'ร้องเรียนที่ไหน' เมื่อโดนรีดไถ พบเห็นพฤติกรรมคอร์รัปชัน
เมื่อโดนรีดไถหรือพบเห็นพฤติกรรมคอร์รัปชัน สามารถติดต่อได้ ดังนี้
1. ป.ป.ช. สายด่วน 1205
2. ป.ป.ท. (ศอตช.) สายด่วน 1206
3. สตง. โทรศัพท์ 02 2718000
4. สำนักนายกรัฐมนตรี สายด่วน 1111
5. คสช. สายด่วน 1299 และ ตู้ ปณ. 444
6. ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567 (ก. มหาดไทย)
7. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตประจำกระทรวง (ศปท.)
8. ร้องเรียนโดยตรงที่หน่วยงานนั้นๆ หรือ หน่วยงานต้นสังกัด
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการไปร้องเรียน :
1. หน่วยงานที่รับแจ้งปัญหาคอร์รัปชันมีหลายแห่ง แต่ตามกฎหมายแล้ว “ทุกคดีจากทุกหน่วยงานต้องส่งไปให้ ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. ดำเนินการทางคดี” ขณะที่ สตง. มีอำนาจให้ลงโทษทางวินัยและการมีคำสั่งทางปกครอง แต่ไม่รวมคดีอาญา
2. การมีหลายหน่วยงานรับร้องเรียนถือเป็นเรื่องดี ทำให้คนสามารถเลือกไปยังที่ตนสะดวกและไว้วางใจ โดยหน่วยงานเหล่านั้นควรแจ้งให้ประชาชนรับรู้ด้วยว่า เมื่อรับเรื่องแล้วขั้นตอนดำเนินการต่อไปเป็นอย่างไร ใช้เวลาแค่ไหน ผู้ร้องเรียนจะติดตามเรื่องได้อย่างไร
3. การยื่นเรื่องต่อ สตง. และ คสช. หรือหน่วยทหาร อาจช่วยให้เรื่องบางประเภทคลี่คลายเร็วขึ้นหรือหยุดความเสียหายได้ ขณะที่การร้องเรียนโดยตรงที่หน่วยงานอาจมีการตัดตอนช่วยเหลือกัน
4. พบได้เสมอว่า ผู้เดือดร้อนหรือพบเห็นการคอร์รัปชัน “มักไปยื่นเรื่องกับทุกหน่วยงาน” ที่ตนเชื่อว่าเป็นประโยชน์ เหตุนี้ทำให้ข้อมูลและสถิติของคดีในภาพรวมคลาดเคลื่อน หน่วยงานต่างๆ ทำงานซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองทรัพยากรและล่าช้า ขณะที่พยานหรือผู้ถูกสอบสวนก็เกิดภาระ เดือดร้อนรำคาญ
ปัญหานี้ รัฐควรศึกษาว่า ทำไมคนจึงยอมเสี่ยงภัย เสียเวลา เสียทั้งค่าเดินทางและค่าจัดทำเอกสาร เพื่อไปร้องเรียนยังที่ต่างๆ มากมาย แม้ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานนั้นจะมีอำนาจหน้าที่หรือไม่ อย่างเช่น รัฐสภา ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รวมถึงสำนักข่าวและองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายเลย
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากเจ้าพระยานิวส์