สมคิด เลิศไพฑูรย์:จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์
จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีกระบวนการสรรหาอธิการบดีใหม่
กระบวนการสรรหาอธิการบดีใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ผมใกล้ถึงจุดสุดท้ายแล้ว เราได้แคนดิเดท 2 คน ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงมากที่สุดจากประชาคมธรรมศาสตร์หลายพันคน โดยอันดับ 1 ได้รับการเสนอชื่อจาก 49 หน่วยงาน คิดเป็น 98% ของหน่วยงานทั้งหมด อันดับ 2 ได้ 33 หน่วยงาน คิดเป็น 66% แต่ยิ่งใกล้เท่าไหร่ การเคลื่อนไหวและการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทาให้ชาวธรรมศาสตร์ เข้าใจผิดตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวานนี้มีคนส่งจดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ของอาจารย์ นิพนธ์ พัวพงศกร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้แก่ผมอ่าน ผมเองค่อนข้างตกใจเนื้อหาที่อาจารย์ นิพนธ์ให้ข้อมูลกับชาวธรรมศาสตร์ อาจารย์นิพนธ์บอกว่า
1. การจัดอันดับของ Times Higher Education (THE) และ QS ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก ธรรมศาสตร์ไม่มีชื่อติดอันดับใดๆ ของมหาวิทยาลัยโลกเลย และในประเทศไทยเราอยู่อันดับ 9-17
2. ธรรมศาสตร์ควรมีอธิการบดีที่มาจากหนุ่มสาวอายุ 45-55 ปี จากสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิศวกรรม เหมือนในมหิดล จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ มจธ.
3. แนวโน้มที่ธรรมศาสตร์จะได้อธิการบดีคนใหม่และทีมงานซึ่งเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยมา ติดต่อกันกว่า 13 ปี แต่สลับตำแหน่งกันจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับธรรมศาสตร์และขอให้อธิการบดีคนใหม่อย่าเลือก ผู้บริหารชุดเก่ามาทำงานต่อเลย
4. การสรรหาคณบดีหลายคณะ มหาวิทยาลัยไม่เลือกคณบดีที่บุคคลากรสายต่างๆ ของคณะ โดยเฉพาะสายอาจารย์เป็นผู้เสนอมาในอันดับแรก
ผมขออธิบายสิ่งที่อาจารย์นิพนธ์เขียนและหลายคนที่อาจารย์นิพนธ์รับข้อมูลมาให้เข้าใจเพื่อไม่ให้ ธรรมศาสตร์เสียหาย
1. ในการจัดอันดับ QS World University Rankings ปี 2018 นั้น มธ. ได้อันดับ 4 ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผมคาดว่าภายใน 1-2 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น่าจะแซงขึ้นเป็นอันดับ 3 ได้ ส่วนการจัดอันดับ QS Asian University Rankings ปี 2015 มธ. ได้อันดับที่ 143 ปี 2016 ได้อันดับที่ดีขึ้นมากคืออันดับที่ 101 โดยเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย (ปี 2017-2018 ยังไม่ประกาศผล) และกรณีของ Times
เนื่องจาก มธ. เลือกที่จะยังไม่เข้าไปจัดอันดับจึงไม่ได้ส่งข้อมูลให้ Times การจัดอันดับจึงไม่มีชื่อ มธ. แต่ ประการใด หาใช่เพราะ มธ. ไม่ติดอันดับแต่ประการใดไม่ ผมเลยไม่แน่ใจว่าอาจารย์นิพนธ์เอาข้อมูลเรื่อง QS และ Times มาจากที่ใด
2. ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 และข้อบังคับการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งคำพิพากษาของศาลปกครองนครราชสีมาต่างก็ไม่ได้กำหนดอายุของผู้ที่มา เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ประการใด ถ้าหากเอาอายุ 45-55 ปีของอาจารย์นิพนธ์มาจัด อันดับอดีตอธิการบดีในรอบ 13 ปีที่ผ่านมาและแคนดิเดทอธิการบดีคนใหม่ จะไม่มีใครอยู่ในข่ายได้เป็น อธิการบดีเลย นอกจากตัวผมเองเพราะ รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร เป็นอธิการบดีตอนอายุ 43 ปี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นอธิการบดีตอนอายุ 44 ปี แคนดิเดทอธิการบดี 2 คนที่มีอยู่ในปัจจุบันอายุน้อยที่สุดก็ 57 ปี กว่าๆ ใกล้เกษียณเต็มที ผมจึงอยู่ในข่ายของอาจารย์นิพนธ์คนเดียวเท่านั้น เพราะตอนเป็นอธิการบดีครั้งแรก ผมอายแุค่ 51 ปี
