เฉลยปริศนา แขนข้างขวาบนปกนิตยสารไทม์ ฉบับบุคคลแห่งปี 2017
นิตยสารไทม์เฉลยปริศนาแขนข้างขวาบนปก บุคคลแห่งปี 2017 เป็นของใคร ทำไมถึงโผล่มานิดเดียว พร้อมบอกเล่าเรื่องราวแสนข่มขื่นของคนที่โดนล่วงละเมิดทางเพศ
ประกาศออกมาเป็นทางการแล้วสำหรับตำแหน่งบุคคลแห่งปีของนิตยสารทรงอิทธิพลของโลกอย่าง ไทม์ (TIME) โดยปีนี้รางวัลบุคคลแห่งปี2017ตกเป็นของ The Silence Breakers กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ( Social Movement) ที่เบียดผู้นำโลกทั้งสองอย่าง โดนัลล์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯและนายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนคนปัจจุบัน ที่ถูกเสนอชื่อชิงรางวัลนี้เช่นกัน โดยปีก่อนหน้า ทรัมป์เคยได้ตำแหน่งบุคคลแห่งปีไป
สำหรับกลุ่ม The Silence Breakers ซึ่งกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นการออกมาเคลื่อนไหวกลุ่มคนที่เคยโดนล่วงละเมิดทางเพศ(sexually harassment) ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองทางโซเชียลมีเดียโดยการใช้แฮชแท็ก #MeToo ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา จากกรณีการลุกขึ้นมาฟ้องร้องของดาราสาว Alyssa Milanoในประเด็นการที่เธอเดินคุกคามทางเพศจาก 'ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน' โปรดิวเซอร์ชื่อดังชาวอเมริกัน วัย 65 ปี ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์ The Weinstein Company ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลทรงอิทธิพลในวงการบันเทิงระดับโลกคนหนึ่ง ส่งผลให้ไวน์สตีน ถูกไล่ออกจากบริษัทของตัวเอง
โดยตอนนั้นเธอได้ทวีตข้อความชักชวนว่า หากใครที่เคยโดนล่วงละเมิดทางเพศ ให้ติด#MeToo และรีทวีตข้อความของเธอ ปรากฏว่าหลังจากนั้นเพียงวันเดียว มีคนแชร์ข้อความเธอ พร้อมแฮชแท็กดังกล่าวมากถึง 30,000 ราย
#MeToo ไม่ได้เพิ่งเกิดหากแต่มีมานานกว่าสิบปีเเล้ว ซึ่งเป็นแคมเปญที่เริ่มจากนักกิจกรรมหญิงนาม Tarana Burke เพื่อรณรงค์ในเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ แต่กลับมาถูกพูดถึงอย่างมากจากกรณีดาราสาวในวันนั้น ก็เหมือนเป็นปรากฏการณ์ที่ลุกลามราวไฟไหม้ ที่มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายจำนวนมากซึ่งเคยโดนกระทำในลักษณะเดียวกันในหลายวงการทั้งภาพยนต์ สื่อมวลชน ออกมาพูดเรื่องนี้ ส่งผลให้กลุ่มบุคคลที่โดนกล่าวหาโดนเล่นงานกันเป็นแถว ถือได้ว่าการออกมาพูดผ่าน #MeToo เป็นการเคลื่อนไหวหนึ่งที่เป็นรูปธรรมครั้งใหญ่ในปี 2017 เลยก็ว่าได้
สำหรับภาพปกของบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ปีนี้ ประกอบไปด้วยนักร้องชื่อดังที่เคยชนะคดีล่วงละเมิดทางเพศอย่าง ไทเลอร์ สวิฟ ส่วนนักแสดงคนดังอีกคนที่ร่วมขึ้นปกครั้งนี้คือ Ashley Judd ซึ่งเธอออกมาบอกว่าเธอเป็นหนึ่งในคนที่เคยโดนล่วงละเมิดทางเพศเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี Adama Iwu ล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyist) แห่งบริษัท Sacramento, California ซึ่งเธอบอกเล่าประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน
