ สามารถปราบให้คนไม่ค่อยกล้ากระทำผิด .. ข้อมูลแสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน (รูปที่ 4) การปล้นทรัพย์ที่จับกุมได้ สูงขึ้น เป็น 60% ในปี 2550 เทียบกับ 55% ในปี 2549 ทำให้อัตราการปล้นทรัพย์ ลดลง เป็น 43% ในปี 2551 เทียบกับ 25% ในปี 2549 ... โจรก็มีพฤติกรรมเปลี่ยนตามข้อเท็จจริง ถือ ถ้าถูกจับได้มาก ก็ไม่อยากเสี่ยง และ เมื่อจับได้มากจริง และ มีการแถลงข่าวอย่างต่อเนื่อง (แถลงข่าวได้ต้องมีข้อเท็จจริง) ก็จะทำให้ อัตราการทำผิดลดลง ซึ่ง ใน 10 ปีที่ผ่านมา ลดลงกว่าเมื่อก่อน ถึง ร้อยละ 77 ... ส่วนหนึ่งการจับกุมได้อาจจะเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เช่น มีการใช้กล้อง CCTV มาจับภาพ ทำให้การจับกุมคนร้ายทำได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น
สืบเนื่องจาก ความคิดเห็นเรื่องการรณรงค์วินัยจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ... การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนขับรถ จำเป็นที่จะต้องมีข้อเท็จจริง ว่า คนทำผิดวินัยจราจร ได้รับการลงโทษ และ สื่อออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง คนในสังคมจะปรับตัวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น... ทั้งนี้ การลงโทษ หากต้องใช้จำนวนจราจรไปตามจับกุมมากขึ้น ก็จะมีข้อจำกัด... การใช้เทคโนโลยีช่วย น่าจะเป็นทางออก โดยมีกฏหมาย และ กระบวนการจัดการที่เหมาะสม จะช่วยให้มาตรการต่างๆ เป็นจริงเป็นจังได้มากขึ้น
นี่เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนบุคคล ที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์ หากท่านเห็นด้วย ก็ช่วยกันแชร์ ให้ถึงหูของผู้รับผิดชอบในรัฐบาลนะครับ
ปล. บทความที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ
อ่านประกอบ :
แก้ปัญหาวินัยจราจรต้องไม่ใช้ตำรวจ (2)
เราหลงประเด็นหรือเปล่า : เรื่องเมาแล้วขับ ทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศกาล (1)
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก mediastudio.co.th และ catdumb.com