อาจารย์นิพนธ์ยังพูดว่า มหิดล จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ มจธ. ล้วนมีอธิการบดีที่มาจากคนหนุ่มสาว ข้อมูลนี้ก็ผิดพลาด เพราะทั้ง 4 มหาวิทยาลัยในอดีตจนถึงปัจจุบันต่างก็มีอธิการบดีที่อายุเกิน 60 ปีทั้งสิ้น จะมียกเว้นก็แต่อธิการบดีจุฬาลงกรณ์คนปัจจุบันที่อายุเพียง 51 ปี ถ้าอาจารย์นิพนธ์ยกตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 4 มีความก้าวหน้ามากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีอธิการบดีที่อายุน้อย บทสรุป เช่นนี้ก็คงผิดพลาดเช่นกัน
อาจารย์นิพนธ์ยังพูดว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และทีมผู้บริหารควรมาจากหนุ่มสาวสาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวะและแพทย์ เพราะคนเหล่านี้กล้าคิดเรื่องใหม่ๆ กล้าทา กล้าทดลอง แถมยัง เป็นคนเก่งที่มีพลังมหาศาล การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับบอกว่าอาจารย์จากสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ไม่มี สิ่งเหล่านี้เลย การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับบอกว่าเสียงส่วนใหญ่ของชาวธรรมศาสตร์ที่เลือกอธิการบดีสาย สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ไม่มีความหมาย การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับบอกว่า ชาวธรรมศาสตร์เลือกอธิการบดี ไม่เป็น และหากอาจารย์นิพนธ์ดูข้อมูลเรื่องรองและผู้ช่วยอธิการบดีของผม อาจารย์นิพนธ์ก็อาจไม่เรียกร้อง อีกต่อไป เพราะทีมผู้บริหารจานวนมากของผมเป็นหนุ่มสาวและเป็นหนุ่มสาวที่มาจากคณะวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี คณะแพทย์ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ SIIT และคณะสหเวชศาสตร์ ฯลฯ
ผมอยากเรียนพวกเราเพิ่มเติมด้วยว่า แม้อธิการบดี มธ. ที่ผ่านมาจะไม่ได้มาจากสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี วิศวะ หรือการแพทย์ก็ตามแต่อธิการบดีทุกคนก็ตระหนักดีว่าสาขาวิชาเหล่านี้มีความสาคัญ เราจึงเห็นคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี จากคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีเป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม จากคณะเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้ก่อตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร จากคณะรัฐศาสตร์ที่มีบทบาทสาคัญในการตั้งสถาบันเทคโนโลยี นานาชาติสิรินธร ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ จากคณะนิติศาสตร์ ผู้ก่อตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ หรือแม้แต่ ในสมัยของผม ผมก็เป็นคนก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยแพทย์นานาชาติจุฬาภรณ์ ศูนย์ค้นคว้าและวิจัยยา ศูนย์เครื่องมือทดลองวิทยาศาสตร์ขั้นสูง หรือหากจะดูตัวชี้วัดด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวะและ การแพทย์ ตัวชี้วัดทุกตัวก็บ่งชี้ว่า มธ. กาลังก้าวไปในทิศทางนี้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนงบประมาณวิจัยที่เพิ่มจาก ไม่กี่ร้อยล้านเป็นพันล้าน จำนวนอาจารย์และบุคคลากรที่เพิ่มขึ้น จำนวนรางวัลด้านการวิจัยที่ได้รับมากขึ้นทุกปี จำนวนการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus เพิ่มจาก 547 ผลงานในปี 2555 เป็น 784 ในปี 2559 จานวนนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลมากกว่าทุกมหาวิทยาลัยที่ไปแข่งขันในต่างประเทศซึ่งล่าสุด มธ. ได้รางวัล grand prize ซึ่งไม่เคยมีใครได้มาก่อนในประเทศไทย
