เวทีเสวนา กม. ป.ป.ช.ห่วง กม.ใหม่ มีช่องปิดบังข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน
องค์กรต่อต้านคอรัปชั่นประเทศไทย จัดเสวนา กม. ป.ป.ช. หารือปมแจงบัญชีทรัพย์สิน ชี้ต้องมีสมดุลระหว่างสิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ด้าน กรธ. ชีแจง กม. ปปช.ไม่ต่างจาก รธน.ปี 2540,2550 'พิศิษฐ์'แนะ ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินต้องตรวจสอบประวัติเสียภาษีด้วย
เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2560 ที่ห้องประชุมองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น ชั้น 16 อาคารจุลทรัพย์ มีการจัดงานเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ ‘การเปิดเผยทรัพย์สิน และบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.ตามพระราชบัญญัติ ป.ป.ช.ใหม่’ โดยองค์การต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย) โดยมีการให้ความเห็นจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
นายวรวิทย์ สุขบุญ' รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) รักษาราชการเลขาธิการป.ป.ช.กล่าวเสวนาว่า รัฐธรรมนูญปี2560 กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น โดยให้มีตำแหน่งที่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นคือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ และผู้บริหารท้องถิ่นด้วย จากเดิมให้เปิดเผยเฉพาะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส.และส.ว.เท่านั้น แต่ให้ปกปิดข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น เลขที่บัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขที่บัญชีธนาคาร ภาพถ่ายทรัพย์สิน เพื่อป้องกันไม่ให้นำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในทางมิชอบ จนถูกมองว่า ปิดกั้นประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบนักการเมือง ซึ่งป.ป.ช.ต้องมาดูถึงความเหมาะสมว่า การปกปิดข้อมูลบางส่วนนั้น ต้องไม่เป็นการปิดกั้นการตรวจสอบ ขณะเดียวกันข้อมูลที่จะเปิดเผยต้องไม่กระทบสิทธิส่วนตัวมากเกินไป ส่วนตัวมองว่า ประเด็นดังกล่าวไม่ใช่ปิดกั้นการตรวจสอบ เพราะข้อมูลที่ประชาชนแจ้งให้ป.ป.ช.ทราบ ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลเชิงลึกถึงขั้นต้องได้เลขที่บัญชีธนาคาร เลขที่โฉนด อีกทั้งระยะหลังนักการเมืองไม่เคยนำทรัพย์สินไว้ในชื่อตัวเอง แต่นำไปไว้ในชื่อนอมินีแทน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้เป็นสิ่งที่ป.ป.ช.อยากได้มากกว่า
ด้านนายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)
ขณะที่ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)กล่าวว่าตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ในภาพรวมนั้นยังไม่มีใครว่ากฎมายเกี่ยวกับ ป.ป.ช.นั้นไม่ดี จริงๆแล้วสิ่งที่ต้องชั่งน้ำหนักคือเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและเรื่องการคุ้มครองสาธารณะ ตนเห็นว่าความเป็นส่วนตัวควรจะน้อยลงเมื่อเขาเข้ามาทำงานเพื่อสาธารณะ แต่ว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 ไปเขียนอะไรที่คลุมเครือ ก็คงจะทำห้เกิดความระแวง โดยเฉพาะการเขียนว่าต้องเปิดเผยข้อมูลโดยสรุปเป็นต้น ที่ผ่านมาตนมีประสบการณ์ว่าการตรวจสอบของ ป.ป.ช.นั้นเป็นสิ่งที่เชื่อไม่ได้ ตนเคยเห็นว่า ป.