การสื่อสารโดยเคารพความแตกต่าง
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของคนไทยที่ทรงคุณค่าอย่าง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ .. อนึ่งเมื่อเช้านี้ผมได้ฟังรายการข่าวทางวิทยุ ซึ่งผู้จัดท่านก็จัดรายการโดยบอกเล่าเรื่องราวของความสูญเสียที่เกิดขึ้น
โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากรณีของ ดร.สุรินทร์ ตามปกติ แต่ระหว่างนั้นผมกับสะดุดกับประโยคที่ว่า "ต้องรีบฝังตามหลักศาสนาของเค้า" ซึ่งฟังเพลินๆก็ดูเหมือนอาจจะไม่มีอะไร แต่ถ้าจะให้รัดกุมกว่านี้ อาจจะแก้เป็นว่า
"ต้องฝังภายใน 24 ชม ตามหลักการของศาสนาอิสลาม" .. ทีนี้ผมอยากจะสื่อสารเพิ่มเติมว่าการรัดกุมนั้น แค่ระวังเพียงข้อมูลที่ครบถ้วนและใส่ใจความถูกต้องอาจจะยังไม่พอ เพราะถ้าสังเกตให้ในประโยคดีจะมีคำว่า "#ของเค้า" ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง และ ถ้าเราจะทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง .. มันสะท้อนมุมมองในใจของผู้จัดและผู้คนในสังคมบางส่วนอย่างชัดเจนว่ายังมีการแบ่งแยกในใจ ซึ่งไม่ผิด และ ไม่ใช่เจตนาไม่ดี แต่ทว่าในบริบทโลกใหม่ในโลกแบบสากล เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ระมัดระวังกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ซึ่งถ้าหากเราย้อนไปดูการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาทำนองนี้ในตะวันตก ซึ่งในยุคก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง เราจะได้ยินคำว่า #นิโกร #ผิวดำ ซึ่งมันมีความหมายลบที่บ่งบอกถึงความแบ่งแยกและเหยียดหยามอย่างชัดเจน และเมื่อประเด็นนี้มีพัฒนาการในระดับที่มีอารยะคำว่า #ผิวสี ก็เข้ามาแทนที่ แม้ว่าความเข้าใจถึงกลุ่มคนน่าจะเป็นดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือ #อาฟริกันอเมริกัน แต่คุณค่าและความหมายเปลี่ยนไป
ยังมีอีกหลายคำที่ผ่านพัฒนาการทำนองนี้มาแล้ว จนเข้าสู่สภาวะสมดุลแห่งความหมาย เช่น คำว่า #เจ๊ก ซึ่งพัฒนามาเป็น #ลูกจีน หรือ #คนไทยเชื้อสายจีนเป็นต้น หรือ แม้แต่คำว่า #ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม #ไทยมุสสลิม ที่ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายในการสื่อสารระดับกึ่งทางการ และ ทางการ ก็เรียกได้ว่าถูกคัดสรรเพื่อใช้ในบริบทปัจจุบันแล้ว
ที่จริงแล้วในวันนี้ยังมีอีกหลายคำที่แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ผมได้หยิบยกมาข้างต้น แต่ทว่าถ้าเราได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และ ใช้อย่างระมัดระวัง อาชีพสื่อจะมีคุณค่าต่อสังคมมากขึ้นกว่านี้
เช่น คำว่า #ซาไก ที่เราเรียกนั้นแปลว่าป่าเถื่อน ไม่พัฒนา แต่ทว่า #มานิ ที่ชาติพันธุ์นี้ ใช้เรียกตัวเองนั้นแปลว่า มนุษย์หรือผู้มีอารยะ ซึ่งระยะหลังเริ่มมีคนใช้ #มานิ มากขึ้น อีกหนึ่งตัวอย่าง
ที่ผมในฐานะผู้ที่เดินทางไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยๆ อยากจะขอเสนอในคราวเดียวกัน คือ คำว่า #เขมร ซึ่งคนกัมพูชาอยากให้เรียกเขาว่า #แขมร์ (ขะแม) มากกว่า
ขณะเดียวกันคนกัมพูชาจำนวนมากในวันนี้ เมื่อเจอหน้าคนไทยจากที่เคยนิยมเรียกพวก #เสียม วันนี้ก็เปลี่ยนมาเป็น #ไทย มากขึ้น
ภาษามิได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการสื่อสารเท่านั้น แต่ทว่าเป็นส่วนหนึ่งในการจรรโลงโลกที่เต็มไปด้วยความแตกต่างให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสวยงามอีกด้วย
เข้าใจ #ความแตกต่าง และ มีความเป็น #มืออาชีพ .. วิชาชีพสื่อมวลชนก็จะยังเป็นกลไกสำคัญที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://pirun.kps.ku.ac.th/