3. อาจารย์นิพนธ์เพ่งเล็งมาที่รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีในรอบ 13 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งก็คือในสมัย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ และผม และเรียกร้องให้รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีเหล่านี้อย่าได้รับตำแหน่ง ต่อไปในอนาคต ผมไม่แน่ใจว่าอาจารย์นิพนธ์มีข้อมูลแค่ไหนเพียงพอหรือไม่เพราะตอนที่ผมรับตำแหน่งต่อ จาก ศ.ดร.สุรพล ผมก็เปลี่ยนรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีไปเป็นจานวนมาก มากกว่าครั้งหนึ่งล้วนเป็น คนหนุ่มสาวหน้าใหม่ทั้งสิ้น และผมก็เชื่อว่า เมื่อแคนดิเดตคนใดคนหนึ่งในสองคนขึ้นแทนผม รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดีจานวนมากก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน
ในส่วนของอธิการบดีนั้น หากแคนดิเดทคนใดคนหนึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีเพราะเขาได้รับ คะแนนนิยมสูงสุดจากชาวธรรมศาสตร์ เพราะเขาเป็นคนมีความรู้ความสามารถ เพราะเขามีวิสัยทัศน์ เพราะเขากล้าตัดสินใจ เพราะเขามีประสบการณ์หลากหลายตาแหน่งที่จะช่วยมหาวิทยาลัยได้ อาจารย์นิพนธ์จะกีดกันเขาด้วยเหตุเพราะเขาเป็นรองอธิการบดีในช่วงที่ผ่านมากระนั้นหรือ
4. ระบบการสรรหาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นระบบที่ดีมาก เราเปิดให้มีการหยั่งเสียงเพื่อดู ความนิยมของประชาคม ในขณะเดียวกันเราก็ให้สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ชี้ขาด ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ร้อยละ 95 ของคณบดีล้วนแล้วแต่มาจากเสียงข้างมากของประชาคมทั้งสิ้น สำหรับอธิการบดีตั้งแต่อาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นต้นมา จนถึงสมัยของผม สภามหาวิทยาลัยก็เลือกอธิการบดีจากผู้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ของบุคคลากรสายต่างๆ โดยเฉพาะสายอาจารย์ ผมจึงไม่เข้าใจว่าอาจารย์นิพนธ์เอาข้อมูลเรื่องสภา มหาวิทยาลัยมักเลือกคณบดีจากคนเสียงข้างน้อยมาจากที่ใด
ผมรู้จักอาจารย์นิพนธ์ส่วนตัวมานาน เสียดายที่ตลอด 7 ปีที่ผมบริหารมหาวิทยาลัยผมพบเจอ อาจารย์นิพนธ์หลายครั้งหลายหน อาจารย์ไม่เคยแนะนำอะไรผมเลย ไม่เคยพูดเรื่องคนหนุ่มสาว ไม่เคยพูด เรื่องอาจารย์สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวะและการแพทย์ ไม่เคยพูดเรื่อง Ranking ไม่เคยพูดเรื่อง ทีมรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีของผม และผมแน่ใจว่าอาจารย์นิพนธ์ซึ่งสนิทกับ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เช่นเดียวกันก็คงไม่ได้ให้ข้อคิดแก่อาจารย์สุรพลแต่ประการใด
ผมหวังว่าจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ คงทาให้อาจารย์นิพนธ์ในฐานะนักวิชาการที่ผมเคารพนับถือ รวมทั้งคนอื่นๆ ได้มีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ธรรมศาสตร์ ได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง ได้เข้าใจ มธ. ยุคปัจจุบันที่อาจารย์นิพนธ์ห่างหายไปนาน
อ่านประกอบ:
การเลือกอธิการบดี มธ. คนใหม่ : จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์
หมายเหตุ ภาพประกอบศาสตราจารย์ดร.สมคิดเลิศไพฑูรย์ จาก http://waa.inter.nstda.or.th/stks/images-archived/somkid.jpg
ภาพตึกโดม ม.ธรรมศาสตร์ จาก https://blog.eduzones.com/images/blog/educationnews/20150506-1430900787.2982-3.jpg