ครบทุกชื่อ กก.ปฏิรูปประเทศ11ด้าน กลุ่มทุนใหญ่-บิ๊กทหาร-คนกันเองเพียบ
เปิดหมดครบทุกชื่อ กก.ปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน กลุ่มทุน-นักธุรกิจใหญ่อื้อ-ทหารพรึบ-คนกันเองมาเพียบ! ‘เอนก’ ปธ.ด้านการเมือง ‘ธีรภัทร์’ ร่วมด้วย ปลัด มท. ปธ.ด้านบริหารราชการฯ ‘บัณฑูร ล่ำซำ’ก็มา ‘บวรศักดิ์’ ปธ.ด้าน กม. ‘ประสาร’ ปธ.ด้านเศรษฐกิจ ‘ชาติศิริ โสภณพนิช’ ร่วมด้วย ‘จิรชัย’ นั่ง ปธ.ด้านสื่อฯ-บิ๊กสื่อมาเพียบ
จากกรณีราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 สรุปสาระสำคัญได้ว่า การจัดทำแผนปฏิรูปประเทศเบื้องต้น 11 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม และด้านอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยให้มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศในแต่ละด้าน มีประธานฯ 1 คน และกรรมการไม่เกิน 13 คน ตามที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งนั้น
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2560 สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 บัญญัติให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนดในมาตรา 258ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอน การดำเนินการปฏิรูปประเทศ ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดาเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้แก่
ด้านการเมือง
1.ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นประธานฯ 2.ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3.นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ 4.รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ 5.พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) 6.พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย อดีต สปท. 7.นางนรรัตน์ พิมเสน อดีตเลขาธิการวุฒิสภา 8.นายวันชัย สอนศิริ ทนายความ อดีต สปท. 9.นางฐะปานีย์ อาจารยวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ 10.นายรวี ประจวบเหมาะ อดีต ผอสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
1.นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย (เกษียณ 30 ก.ย. 2560) เป็นประธานฯ 2.คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) 3.นายบัณฑูร ล่ำซำ นักธุรกิจชื่อดัง 4.ดร.พงศ์ศักดติฐ์ เสมสันต์ อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร 5.นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย 6.ดร.เบญจวรรณ สร่างนิทร อดีตเลขาธิการ ก.พ. 7.พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม 8.นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) 9.นายกานต์ ตระกูลฮุน นักธุรกิจชื่อดัง 10.ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอกนิกส์ 11.นายประหยัด พวงจำปา รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นกรรมการ 12.ดร.สุรพงษ์ มาลี สำนักงาน ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านกฎหมาย
1.ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่างรัฐธรรมนูญปี 2557 เป็นประธานฯ 2.ศ.พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ที่ปรึกษากฎหมายภาคเอกชน 3.นายคำนูญ สิทธิสมาน อดีต ส.ว.สรรหา อดีต สปท. 4.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ อดีต รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี 5.ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ 6.รศ.ดร.สุดา วิศรุตพิชญ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 7.นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ อดีต สว. และอัยการ 8.นายประภาส คงเอียด รองปลัดกระทรวงคมนาคม 9.พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการ 10.นายพีรพิชญ์ วงศ์วัฒนศานต์ กฤษฎีกา เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านกระบวนการยุติธรรม
1.นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาฯกฤษฎีกา เป็นประธาน 2.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต ผอ.สำนักนิติวิทยาศาสตร์ 3.นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 4.นายวันชัย รุจนวงศ์ อัยการ 5.ว่าที่ ร.ต.ถวัลย์ รุยาพร ทนายความ 6.นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ทนายความ 7.พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน 8.นายตระกูล วินิจนัยภาค อดีตอัยการสูงสุด (อสส.) 9.พล.ท.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการ 10.นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษา เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านเศรษฐกิจ
1.นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธานฯ 2.นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีต รมช.คมนาคม อดีตผู้ว่าฯ ธปท. 3.ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 4.นายอิสระ ว่องกุศลกิจ อดีตประธานหอการค้า 5.นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 6.นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ นักธุรกิจ 7.ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อดีต ผอ.สวทช. 8.ดร.สว่างธรรม เลาหทัย ภาคเอกชน 9.นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ 10.นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ 11.นางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.ดร.รอยล จิตรดอน อดีต ผอ.สสนก. เป็นประธานฯ 2.ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ ภาคประชาสังคม 3.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร ภาคประชาสังคม 4.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีต สปช. 5.พล.อ.เอกชัย จันทร์ศรี 6.นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน 7.นายภาวิญญ์ เถลิงศรี ภาคประชาสังคม 8.นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ภาคประชาสังคม 9.พล.ร.อ.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ 10.นายธีรพัฒน์ ประยูรสิทธิ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ 11.น.ส.ลดาวัลย์ คำภา เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านสาธารณสุข
