อิศราแสดงข้อมูล 10 จังหวัดแรกที่แรงงานต่างด้าวทำงานอยู่มากสุด
สำนักข่าวอิศรา ค้นตัวเลข ณ เดือนพฤษภาคม 2560 กิจการ-อาชีพที่คนต่างด้าวไปทำงาน พร้อมแสดงข้อมูลการกระจายอยู่ของแรงงานจังหวัดไหนมากสุด 10 จังหวัดแรก
จากกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่ง ม.44 แก้ไขพ.ร.ก.การบริหารจัดการของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 โดยชะลอการบังคับใช้ 4 มาตรา ประกอบด้วยมาตรา 101 มาตรา 102 มาตรา 119 และมาตรา 122 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 นั้น (อ่านประกอบ:ม.44 ทางการ ชะลอ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว ให้ 4 มาตรามีผลบังคับใช้ ม.ค.61 )
ช่วงที่กฎหมายสำแดงฤทธิ์ มีการไล่จับจริง โดยแรงงานผิดกฎหมายวิ่งฝุ่นตลบกลับประเทศตัวเอง จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย เกิดมีสุญญากาศด้านแรงงาน ซึ่งเป็นที่มาให้รัฐบาลต้องใช้ ม.44 ให้เวลาแรงงานต่างด้าวกลับประเทศต้นทาง ทำเรื่องที่ประเทศตัวเองให้ถูกกฎหมายเสียก่อน แล้วค่อยกลับเข้ามา
ขณะที่ตัวเลขจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น ภาครัฐเองก็ยังไม่มีตัวเลขที่แท้จริงว่า อยู่ที่จำนวนหลักล้านคน หรือจำนวนหลายล้านคน ซึ่งมีคำยืนยันจาก นายวรานนท์ ปีติวรรณ์ อธิบดีกรมจัดหางาน ที่เคยระบุถึงตัวเลขช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการนำเข้าแรงงาน ผ่านระบบ MOU มีตัวเลขแรงงานที่แน่นอนแล้ว ประมาณ 4 แสนคน
"วันนี้ตัวเลขแรงงานต่างด้าว เข้ามาที่ด่านสามด่าน วันละ 1,000 คน เข้าทุกวัน เดือนละ 3 หมื่นคน"
ส่วนที่มีการพูดมาว่า มีไม่ต่ำกว่าสองล้านคนที่เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอยู่ ตกหล่นเป็นล้านคนนั้น อธิบดีกรมจัดหางาน ยอมรับ ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนรู้ว่า บ้านเรามีแรงงานผิดกฎหมายเท่าไหร่ แต่เชื่อว่า ตัวเลขไม่น่าจะเกินล้านคน
ขณะที่สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ข้อมูลประจำเดือน พฤษภาคม 2560 จัดเก็บโดยสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ระบุว่า คนต่างด้าวจากประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน (ASEAN) 9 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิ ลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมา) ที่ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรไทย ประกอบด้วยตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ประกอบด้วย
1. คนต่างด้าวตลอดชีพ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
2. คนต่างด้าวมาตรา 9 ประเภททั่วไป คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. คนต่างด้าวมาตรา 9 พิสูจน์สัญชาติ (เดิม) คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองได้รับการผ่อนผันให้ทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะการเข้าเมืองถูกกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
4. คนต่างด้าวมาตรา 9 นำเข้าตาม MOU คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลประเทศต้นทาง
5. คนต่างด้าวมาตรา 12 ประเภทส่งเสริมการลงทุน คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520) หรือกฎหมายอื่น ได้แก่ พระราชบัญญัตินิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เช่น นักลงทุน ช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ
6. คนต่างด้าวมาตรา 13 ประเภทชนกลุ่มน้อย คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และกระทรวงมหาดไทยได้ออกเอกสารเพื่อรอพิสูจน์สถานะยื่นขอใบอนุญาตทำงาน
7. คนต่างด้าวมาตรา 14 คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานบริเวณชายแดนในลักษณะไป – กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับประเทศที่ติดกับราชอาณาจักรไทย
8. คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) หมายถึง แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ในตำแหน่งกรรมกร หรือ คนรับใช้ในบ้าน ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา เพื่อทดแทนแรงงานไทยที่ขาดแคลน รวมถึงแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองได้รับการปรับสถานะเป็นเข้าเมืองถูกกฎหมายได้รับอนุญาตทำงาน
ณ เดือน พฤษภาคม 2560 คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร มีจำนวนทั้งสิ้น 1,481 ,535 คน
จำแนกตามลักษณะการเข้าเมืองสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
มาตรา 9 จำนวน 1,369,945 คน
- ตลอดชีพ 241 คน
- ประเภททั่วไป 102,033 คน
- พิสูจน์สัญชาติ 855,575 คน
- นำเข้าตาม MOU 412,096 คน
มาตรา 12 ส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายอื่นๆ 43,848 คน
มาตรา 13 ชนกลุ่มน้อย 53,776 คน
มาตรา 14 คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะ ไป-กลับหรือตามฤดูกาล 13,966 คน
มาตรา 9 ประเภททั่วไป
ประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. ผู้จัดการฝ่ายอื่นๆ 36,092 ตำแหน่ง
2. ผู้ประกอบอาชีพด้านการสอน 23,642 ตำแหน่ง
3. กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง 22,803 ตำแหน่ง
มาตรา 12 ประเภทส่งเสริมการลงทุน
ประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. ผู้จัดการฝ่ายอื่นๆ 22,939 ตำแหน่ง
2. ช่างเทคนิคด้านต่างๆ 4,535 ตำแหน่ง
3. สถาปนิก วิศวกร 4,500 ตำแหน่ง
มาตรา 13 ประเภทชนกลุ่มน้อย
ประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. งานกรรมกร 44,919 ตำแหน่ง
2. งานทำสวนผักและผลไม้ 2,385 ตำแหน่ง
3. งานซักรีดเสื้อผ้า 239 ตำแหน่ง
แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา)
ณ เดือนพฤษภาคม 2560 แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ได้รับอนุญาตทำงานตาม มาตรา 9 มีทั้งสิ้น 1,267,671 คน สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
- ประเภทพิสูจน์สัญชาติ 855,575 คน
- นำเข้าตาม MOU 412,096 คน
งานที่ได้รับอนุญาตทำงานใน 2 ตำแหน่งงาน คือ งานกรรมกร และงานรับใช้ในบ้าน ใน 24 ประเภทกิจการ
ประเภทพิสูจน์สัญชาติ
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. กิจการก่อสร้าง 153,127 คน
2. การให้บริการต่างๆ 119,671 คน
3. เกษตรและปศุสัตว์ 112,851 คน
ประเภทนำเข้าตาม MOU
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. การให้บริการต่างๆ 85,050 คน
2. กิจการก่อสร้า 71 ,382 คน
3. กิจการต่อเนื่องการเกษตร 59,296 คน
มาตรา 14 คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะ ไป-กลับหรือตามฤดูกาล 13,966 คน
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. เกษตรและปศุสัตว์ 5,624 คน
2. กิจการก่อสร้าง 2,064 คน
3. ประมง 1 ,576 คน
หมายเหตุ : คนต่างด้าวประเภทตลอดชีพ สำรวจเมื่อ 3 มีนาคม 2560 ไม่รวมยอดการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว One Stop Service ทั่วประเทศ (เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)
อ่านประกอบ
วิษณุ แจงขยายใช้ 4 มาตราในพ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว ออกไป 6 เดือน
นักวิชาการ หนุนจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวถาวร ยันเปิดเป็นรอบๆไม่ใช่ทางออก
ตกค้างเป็นล้าน เอ็นจีโอ หวั่นนายจ้างเลือกจ่ายส่วย หลังรัฐไม่ขยายจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวใหม่
กกร.ขอก.แรงงาน เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทั่วประเทศอีกครั้ง
กกร.ยื่น 4 ข้อคิดเห็น สนช.ทบทวน พ.ร.ก.ต่างด้าว-จี้เปิดจดทะเบียนเเรงงานผิด กม.อีกรอบ
เครือข่ายปชก.ข้ามชาติ จี้รัฐทบทวน พรก.จัดการแรงงานต่างด้าว หลังพบนายจ้างทิ้งลูกน้อง