เครือข่ายนักวิชาการ ร่อนจม. วอนยุติรื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เสนอกทม. ทำพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม ร่อนจดหมายเปิดผนึก วอน กทม.ยุติรื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เสนอปรับปรุงส่วนที่เหลือเป็นพิพิธภันฑ์มีชีวิต ยินดีให้ความร่วมมือด้านวิชาการเต็มที่
(ป้ายไวนิลของกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าป้อมมหากาฬ)
วันที่ 6 ก.ค. 60 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม ร่อนจดหมายเปิดผนึก เรื่อง ข้อเสนอแนะ ทางออก แก้วิกฤติชุมชนป้อมมหากาฬ ลงวันที่ 5 ก.ค.60 โดยรายละเอียดในจดหมายฉบับนี้ระบุว่า หลังจากที่มีความขัดแย้ง กรณีการรื้อป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำสวนสาธารณะ มีคณะกรรมการสามฝ่ายขึ้นมาเพื่อ ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยให้ความสำคัญ กับ กระบวนการการมีส่วนร่วม มีการเจรจากับ กรุงเทพมหานครโดยหลายฝ่ายและ องค์กรอิสระอย่างต่อเนื่องและมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับโดยได้รับความร่วมมือจาก นักวิชาการหลายสาขาทั้งประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และนักกฎหมาย นักวิชาการจากหลายสถาบันการศึกษา ทำให้ได้ข้อมูลท่ีมีคุณค่าและมีประโยชน์อย่าง ยิ่งต่อสาธารณะทั้งด้านประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมด้านคุณค่าวิถีชีวิตสังคมและชุมชนและด้านโบราณคดี
อย่างไรก็ตาม ในความพยายามเพื่อหาทางออกในการแก้วิกฤติครั้งนี้ยัง มีบางประเด็นที่ยังไม่สามารถสรุปข้อตกลงร่วมกันได้ ในฐานะของเครือข่ายนักวิชาการนักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม ซึ่งมีความห่วงใยและมีความเห็นว่า กรณีชุมชนป้อมมหากาฬเป็นเรื่องสาคัญของสังคมไทย เพราะ “ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นแหล่งสุดท้ายของชุมชนชานเมืองพระนครที่เหลืออยู่” จึงมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
1.เนื่องจากมีการรื้อย้ายบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬไปแล้ว จำนวนหน่ึ่ง และบ้านที่ยังคงเหลือมีจานวนไม่มากจากการสำรวจทางวิชาการและการลงพื้นที่ร่วมกันทุกฝ่ายพบว่ามีความเชื่อมโยงทางคุณค่าทั้ง4ด้าน ดังนั้น เพื่อการอนุรักษ์จึง “ขอให้ ยับยั้งการรื้อย้ายบ้านที่เหลืออยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬท้ังหมด”เพราะคุณค่าของชุมชนป้อมมหากาฬให้เป็นสวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑท์มีชีวิตจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมี“พื้นที่”“บ้าน”และ“ผู้คนดั้งเดิม” ซึ่งจะทำหน้าที่อนุรักษ์และสามารถดำรงวิถี ชีวิตชุมชนต่อไปได้ด้วย
2.ก่อนที่จะมีสรุปข้อตกลงร่วมกัน ขอให้มีการจัดทำรายละเอียดที่ชัดเจนในเรื่องระบบการบริหารจัดการร่วมกัน ทั้ง “พื้นที่” “บ้าน” และ “ผู้คนดั้งเดิม” ที่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของชุมชน และ สอดคล้องกับแผนงานของกรุงเทพมหานคร โดย คำนึงความเป็นธรรมและเหมาะสมต่อทุกฝ่าย
3.การแก้ไขความขัดแย้ง กรณีชุมชนป้อมมหากาฬได้สำเร็จจะเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นบทพิสูจน์ในระยะเปลี่ยนผ่าน ไปสู่สังคมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ในสังคมไทยที่มีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ท้ังรัฐบาล กรุงเทพมหานคร นักวิชาการองคก์รอิสระ และการให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง
4.ขอให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ที่กำลังมีคณะทำงานทบทวนโครงการรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตได้พิจารณากรณีชุมชนป้อมมหากาฬอย่างเร่งด่วนโดยคำนึงถึงวิถิชีวิตของคนและชุมชนเป็นตัวตั้ง
ด้านเครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม (ตามรายชื่อแนบท้าย) ยังระบุด้วยว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุง รัตนโกสินทร์ รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร จะร่วมกับภาคประชาสังคม นักวิชาการ และชุมชนป้อมมหากาฬ ดำเนินการแก้ไข ปัญหาได้ลุล่วงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและงดงามคู่กับสังคมไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เครือข่ายชุมชนป้อมมหากาฬ ค้านเวนคืนที่ดิน เสนอรัฐจัดการพื้นที่ร่วมกับชุมชน
MAHAKAN VERNADOC จากเส้นสายสู่เป้าหมาย อนุรักษ์บ้านเก่า ‘ป้อมมหากาฬ’
มหากาพย์-มหากาฬ ชุมชนหลังกำแพงแห่งสุดท้ายที่เหลืออยู่
ชุมชนป้อมมหากาฬ แถลงขอให้ทหารเป็นคนกลางเจรจารื้อย้าย