รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
เมียนมา ปฏิเสธให้เจ้าหน้าที่ยูเอ็นเข้าสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา ซูจี เผย การยอมรับข้อตกลง ยิ่งทำให้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ด้านรองประธานาธิบดี ชี้ที่ผ่านมารัฐบาลจัดการเรื่องนี้อยู่เเล้ว
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 60 ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาซึ่งนำโดย นางอองซาน ซูจี ได้ออกมาแถลง ปฏิเสธการให้ความร่วมมือในความแก้ปัญหาเรื่องโรงฮิงยาของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่มีการพูดคุยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
นาย Kyaw Zeya เลขาธิการประจำกระทรวงการต่างประเทศ เมียนมา กล่าวว่า หาทางยูเอ็นส่งคนเข้ามาเพื่อมาตรการดังกล่าว เราก็ไมมีเหตุผลอะไรที่จะอนุญาตให้พวกเขาเข้ามา
ด้านนางอองซาน ซูจี ซึ่งเข้ามาดำรงในตำแหน่งที่ปรึกษารัฐและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากรัฐบาลทหาร เผชิญหน้ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรงฮิงยาในรัฐยะไข่ ส่งผลให้มีชาวโรงฮิงยากว่าล้านคนต้องอพยพออกจากพื้นที่ ขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ในรัฐยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธ และชาวเมียนมาส่วนใหญ่ กลับมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์โรงฮิงยาคือกลุ่มผู้อพยพจากบังคลาเทศไม่ใช่คนเมียนมา
นางซูจี กล่าวระหว่างการเยือนประเทศสวีเดนในภารกิจของยูเอ็น ว่าการทำตามข้อเรียกร้องของยูเอ็นรังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าชุมชน
มีรายงานว่าเมื่อปีที่เเล้ว มีชาวโรงฮิงยากว่า 75,000 คนอพยพไปยังบังคลาเทศหลังจากมีการปะทะอย่างรุนแรงจากฝ่ายทหารที่อ้างว่า เหตุฆ่าเจ้าหน้าที่9 นายที่ชายแดนเป็นฝีมือชาวโรงฮิงยา หนึ่งในชาวโรงฮิงยาซึ่งอพยพออกมากล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพวกเขานั้นคือสิ่งที่ขัดต่อมนุษยธรรมร้ายแรงเพราะนี่คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พวกเขา
รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธที่จะเข้าร่วมภารกิจด้านมนุษยชนที่มีการตกลงในช่วงมีนาคม โดยสหภาพยุโรปเป็นเจ้าภาพในการพูดคุย เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์โรงฮิงยาในรัฐยะไข่ ขณะเดียวกัน นางIndira Jaising ทนายประจำศาลฎีกาอินเดีย ประกาศสนับสนุนและจะดำเนินการในเรื่องนี้ พร้อมกับความสนับสนุนจากสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ อีกสองคน ได้แก่ ทนาย Radhika Coomaraswamy จากศรีลังกา และ นายChristopher Dominic จากออสเตรเลีย
ขณะที่นายMyint Swe รองประธานาธิบดี กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมามีการสอบสวนประเด็นนี้อยู่เเล้ว ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้ว และไม่เข้าใจว่าทำไมยูเอ็นถึงพยายามกดดันในเรื่องนี้ ในเมื่อเครื่องมือการสอบสวนในประเทศก็ดีอยู่เเล้ว.
ที่มาข่าว
http://www.reuters.com/article/us-myanmar-rohingya-un-idUSKBN19L0CP?utm_campaign=trueAnthem:+Trending+Content&utm_content=5955e30804d3014b93388407&utm_medium=trueAnthem&utm_source=twitter