เปิดละเอียด! ผลสอบ สตง. ‘ตำบลละ 5 ล้าน’ จ.อุตรดิตถ์ พบ 10 โครงการล้มเหลว-ไม่เกิดการจ้างงาน
เปิดผลสอบฉบับเต็ม!! สตง.เชือด 10 โครงการตำบลละ 5 ล้าน “จ.อุตรดิตถ์” ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ไม่ก่อเกิดการจ้างงาน-เพิ่มรายได้ ให้ผู้ว่าฯ ตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริง 2 โครงการใหญ่ นำผู้กระทำผิดลงโทษ
มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลัง ภายใต้โครงการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ตำบลละ 5 ล้าน” ดูเหมือนในหลายพื้นที่ประสบปัญหาในการดำเนินโครงการฯ ให้บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ “จ.อุตรดิตถ์” ทั้งหมด 9 อำเภอ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ 1,129 โครงการ งบประมาณ รวม 334,206,200 บาท
ที่น่าสนใจ คือ จากการสุ่มตรวจสอบผลการดำเนินงานและสังเกตการณ์การใช้ประโยชน์ของโครงการ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 9 อำเภอ 43 โครงการ พบว่ามี 7 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 77.78 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด มีผลการดำเนินโครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งไม่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพ ไม่ก่อให้เกิดการจ้างงานและไม่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน จำนวน 10 โครงการ เป็นเงินเบิกจ่าย 3,555,000 บาท
โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์และทำให้งบประมาณสูญเปล่า เนื่องจากประชาชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการอบรมให้ความรู้ การเลี้ยงปลากระดี่ในกระชังบก จำนวนเงินเบิกจ่าย 127,000 บาท และโครงการดำเนินการฝึกอบรมและแจกพันธุ์ปลากระดี่และกระชังบก
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบว่า ลูกปลากระดี่ส่วนใหญ่ตาย ส่วนกระชังบก ไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์โครงการ ดังนั้นการดำเนินโครงการดังกล่าวจึงไม่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพ และไม่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
ส่วนโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้น แต่ขาดการวางแผนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น ขาดการเชื่อมต่อสิ่งสาธารณูปโภค หรือไม่มีการเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ทำให้ไม่สามารถ ใช้ประโยชน์ได้ หรือใช้ประโยชน์ได้เพียงบางส่วน จ านวน 6 โครงการ จำนวนเงินเบิกจ่าย 1,887,600 บาท ได้แก่ โครงการปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน บ้านแหลมทอง หมู่ที่ 2 ต.ข่อยสูง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ จำานวนเงินเบิกจ่าย 85,000 บาท, โครงการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ทางด้านการเกษตร บ้านนาลับแลง หมู่ที่ 5 ต.ปุคาย อ.เภอทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 500,000 บาท , โครงการเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร บ้านคลองละมุง หมู่ที่ 4 ต.ไร่อ้อย อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 467,000บาท
โครงการต่อเติมอาคารกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บ้านกิ่วเคียน หมู่ที่ 12 ต.จริม อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 361,600บาท, โครงการต่อเติมโรงน้ำดื่มชุมชน บ้านห้วยหูด หมู่ที่3 ต.แสนตอ อ.น้ าปาด จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 139,000บาท และโครงการปรับปรุงต่อเติมศูนย์ส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้า บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 1ต.เด่นเหล็ก อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 335,000 บาท
ขณะที่โครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ 3 โครงการ จำนวน เงินเบิกจ่าย 1,540,400.00 บาท ได้แก่โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สุสานหอย บ้านนาไร่เดียว หมู่ที่ 5 ต.สองห้อง อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 359,000 บาท, โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน บ้านน้ำลัด หมู่ที่ 5 ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 499,400 บาท และ โครงการปรับปรุงศูนย์จัดจำหน่ายสินค้ามะขามหวานและการเกษตร บ้านสุมข้าม หมู่ที่ 4 ต.นาขุม อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 682,000 บาท