1.นพ.เสรี ตู้จินดา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานฯ 2.นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข 3.นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย 4.ดร.สมชัย จิตสุชน 5.นายพาณิชย์ เจริญเผ่า 6.นพ.พลเดช ปิ่นประทีป 7.ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล 8.นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 9.ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์จุฬาฯ เป็นกรรมการ 10.ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล อาจารย์ ม.มหิดล เป็นกรรมการและเลขานุการก
ด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.นายจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ 2.พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร อดีต สปท. 3.นายธงชัย ณ นคร หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 4.นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 5.ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด อดีต สปช. ผู้บริหารเดลินิวส์ทีวี 6.ร.อ.ประยุทธ์ เสาวคนธ์ 7.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อ คอลัมนิสต์ชื่อดัง 8.นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ 9.นายสุทธิชัย หยุ่น เครือเนชั่น 10.นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ เป็นกรรมการ 11.ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ อดีตบอร์ด อสมท อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านสังคม
1.นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ (สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธานฯ 2.นพ.อำพน จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 3.ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ 4.นายต่อพงศ์ เสลานนท์ 5.นายวิเชียร ชวลิต 6.ดร.วินัย ตะห์ลัน 7.นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ 8.นายสมเดช นิลพันธ์ อดีตอธิบการบดี มรภ.นครปฐม 9.นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน 10.พล.อ.รณชัย มัญชุสุนทรกุล อดีต ผอ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) 11.นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ 12.นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นกรรมการ นางชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ อดีตรองเลขาธิการ สศช. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านพลังงาน
1.นายพรชัย รุจิประภา อดีต รมว.ไอซีที (สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์) เป็นประธานฯ 2.นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ 3.นายมนูญ ศิริวรรณ ภาคประชาชนกลุ่มปฏิรูปพลังงาน 4.ศ.ดร.ดุสิต เครืองาม อดีต ส.ว. (น้องชายนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี) 5.ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ 6.ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รมว.พลังงาน (สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์) 7.พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช 8.นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ 9.นานยดนุชา พิชยนันท์ เป็นกรรมการ 10.นายกวิน ทังสุพานิช อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
1.นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ อดีตประธาน ป.ป.ช. เป็นประธานฯ 2.นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตกรรมกา ป.ป.ช. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 3.พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีต สปท. 4.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อดีต กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญปี 2557 ที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ 5.นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. 6.ดร.มานะ นิมิตมงคล ภาคธุรกิจ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) 7.นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. 8.นายวิชัย อัศรัสกร 9.พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ อดีต ส.ว. 10.นายอนุสิษฐ คุณากร อดีต ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ 11.ดร.อุทิศ ขาวเธียร สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นกรรมการ 12.นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านดังกล่าว คือ ต้องจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศในด้านที่รับผิดชอบให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และเสนอที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน หลังจากนั้นจึงเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกันภายใน 30 วัน หลังจากนั้นให้เสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน
เพื่อประโยชน์ในการติดตามผล ให้หน่วยงานของรัฐรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายในเวลาที่กำหนด และให้สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปผลเสนอต่อที่ประชุมร่วม และเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะรัฐมนตรี หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และรัฐสภาทราบภายใน 90 วัน
กรณีความปรากฏต่อคณะกรรมการปฏิรูปคณะใดว่า การดำเนินการใดของหน่วยงานรัฐไม่สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ กรณีเป็นหน่วยงานรัฐฝ่ายบริหาร ให้คณะกรรมการปฏิรูปคณะนั้นประสานงานหรือหารือหน่วยงานรัฐดังกล่าว หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแก้ไขปรับปรุง กรณีไม่อาจหาข้อยุติร่วมกันได้ ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณา เพื่อปฏิบัติตามนั้น
กรณีเป็นหน่วยงานรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติประสานกับหัวหน้าหน่วยงานรัฐนั้น ๆ ปรับปรุงแก้ไข และให้ดำเนินการตามที่ตกลงร่วมกัน และรายงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
(อ่าน พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ฉบับเต็ม ที่นี่)