Susan Fowler อดีตวิศวกรประจำสตาร์ทอัพชื่อดังอย่างอูเบอร์ (Uber) ที่ออกมาพูดถึงการกีดกันทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศในบริษัทส่งผลให้ผู้บริหารและพนักงานอีก 20 โดนไล่ออกจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
คนสุดท้ายคือ ซึ่งใช้นางแฝงว่า Isabel Pascual คนงานจากเม็กซิโกที่เปลี่ยนชื่อเพื่อความปลอดภัย เธอเป็นคนเก็บสตอเบอร์รี่ ซึ่งเปิดเผยว่าโดนล่วงละเมิดทางเพศจากผู้ชายซึ่งขู่เธอว่าห้ามบอกเรื่องนี้กับใคร เพื่อแลกกับความปลอดภัยของลูกและตัวเธอเอง
แต่หากสังเกตภาพปกครั้งนี้ดีเราจะเห็นความผิดปกติบางอย่าง นั่นคือมีแขนข้างหนึ่งโผล่มาในเฟรมทางขวามือ ซึ่งเป็นข้อสงสัยว่าแขนปริศนานี้เป็นของใคร มีความหมายอะไรแฝงอยู่ โดยทางนิตยสารไทม์ออกมาเฉลยว่า แขนที่เห็นนั้นเป็นของ พนักงานสาวคนหนึ่งในเท็กซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งการโผล่มาแค่แขนข้างเดียวของเธอก็เพื่อความปลอดภัยของตัวเธอและครอบครัวของเธอ
โดยเธอได้เปิดเผยกับนิตยสารไทม์ไว้ว่า ยังคงจดจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ดี จนวันนี้เธอก็ยังไม่หยุดคิดได้ว่าเธอจะสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นได้หรือไม่ เธอยังเล่าอีกว่า เธอได้คิด กับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งตั้งคำถามว่าทำไมเธอไม่พูด ที่ผ่านมาสิ่งนี้อยู่ในหัวมาตลอด ว่าต้องทำอะไรสักอย่าง พูดอะไรบ้างอย่าง
ทั้งนี้การออกมาพูดเรื่องดังกล่าวก็ใช่ว่าจะส่งผลดีกับทุกคน แม้ดูเหมือนว่าสังคมจะเข้าใจมากขึ้น แต่ก็มีเหยื่ออีกจำนวนมากที่ยังไม่พร้อมเปิดเผยตัวตนให้สาธารณะได้เห็น ซึ่งการโผล่มาแค่แขนข้างเดียวนี้คือตัวแทนของกลุ่มคนเหล่านั้นนั่นเอง อย่างไรก็ดียังมีกระแสวิพากษ์การขึ้นปกครั้งนี้ว่าอาจยังไม่ยุติธรรมกับกลุ่มผู้ชาย ซึ่งก็ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ถูกละเมิดทางเพศด้วยเช่นกัน โดยมีรายงานระบุว่าปี 2017 ในอังกฤษ มีผู้ชายถูกข่มขืน 12,000 คน ผู้หญิง 85,000 คน ขณะที่ในรายงานของ The National Alliance to End Sexual Violence บอกว่า 14% ของคนถูกข่มขืนที่รายงานเข้ามาเป็นผู้ชายและเด็กผู้ชาย ซึ่ง 1 ใน 6 ของรายงานเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศนั้นเกิดกับผู้ชาย ในส่วนกรณีของไทย เด็กผู้ชายถูกล่วงละเมิดทางเพศมากกว่าเด็กผู้หญิง 3-5 เท่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องตัวเลขละเมิดทางเพศโดยคริสตจักร VS พระสงฆ์ไทย ขยะซุกใต้พรม 'รอยด่าง' แห่ง 2 ศาสนา
ภาคประชาสังคมชูแคมเปญ 'ถึงเวลาเผือก' หลังพบคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะสูงเกิน 50%
ยูนิเซฟชี้เด็กหลายล้านคนทั่วโลกถูกคุกคามจากการลงโทษรุนแรง-ล่วงละเมิดทางเพศ-ฆาตกรรม
อ้างอิงข้อมูล
http://time.com/time-person-of-the-year-2017-silence-breakers/?xid=homepage
http://time.com/5052362/time-person-of-the-year-2017-arm-cover/
http://money.cnn.com/2017/12/06/media/time-person-of-the-year-2017/
https://www.voicetv.co.th/read/531487
https://thestandard.co/bitch-talk-the-rape-of-men/