ป.ช.ได้เก็บข้อมูลเอาไว้แต่ไม่ได้เอาออกมาดู ออกมาพิจารณา และก็ไม่เชื่อว่า ป.ป.ช.จะทำงานโดยไร้อคติ ซึ่งการเขียนกฎหมายว่าให้เปิดเผยข้อมูลโดยสรุปนั้นอาจจะทำให้มีช่องให้ ป.ป.ช.สามารถกลั่นแกล้งได้ ตนอยากให้เขียนกฎหมายให้กว้างไปเลยว่าคู่สมรส บุตร ไม่ว่ามีกี่คนก็ต้องเปิดเผยให้หมด ในสมัยที่ตนเป็น ส.ว. เคยขอมติสภาให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินรวมไปถึงของผู้ที่เกี่ยวข้องให้หมด ซึ่งประชาชนเมื่อเห็นข้อมูลแล้วเขาก็จะช่วยกันตรวจสอบบุคคลนั้นๆได้ นอกจากนี้ในร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้ยังมีจุดที่น่าเป็นห่วงก็คือการเซตซีโร่ ป.ป.ช. ที่ผ่านมาตอนร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เคยมีการถกเถียงกันว่าจะเซตซีโร่ ป.ป.ช.ดีไหม พอมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2560 กลับเจอปัญหาหนักกว่าเพราะ สนช.ได้วางมาตรฐานการเซตซีโร่แต่ละองค์กรอิสระไว้แตกต่างกันมาก อาทิ กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เซตซีโร่ ศาลรัฐธรรมนูญไม่เซตซีโร่ ตรงนี้ทำให้สื่อมวลชนและประชาชนเป็นห่วงว่าจะเป็นการถอยหลังเข้าคลองหรือไม่
ส่วน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวว่า ถ้าหากไปดูนักการเมืองที่เข้าสู่ตำแหน่งและออกจากตำแหน่งจะพบว่าส่วนมากหนี้สินหายไปเกือบร้อยล้าน ต้องถามว่าได้รายได้มาอย่างไรถึงหายไป และรายได้ที่มานั้นเสียภาษีหรือไม่ ต้องฝากให้ ป.ป.ช.ไปดูด้วย ไม่ใช่แค่ไปดูแล้วบอกว่ารวยเป็นปกติ แล้วเมื่อตรวจอย่างรอบคอบแล้วก็ควรตรวจสอบรายละเอียดการเสียภาษีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยเพื่อให้มีความขนานกันไป ตนเห็นว่าในปัจจุบันนี้การสืบเสาะข้อมูลนั้นไม่ยากจนเกินไปโดยเฉพาะจากสื่อมวลชน สำหรับกรณีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลที่ถูกตรวจสอบ ตนเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณะชนมากกว่า ซึ่งเรื่องนี้คงต้องขอให้มีการทบทวนกันด้วย
ด้านนายเสนาะ สุขเจริญ บรรณาธิการสำนักข่าวอิศรากล่าวว่าในด้านการตรวจสอบภาคประชาชน ตนเห็นว่ากฎหมายแบบนี้เป็นเครื่องมือในการตัดมือตัดเท้าของภาคประชาชนในการทำงานตรวจสอบโดยสิ้นเชิง ที่ผ่านมามีหลายคดีอาทิคดีซุกหุ้น คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินของ ส.ส.ในท้องที่ปากน้ำที่ หรือกรณีที่นายไชยา สะสมทรัพย์ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเพราะว่าถือหุ้นในบริษัทเอกชนเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ เรื่องเหล่านี้สื่อมวลชนและภาคประชาชนได้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ ก่อนที่ภายหลังจะนำไปสู่การต่อสู้ของ ป.ป.ช. ดังนั้นตนจึงให้ความสำคัญกับกฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินมากเป็นพิเศษ สำนักข่าวอิศราเคยตรวจสอบเรื่องสัญญาการการก่อสร้างสนามฟุตซอล และไปตรวจสอบผู้ถือหุ้นของบริษัทก่อสร้างกับบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็พบว่ามีข้อพิรุธ ดังนั้นถ้าป.ป.ช.ไปปกปิดบัญชีทรัพย์สินของบุคคลสาธารณะ ก็หมายความว่าให้น้ำหนักกับการปกป้องบุคคลสาธารณะมากกว่าการทำหน้าที่ตรวจสอบของภาคประชาชนมากขึ้น และที่สำคัญก็เป็นการเปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่า ในวันที่30 พ.ย.เวลา 13.00 น. คณะกรรมการป.ป.ช.จะแถลงข่าวต่