จากการดำเนินโครงการที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ สตง. ระบุว่า กรณีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ใช้ประโยชน์บางส่วน หรือใช ประโยชน์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์โครงการ ส่งผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดิน ในแง่ งบประมาณสูญเปล่า 127,000 บาท จากโครงการอบรมให้ความรู้ การเลี้ยงปลากระดี่ในกระชังบกเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน บ้านปลายรางบน หมู่ที่ 8 ต.ข่อยสูง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เนื่องจากปลากระดี่ส่วนใหญ่ตาย และเกษตรกรไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก กระชังบกที่ได้รับแจก หรือใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์โครงการ
ขณะที่ประชาชนในพื้นที่สูญเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากวัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สิ่งก่อสร้าง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จโดยทันที เนื่องจากไม่มีการติดตั้งวัสดุครุภัณฑ์ ขาดการเชื่อมต่อ ระบบน้ำ ระบบไฟฟูาเข้าสู่อาคาร สิ่งก่อสร้าง ไม่มีความพร้อมด้านสถานที่เพาะปลูก และการร่วมกลุ่ม อาชีพเพื่อบริหารจัดการโครงการ เป็นงบประมาณเบิกจ่าย 1,887,600.บาท จาก 6 โครงการ ได้แก่
1.โครงการปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน บ้านแหลมทอง หมู่ที่ 2 ต. ข่อยสูง อ .ตรอน จ. อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 85,000บาท
2.โครงการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ทางด้านการเกษตร บ้านนาลับแลง หมู่ที่ 5 ต.ปุคาย อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 500,000 บาท
3.โครงการเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร บ้านคลองละมุง หมู่ที่ 4 ต.ไร่อ้อย อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 467,000 บาท
4. โครงการต่อเติมอาคารกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บ้านกิ่วเคียน หมู่ที่ 12 ต.จริม อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 361,600 บาท
5. โครงการต่อเติมโรงน้ำดื่มชุมชน บ้านห้วยหูด หมู่ที่3 ต.แสนตอ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 139,000บาท
และ 6. โครงการปรับปรุงต่อเติมศูนย์ส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้า บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 1 ต.เด่นเหล็ก อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 335,000บาท
สตง.ยังระบุอีกว่า รัฐสูญเสียโอกาสนำงบประมาณ จำนวน 1,540,400บาท ไปใช้ในโครงการอื่นที่มี ความจำเป็น และตรงตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ จากโครงการที่ดำเนินการ แล้วเสร็จ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สุสานหอย บ้านนาไร่เดียว หมู่ที่ 5 ต.สองห้อง อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 359,000 บาท 2. โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน บ้านน้ำลัด หมู่ที่ 5 ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 499,400 บาท และ 3. โครงการปรับปรุงศูนย์จัดจำหน่ายสินค้ามะขามหวานและการเกษตร บ้านสุมข้าม หมู่ที่ 4 ต.นาขุม อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 682,000 บาท
ตลอดจนกรณีที่โครงการไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ส่งผลให้โครงการ ดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ได้จึงถือว่าโครงการดังกล่าวไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท)
สตง.โดยสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 ได้มีข้อแนะนำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง หากพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง มีเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ดำเนินการหาผู้รับผิดทางละเมิด และพิจารณาโทษตามควรแก่กรณีในกรณีเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริงผู้ควบคุมงานและคณะกรรมการตรวจการจ้าง โครงการปรับปรุง ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน บ้านแหลมทอง หมู่ที่ 2 ต.ข่อยสูง อ.ตรอน งบประมาณ 85,000 บาท ตามใบสั่งจ้างเลขที่ 2/2559 ลงวันที่ 14 มกราคม 2559 ซึ่งได้รับรองว่าผู้รับจ้าง ทำงานแล้วเสร็จ ครบถ้วน ถูกต้องตามสัญญา และเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง
โดยข้อเท็จจริงผู้รับจ้าง ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบประปาตามสัญญาจ้าง เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ส่วนกรณีสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการปรับปรุงต่อเติมศูนย์ส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้า บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่1ต.เด่นเหล็ก อ.น้ำปาด ที่ดำเนินการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง และจ้างแรงงาน ดำเนินการก่อสร้างถึงสาเหตุที่มีวัสดุก่อสร้างเหลือใช้จากโครงการ และตรวจสอบสิ่งก่อสร้างว่าเป็นไปตามมาตรฐานงานก่อสร้าง ถูกต้องตามแบบรูปรายการที่กำหนดไว้หรือไม่
อีกทั้งยังให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์สั่งการให้นายอำเภอประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งผู้นำชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ให้สามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สิ่งก่อสร้างตาม โครงการและเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำนวน 10 โครงการ ประกอบด้วยโครงการอบรมให้ความรู้ด้านการเลี้ยงปลากระดี่ในกระชังบก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ ประชาชน, โครงการปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน, โครงการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ทางด้านการเกษตร, โครงการเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร บ้านคลองละมุง, โครงการต่อเติมอาคารกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์บ้านกิ่วเคียน, โครงการต่อเติมโรงน้ำดื่มชุมชน, โครงการปรับปรุงต่อเติมศูนย์ส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้า บ้านท่าโพธิ์, โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สุสานหอย บ้านนาไร่เดียว , โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน บ้านน้ำลัด และโครงการปรับปรุงศูนย์จัดจำหน่ายสินค้ามะขามหวานและการเกษตร บ้านสุมข้าม
สตง.ยังระบุต่อถึงข้อเสนอแนะ ให้มีคำสั่งกำชับนายอำเภอทุกแห่ง ควบคุม กำกับดูแล ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด และควรให้ ความสำคัญต่อการจัดทำโครงการตามมาตรการอื่น ๆ ของรัฐบาลในครั้งต่อไป ทั้งการจัดทำโครงการตามมาตรการของรัฐบาล ให้ศึกษาข้อมูล ความเป็นไปได้และความยั่งยืนของโครงการ โดยกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ตัวชี้วัดผลสำเเร็จ ให้ เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของมาตรการที่รัฐบาลกำหนดไว้เป็นการเฉพาะเรื่องนั้น รวมทั้งให้ความสำคัญต่อ การวางแผน การสำรวจความต้องการ สภาพพื้นที่ ลักษณะโครงการที่ไม่ควร เสนอขอรับการสนับสนุน การบริหารจัดการภายหลังโครงการแล้วเสร็จ เพื่อนำมาเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุด
กำหนดผู้รับผิดชอบ และขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อให้ทราบว่า โครงการประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และมีปัญหาอุปสรรค เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา และป้องกันไม่ให้เกิดเช่นเดียวกันนี้อีก และให้ความสำคัญและใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการควบคุม กำกับดูแลการ ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่าย การพัสดุ ช่างผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด โดยกำหนด มาตรการลงโทษตามควรแก่กรณีต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ และหรือผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับชั้น หากพบว่าปล่อยปละ ละเลย ไม่ได้ดำเนินการควบคุม ติดตามผลและตรวจสอบการ ดำเนินงานโครงการ จนเป็นเหตุให้โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์หรือเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
สุดท้ายแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและประเมินผลการใช้ประโยชน์ของวัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สิ่งก่อสร้างของโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท ในโครงการอื่นที่สตง. ไม่ได้ตรวจสอบ กรณีที่ตรวจพบว่าไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือใช้ได้เพียง บางส่วน ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณแผ่นดิน สั่งการให้นายอำเภอประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการบริหารจัดการ เพื่อให้ เกิดการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างชัดเจนต่อไป .
อ่านประกอบ:ถึงคิวอุตรดิตถ์! สตง.เชือด 10 โครงการ ‘ตำบลละ 5 ล.’ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
งานบกพร่องทุกอำเภอ! สตง.ประเดิมฟันโครงการตำบลละ 5 ล.จ.แพร่ รบ.ประยุทธ์
ฉบับเต็ม! ผลสอบสตง.ชำแหละตำบลละ5ล.จ.แพร่ รบ.บิ๊กตู่ 'บกพร่องทุกอำเภอ-รุกป่าสงวน'