'พุทธวรรค' สู่ 'Bitcion'
ถ้าเคารพพุทธวรรค “แม้เหรียญกษาปณ์ตกมาดั่งห่าฝน ก็มิทำให้กามชนอิ่มในกาม” จะไม่เกิดความบ้าคลั่งใน “bitcoin”ที่เกิดขึ้นในขณะนี้
น กหาปณวเสน ติตติ กาเมสุ วิชติ
อปปสสาทา ทุขา กามา อิติ วิญญาย ปณฑิโต
อปิ ทิพเพสุ กาเมสุ รติ โส นาธิคจฉติ
ตณหกขยรโต โหติ สมมาสพุธสาวโก
Na kahāpaṇavassena – tittikāmesu vijjati
Appassādā dukhā kāmā – iti uiññāya paṇḍito.
Api dibbesu kāmesu – ratim so n’ âdhigacchati
Taṇhakkhayarato hoti – sammāsambuddhasāuako.
-----------------------------
INSATIATE ARE SENSUAL PLEASURES
Not by a shower of gold coins does contentment arise in sensual pleasures. Of little sweetness, and painful, are sensual pleasures. Knowing thus, the wise man finds no delight even in heavenly pleasures. The disciple of the fully Enlightened One delights in the destruction of craving. (ดูหนังสือ The Dhammapada PÃLI TEXT AND TRANSLATION WITH STORIES IN BRIEF AND NOTES By Narada Thera 2544-2000)
เนื่องในวันปีใหม่ 2561 ขอส่ง ส.ค.ส.จากพุทธวรรคที่เป็น “อกาลิโก” ที่ได้อัญเชิญมาข้างต้นขอปรับเข้ากับเหตุการณ์ของโลกและของไทยในเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นดังนี้
“แม้เหรียญกาปณ์ (เงินตรา บิทคอยน์และอำนาจ ) ตกมาดังห่าฝน ก็มิทำให้กามชนและอิ่มในกามและอำนาจที่เป็นอนิจจัง
บิทคอยน์ (Bitcoin) เป็นรูปแบบเงินตราในระบบแบบใหม่เป็นเงินตราแบบ “ดิจิทัล(Digital Currency/Crypto Currency Cryptography) กำเนิดขึ้นในปี 2552 เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกโดยเริ่มต้นหนึ่งบิทคอยน์มีมูลค่าเพียงสิบเซ็นต์ หรือประมาณ 3.2 บาทเท่านั้น
แต่นับตั้งแต่ต้นปี 2560 ค่าของเงินบิทคอยน์ก็เริ่มทะยานพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ทุกๆวัน โดยทำสถิติขึ้นไปสูงสุดที่ 19,891 USD ต่อ1 BTC เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2560 และตกลงไปกว่า 30% อยู่ที่ประมาณเกือบ 12,000 USD แต่ภายในเวลาไม่ถึงอาทิตย์หลังจากนั้น ก็ดีดตัวกลับขึ้นมาใหม่อยู่ที่ประมาณ 15,000 USD ในช่วงวันคริสต์มาสปี 2560
เงินสกุลดิจิทัลต่างๆเหล่านี้ ไม่มีสินทรัพย์ประเภททองคำ ทุนสำรองธนบัตร ทุนสำรองระหว่างประเทศหรือเงินสกุลหลักประเภท ดอลล่าร์สหรัฐ เงินยูโร เงินปอนด์มาหนุนหลัง มูลค่าของเงินดิจิทัลอย่างเงินบิทคอยน์อยู่ที่ความเชื่อมั่นในตัวเงินบิทคอยน์ล้วนๆ อยู่ที่ความเชื่อมั่นในระหว่างกลุ่มผู้ใช้เงินสกุลดิจิทัลทั่วโลก ไม่ได้ถูกควบคุมหรือกำกับดูแลโดยธนาคารกลางของในแต่ละประเทศ และก็ไม่ได้อยู่ในระเบียบการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกบาลเป็นผู้ดูแลอีกชั้นหนึ่ง
ในเดือนมิถุนายน 2557 นายเจอร์รี บราวน์ ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียร์ สหรัฐอเมริกาได้ลงนามในกฎหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย (California Assembly Bill 129 หรือ AB- 129) ที่อนุญาตให้ใช้เงินตราดิจิทัล เช่น เงินดิจิทัลบิทคอยน์ สามารถใช้แทนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ถือได้ว่าเป็นมลรัฐแรกในสหรัฐ ที่มีกฎหมายรับรองเป็นทางการเช่นนี้
ความบ้าคลั่งและร้อนแรงของเงินบิทคอยน์ในช่วงเทศกาลเวลานี้ ทำให้นึกถึง “พุทธวรรค” อันเป็นอกาลิโก ที่ได้อัญเชิญมาแล้วข้างต้น และหนังสือเรื่อง “Manias Panics and Crashes”: A History of Finance Crises ของ Charles P.Kindleberger (1910-2003) อดีตศาสตราจารย์แห่งภาควิชาเศรษฐศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ CPK ได้ศึกษาถึงที่มาและการก่อตัวของปัญหาอันนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่ทางการเงิน (Financial Bubble) ที่สำคัญ ๆ สิบเหตุการณ์ ( ภาวะฟองสบู่คือสภาวการณ์ที่สินทรัพย์มีมูลค่าสูงเกินกว่าพื้นฐานความเป็นจริงของมัน) ตั้งแต่ปี 1636 จนถึงปี 2000 ดังนี้.....
