ปริศนา!เงินโอนเข้า ร.พ.รัฐ 1.5 ล./เดือน มาจากไหน?
หลากเงื่อนปมเงินโอนเข้า ร.พ.รัฐ เดือนละ 1.5 ล. จากเอกชนหลายราย เกี่ยวโยงโครงการจ้างเหมาเอกซเรย์ 26 ล.-โครงการก่อสร้างห้องผ่าตัด 159 ล. หรือไม่? รอความชัดเจนจากหน่วยตรวจสอบ สังคมรอฟังคำตอบ
จากเรื่องบัญชีกองทุนสวัสดิการ ร.พ.ระยอง ที่ถูกเปิดเผยผ่านสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ถึงการมีเงินโอนจากบริษัทยาที่เป็นคู่สัญญาขายยา และ เครื่องมือแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลกว่าเดือนละ 1.5 ล้านบาท โดยมีการโอนเงินดังกล่าว มาจากหลายบริษัทยา และ เป็นประจำทุกสิ้นเดือน รวมเงินเข้ากว่า 20 ล้านบาท ต่อปี ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาให้คำตอบถึงความถูกต้องเรื่องที่มาของเงิน ดังกล่าว และยังไม่มีการชี้แจงรายชื่อของคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการนี้ ว่ามีตัวตนแต่งตั้งขึ้นจริงหรือไม่ (ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ต้องมีอนุกรรมการบริหารกองทุนทุนสวัสดิการโรงพยาบาล 8-15 คน เพื่อความโปร่งใส มิให้เป็นอำนาจการใช้เงินเฉพาะบุคคล)
- คำถามของสังคมคือ การมีเงินที่โอนจาก บริษัทยาดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนค่ายา ค่ารักษาพยาบาลรัฐ แพงขึ้นไหม
- เหตุใด รายการยาที่จัดซื้อ โดย สปสช. จึงซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าราคากลาง ที่ โรงพยาบาลรัฐสังกัดสาธารณสุข จัดซื้อเอง ประหยัดงบประมาณถึง 2.25 หมื่นล้านบาท ( ตัวอย่างรายการยาตามตารางที่1) http://www.manager.co.th/QOL/viewnews.aspx?NewsID=9580000086988
- เงินดังกล่าวเข้าไปไหน หรือไม่- มีหลักฐานการเอามาใช้ประโยชน์อะไร?
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบ ตัวอย่างราคายาที่ ร.พ.สาธารณสุขเคยจัดซื้อเอง และ ราคาที่ สปสช. จัดซื้อได้
ล่าสุดผู้บริหาร ร.พ.ระยอง ได้ออกมาชี้แจงผ่านสื่อท้องถิ่น เป็นวิดีโอคลิป เพื่ออธิบายถึง การถอนเงินสด 1 ล้านบาท (ลบ.) x จำนวน 4 ครั้ง รวม 4 ล้านบาท ณ วันที่ 16 ส.ค. 2560 (หลังจาก Statement การถอนเงิน 4 ลบ.ถูกเปิดเผยผ่านเว็บไซด์ของสำนักข่าวอิศรา) โดยแจ้งว่า ได้นำเงินดังกล่าวนำไปเข้ากองทุนวิจัย แต่เป็นมีข้อน่าสังเกตคือ การถอนเงินจากบัญชีกองทุนสวัสดิการ เป็นเงินสด 1 ล้าน X 4 ครั้ง รวม 4 ล้านบาท แต่เงินที่โอนเข้าในบัญชีกองทุนวิจัยในวันเดียวกันนั้นกลับเป็นเช็คต่างธนาคาร 2 ล้านบาท (หาก zoom ดูสมุดบัญชีที่ชี้แจงว่าเอาเงินไปเข้าระบุ CLC หรือ clearing cheque 2 ล้าน มิใช่ เงินสด CHS หรือ เงินโอน TRA 1 ล้านบาท x2ครั้ง ) ดังนั้น เงินที่เข้ากองทุนวิจัย ใช่เงินที่ถูกถอนจากกองทุนสวัสดิการนี้หรือไม่? ขณะนี้ยังต้องรอคำตอบว่าเงิน 4 ล้านบาท นี้หายไปไหน และเช็ค 2 ล้านบาท ที่โอนเข้ากองทุนวิจัยมาจากที่ใด?
กรณีนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การโอนเงินเข้ากองทุนสวัสดิการจำนวนมากเช่นนี้ อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน จะเกี่ยวโยงกับเรื่องร้องเรียนกรณี จ้างเหมาเอกซเรย์และก่อสร้างห้องผ่าตัดที่มีราคาสูงอีก 2 เรื่อง ด้วยหรือไม่?
1. การจ้างเหมาเอกชนมาเปิดดำเนินการ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT MRI ที่มีราคาค่าจ้างสูงกว่า โรงพยาบาลแห่งอื่นๆ ถึง 2 เท่าตัว ทั้งที่ใช้เครื่องมือที่สเปคเทียบเคียงกัน และการจัดจ้างทุก รพ.ได้เหมารวมค่าแพทย์อ่านผลเ เอ็กซเรย์ แล้วเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบ ราคาจัดจ้าง CT ระหว่าง ร.พ.เลย กับ ร.พ.ระยองที่มีเงื่อนไขการจ้างและ สเปคเครื่อง CT เหมือนกันทั้งฉบับ (TOR ฉบับเดียวกัน) และผู้รับจ้างเป็นบริษัทลูก ในเครือเดียวกัน แต่ ร.พ.ระยองกลับจัดจ้างในราคาที่สูงกว่า ร.พ.เลย ถึง 2 เท่าตัว เป็นเหตุให้ ร.พ.ระยอง จ่ายค่าจ้างเหมารวม 26.4 ลบ. ในปี 2559 ขณะที่ ร.พ.เลย จ่ายค่าจ้างเหมา CT เพียง 12 ล้านบาท ดังตะราง และ รูปที่ 2-4
ตรางที่ 2-4: เปรียบเทียบ ราคาจางเหมาตรวจ เอกซเรย์ CT-MRI ของ รพ.ระยอง และ รพ.เลย ในปี 2559
1. การก่อสร้างตบแต่งภายในห้องผ่าตัด 14 ห้อง ที่มีราคา 159 ล้านบาท โดยมีประตูห้องผ่าตัดราคา 324,000 บาท / บาน รวม 14 บาน และ ยังมีค่าคอมแพคลามิเนตกรุผนัง ราคาสูงถึง 9,000 บาท/ตรม จำนวนกว่า 200 ตรม. ต่อห้องผ่าตัด 1ห้อง สูงกว่าราคาท้องตลาดที่มีราคาเพียง 1,200-1,800บาท/ตรม.
ทั้งหมดนี้ คงต้องรอ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้ง หน่วยงานตรวจสอบของประเทศ- สำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่รับเรื่องไว้แจ้งผลการสืบสวน ควบคุมจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รวมทั้งที่มาที่-ที่ไปของเงินกองทุนสวัสดิการร.พ.รัฐได้ เพื่อให้ประเทศไทย ประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุข หลายหลายหมื่นล้านบาทต่อปี , แก้ไขปํญหาระบบประกันสุขภาพ 30 บาท ขาดทุนเดินหน้าต่อไม่ไหว ,ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงของผู้ป่วยกลุ่มสิทธิราชการ ก่อนที่กรมบัญชีกลางจะขอจำกัดงบประมาณนี้
ด้วยการรักษาพยาบาลเป็นสวัสดิการที่จำเป็นของคนไทยทุกคน ประชาชนคนไทยทุกคนคงกำลังรอความชัดเจนของการสืบสวนเรื่องนี้โดยเร็ว ดังคำพุดที่ว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความไม่ยุติธรรม ( JUSTICE DELAYED IS JUSTICE DENIED )
อ่านประกอบ:
4 ข้อสงสัยปมถอนเงิน 4 ล. บัญชีกองทุนฯ รพ.ระยอง ต้องสอบให้เคลียร์
บิ๊ก สธ.สั่งกลุ่มสอบภายในลงพื้นที่ รพ.ระยอง หาข้อเท็จจริงปมรับเงิน บ.ยา กลาง ต.ค.นี้
เปิดข้อมูลจัดซื้อ รพ.ระยอง 3 ปี คู่สัญญา บ.ยา 500 ล้าน
หลักฐาน‘ใบรับเงิน’ รพ.ระยอง หัก 5% จาก บ.ยา รุ่งขึ้นนำเข้าบัญชีฯกองทุน
7.1 หมื่นล.!เบิกจ่ายรักษา ขรก. ค่าห้อง อาหาร 2 พันล.- ชงจำกัดวงเงิน จำนวนครั้ง/ปี
รพ. 28 แห่ง เบิกค่า‘ยาลดไขมัน’ 1.2 พันล.-บ.ผู้ผลิตเข้าถึงหมอ -‘ทุจริต’แรงจูงใจ
ผู้ว่าฯให้แจง -บิ๊ก สธ.ลงพื้นที่สอบ! ปม บ.ยาโอนเงินเข้ากองทุนฯ รพ.ระยอง
บินประชุม ตปท.บังหน้า ขอเงิน บ.ยา! ปมทุจริต รพ. จ.นนท์-ปลอมเบิก‘ซูโดอีเฟรดรีน’
ชอปปิ้ง-ยิงยา-สวมสิทธิ์ พฤติกรรมทุจริตเบิกจ่ายค่ายา-ดีเอสไอสาวลึก รพ. 2 แห่งอีสาน
ชำแหละทุจริตเบิกจ่ายยา: แพทย์ รพ. สมคบเอกชน ปั้นยอดเอาค่าคอมมิชชัน-ทัวร์นอก
ตั้งกองทุนฯ ตามระเบียบ! รพ.ระยองแจง 3 ปมร้องเรียน มีรายรับจากผู้สมัครใจ
ห้ามรับ‘ค่าคอมมิชชัน’ บ.ยา ! มาตรการป้องทุจริต ป.ป.ช.เทียบกรณี รพ.ระยอง
เรื่องถึงปลัด สธ.แล้ว!ปม บ.ยาโอนเงินเข้าบัญชีกองทุนฯ รพ.ระยอง-ให้ผู้ตรวจกระทรวงสอบ
หมุนเวียน 24.4 ล.-ใครเบิก 4 ล.? ปมปริศนา บ.ยาโอนเงินเข้ากองทุนฯ รพ.ระยอง
ผู้ว่าฯสตง.สั่งลุยสอบ ทบ.ปลดประจำการเรือเหาะ350ล.-ทราบเรื่องปมเงิน รพ.ระยองแล้ว
เปิดระเบียบฯ ก.สาธารณสุข กองทุนฯ รพ.ระยอง รับเงินปริศนา บ.ยา ทำถูกต้องหรือไม่?
เปิดสเตทเมนท์บัญชีกองทุนฯ รพ.ระยอง เข้า-ออกยิบ! วันเดียวถอน 4 ครั้งรวด 4 ล.
เงินปริศนา! บ.ยาโอนเข้าบัญชี กองทุนฯ รพ.ระยอง หลายล.-ผอ.ขอตรวจสอบก่อน