ไม่ต้องจ่าย9พันล.!การทางพิเศษฯชนะแพ่งคดีค่าโง่ทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง
พนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง แก้ต่างสู้คดีให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ชนะคดีในชั้นศาลฎีกา กรณีกิจการร่วมค้าบีบีซี ฟ้อง สืบเนื่องจากการก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ทำให้รัฐไม่ต้องจ่ายเงินจำนวน 9,683 ล้านบาทเศษ
เรือโท สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับแจ้งจากนางอัมราวดี ศัลยพงษ์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีแพ่ง ว่าศาลฏีกาได้ตัดสินคดีสำคัญที่พนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด ทำหน้าที่แก้ต่างต่อสู้คดีให้ทางพิเศษแห่งประเทศไทย
โดยเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาของศาลฏีกา ที่ 1190/2560 คดีระหว่าง กิจการร่วมค้าบีบีซีดี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นจำเลย คดีดังกล่าวพนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง เป็นผู้แก้ต่างคดีให้กับการทางพิเศษฯ ตามคดีหมายเลขดำที่ 721/2551 มูลลาภมิควรได้ จำนวนทุนทรัพย์ 7,683,686,389.76 บาท โดยศาลฎีกาพิจารณาแล้วได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยชนะคดี) การตัดสินของศาลฎีกาที่ให้การทางพิเศษแห่งประเทศ ชนะคดีดังกล่าว ศาลฎีกาได้วินิจฉัยโดยสรุปว่า พฤติการณ์ของโจทก์กับพวกถือได้ว่า โจทก์กับพวกทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวก่อสร้าง กับจำเลยโดยไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้น โจทก์จึงมีส่วนร่วมในการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นผลให้สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างไม่มีผลผูกพันจำเลย แม้โจทก์กับพวกจะทำงานตามสัญญาจนเสร็จสิ้นและจะส่งมอบโครงการทางด่วน โดยมีราคาคงที่เพิ่มเติมในภายหลังก็ตามราคาคงที่เพิ่มเติมดังกล่าวก็ถือว่าโจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกราคาที่เพิ่มเติมและค่าดอกผลจากจำเลย ฐานลาภมิควรได้ ตามาตรา 411
การที่พนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง เข้าไปแก้ต่างต่อสู้คดีให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจนชนะคดีดังกล่าว ถือเป็นการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินในการที่จะรักษาผลผระโยชน์ของรัฐจากการแก้ต่างและสู้จนชนะในชั้นศาลฏีกาเป็นผลทำให้รัฐไม่ต้องจ่ายเงิน จำนวน 9,683 ล้านบาทเศษ
ความเป็นมาของคดีนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2538 การทางพิเศษฯจำเลย ได้ว่าจ้าง กิจการร่วมค้าบีบีซีดีโจทก์และบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) ก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกงในวงเงินตามสัญญา 25,192,750,000 บาท โดยได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและการทางพิเศษฯได้ขำระค่าก่อสร้างตามสัญญาแล้วแต่ต่อมา ปี 2543 โจทก์และบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) ได้เรียกให้การทางพิเศษฯชำระเงินค่าคงที่ที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาอีกจำนวน 6,034,893,254 บาท แต่การพิเศษฯปฏิเสธ โจทก์กับบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2544 อนุญาโตได้ชี้ขาดให้การทางพิเศษฯ ชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2543 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จตามที่เรียกร้อง
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธคำชี้ขาดดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรี
ครั้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 โจทก์กับบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ให้พิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ การทางพิเศษฯจึงส่งเรื่องให้สำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นทนายแก้ต่างยื่นคัดค้านในคดีดังกล่าว ซึ่งต่อมาศาลแห่งกรุงเทพใต้ได้พิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ชนะคดี และบังคับให้เป็นไปตามวินิจฉัยขออนุญาโตตุลากร
พนักงงานอัยการจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามขั้นตอนของกฎหมายและต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ 7272/2547 ให้การทางพิเศษฯ ชนะคดีไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้กับโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันการทางพิเศษฯ หากศาลบังคับคดีให้การทางพิเศษฯ ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หลังจากโจทก์แพ้คดีดังกล่าวตามคำพิพากษาฎีกาที่ 7272/2549 แล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 กิจการร่วมค้าบีบีซีดี ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องทางการพิเศษฯ เป็นคดีใหม่ต่อศาลแพ่งตามคดีคำที่ 72/2551 ในมูลคดีลาภมิควรได้ ทุนทรัพย์ 9,683,686,389.76 บาท และมีพนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง ได้แก้ต่างให้กับการทางพิเศษฯ โดยคดีดังกล่าวศาลแพ่งพิพากษาเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2555 ให้การทางพิเศษฯ แพ้คดีชำระเงินจำนวน 5,000,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์และให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมค่าทนายแทนโจทก์จำนวน 300,000 บาท
พนักงงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง จึงยื่นอุทธรณ์ให้กับการทางพิเศษฯ คัดค้านคำพิพากษาศาลแพ่งและต่อมาในวันที่ 27 ธันวาคม 2551 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับยกฟ้องโจทก์ต่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาอุทธรณ์พนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง ได้แก้ฎีกาให้กับการทางพิเศษแล้ว และเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 ศาลฎีกาได้พิจารณาแล้วมีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์โดยให้ยกฟ้องโจทก์ดังกล่าวข้างต้น
เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีสำคัญ ที่สื่อมวลชนและประชาชนให้วามสนใจติดตามตั้งแต่มาโดยตลอดจึงเรียนผลคดีมาเพื่อทราบโดบทั่วกันวาระการประชุมที่สำคัญ คือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดคนต่อไป เนื่องจากร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร จะพ้นตำแหน่งอัยการสูงสุดในวันที่ 30 กันยายน 2560