1. The Dutch Tulip Bulb Bubble 1636 : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรในหัวดอกทิวลิป ที่เนเธอร์แลนด์
2. The South Sea Bubble 1720 : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรราคาหุ้นของบริษัท South Sea ที่อังกฤษ
3. The Mississippi Bubble 1720 : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรราคาหุ้นของบริษัท John Law’s Mississippi ที่ฝรั่งเศส
4. The late 1920s stock price bubble 1927-1929 : ฟองสบู่ที่ตลาดหุ้นนิวยอร์ก อันนำไปสู่การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษที่ 1930s ต่อไป (The Great Depression)
5. The surge in bank loans to Mexico and other developing countries in the 1970s : ปัญหาเงินกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากที่ไหลเข้าไปในเม็กซิโกและประเทศกำลังพัฒนาในทศวรรษที่ 1970s เพราะมีอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับต่ำกว่าการกู้ยืมในประเทศ
6. The bubble in real estate and stocks in Japan 1985-1989 : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ญี่ปุ่น
7. The 1985-1989 bubble in real estate and stocks in Finland, Norway and Sweden : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน
8. The surge in foreign investment in Mexico 1990-1993 : ปัญหาเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้าเม็กซิโกอย่างมากทำให้ตลาดการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การเกิดฟองสบู่ทางการเงิน
9. The bubble in real estate and stocks in Thailand, Malaysia, Indonesia and Several other Asian countries 1992-1997 : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและอีกหลายประเทศในเอเชีย
10. The bubble in over-the-counter stocks in the United States 1995-2000 : ฟองสบู่จากการเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ตลาดหุ้นสหรัฐ
ดังที่กล่าวไว้ CPK เสียชีวิตในปี 2003 ถ้าปัจจุบัน CPK ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงจะต้องเพิ่มเหตุการณ์
บิทคอยน์ จะเป็น “ฟองสบู่”หรือ “เงินตรา” ในอนาคต ?.....กำลังเป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้องในเรื่องเงินตราดิจิทัลหรือ Crypto - Currency อยู่ในขณะนี้
แต่มีสุภาษิตของชาววิลันดาหรือชาวดัชต์ ต้นตำรับฟองสบู่ดอกทิวลิป ที่เป็นรากเหง้าการเกิดฟองสบู่ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์การเงินของโลก ได้ให้ข้อคิดเป็นบทเรียนที่สำคัญไว้ว่า “....การเรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบันจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวสำหรับอนาคตที่ดียิ่ง....”
คำเตือนหรือสุภาษิตดังกล่าวคงจะไม่เหนือไปกว่า “พุทธววรค” อันเป็น “อกาลิโก” ที่ขออัญเชินมาข้างต้น และขอปรับเข้ากับเทศกาลของบ้านเมืองเราในขณะนี้เป็นข้อความใหม่ ดังนี้ ครับ
“แม้เหรียญกษาปน์ (เงินตรา บิทคอยน์ และอำนาจ)ตกมาดั่งห่าฝน ก็มิทำให้กามชนอิ่มในกามและอำนาจ”
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก https://davidaylor.com