สมาคมโฆษณาฯแถลงกรณีช่อง5,7 ตั้งชมรมเซ็นเซอร์เพิ่ม ทำ2 มาตรฐาน
สมาคมโฆษณาฯแถลงกรณี ช่อง5, 7 จะจัดตั้งชมรมตรวจพิจารณาภาพยนต์โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ ชี้ผิด MOU เดิมที่ต้องเชิญทุกช่องร่วมตัดสิน เกิด 2 มาตรฐานเซ็นเซอร์
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.60 สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์กรณีสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จะจัดตั้ง “ชมรมตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ (ประเทศไทย)”
ทางสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานร่วมกับ สมาพันธ์สมาคมวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และสมาคมโทรทัศน์ ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) เป็นตัวแทนออกแถลงการณ์กรณีที่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีการจะจัดต้ัง “ชมรมตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ (ประเทศไทย)” และประกาศจะมีการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ ในวันที่ 28 มิถุนายน 2560 ทั้งที่มีตารางการเซ็นเซอร์โดย คณะกรรมการตรวจพิจารณาเดิมในวันดังกล่าว
อีกทั้งไม่ได้แจ้งให้ทางสมาคมโฆษณาที่เป็นผู้ประสานงานรับทราบ
ทางสมาคมโฆษณาจึงตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิบัติดังกล่าวขัดแย้งกับข้อตกลง (MOU) ที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง รวมถึงสถานีโทรทัศน์ ในระบบดิจิทัลได้ร่วมกันลงนามไว้ร่วมกับองค์กรวิชาชีพที่เก่ียวข้องกับโฆษณารวม 10 องค์กร เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 โดยยึดหลักการที่ว่า ประเทศไทยควรมีช่องทางตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ เพียง 1 ช่องทาง เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ และเพื่อรองรับการมีส่วน ร่วมของสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล และตอกย้ำการกำกับดูแลตนเองของวิชาชีพโฆษณา
การแยกกันจัดต้ังคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ โฆษณาทางโทรทัศน์ (เซ็นเซอร์) จากเดิมที่มีหนึ่งหน่วยงานคือคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์โดยมีผู้แทนจากสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3, 5, 7, 9 และสมาคมโฆษณาฯ ดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากต่อผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาโดยรวม เนื่องจากจะเกิดความเป็นสองมาตรฐานในการตรวจพิจารณาผู้โฆษณาเจ้าของสินค้าต่างๆ และเอเยนซี่เกิดความสับสนสิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายในการขออนุญาต
ด้านน.ส. อ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของแถลงการณ์ฉบับนี้นี้ว่า หลังจากการลงนาม MOU ร่วมกัน คร้ังที่ 2 ในปี พ.ศ. 2557 ทางสมาคมโฆษณาฯได้มีการจัดประชุมกับตัวแทน สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง สถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล และองค์กรวิชาชีพ เรื่อยมาเพื่อหาข้อสรุปเพื่อจัดตั้ง “คณะกรรมการกากับนโยบายด้านการตรวจ พิจารณาโฆษณาทางโทรทัศน์” ที่จะมีกฎเกณฑ์เป็นมาตรฐานเดียวในการตรวจพิจารณาซึ่งจะง่ายต่อผู้ปฏิบัติวิชาชีพและท้ังสถานีโทรทัศน์
"เราได้ข้อสรุปแล้วว่าจะประกอบด้วย ผู้แทนจากสถานีหลักเดิมได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, MCOT, ผู้แทนจากโทรทัศน์ดิจิทัลที่แต่งตั้งโดยสมาคมโทรทัศน์ดิจิทัล 2 ช่อง ผู้แทนจากโทรทัศน์ดิจิทัลที่แต่งตั้ง โดยสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ฯ 2 ช่อง และผู้แทนจากสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย (ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการฯ) รวม 9 ท่าน แต่สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และช่อง 7 ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุมตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 2 และได้มีการจัดตั้งชมรมเซ็นเซอร์ดังกล่าวขึ้นโดยไม่เชิญสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และ ช่อง 9 สมาคมโฆษณาฯ และ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย)เข้าร่วม ทางสมาคมโฆษณาฯต้องการให้สถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 และ ช่อง 7 ออกมาชี้แจงให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการ อย่างไรโดยไม่รวมสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นและองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเข้า มามีส่วนร่วม และจะดำเนินการอย่างไรไม่ให้เกิดความเป็นสองมาตรฐานขึ้น ในหลักการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาโทรทัศน์ของประเทศไทย"
น.ส.อ่อนอุษา กล่าวถึงผลกระทบของการมี2มาตรฐานในการเซ็นเซอร์ต่อธุรกิจโฆษณาว่า ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสินค้า หรือ เอเจนซี่ รวมถึงผู้บริโภคเอง จะสับสนในมาตรฐานการโฆษณาสินค้าที่ไม่เหมือนกัน ภาพยนตร์โฆษณา 1 เรื่องส่วนใหญ่ก็ออกอากาศหลายช่อง ถ้าต้องยื่นขออนุมัติจากท้ัง 2 องค์กร ก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากข้ึน และสิ้นเปลือง เวลามากขึ้นมาก
นอกจากนี้จะเกิดสถานการณ์สถานีโทรทัศน์บางช่อง จะได้รายได้จากโฆษณาสูงกว่าอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเซ็นเซอร์ผ่านง่ายกว่า การมีมาตรฐานเดียวจะทำให้กติกาชัดเจน โปร่งใส และเป็นหลักที่ผู้ประกอบการธุรกิจ เอเจนซี่ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยึดถือและปฏิบัติตามได้