กด Like กด Share เป็นความผิดทางอาญาได้หรือไม่
ในทางทฤษฎีกฎหมายอาญา จึงไม่อาจจะถือได้ว่า กด Like เป็นความผิดทางอาญาได้ ยกเว้นว่า จะไปออกกฎหมายมาเฉพาะเลย เช่น ผู้ใดกด Like ข้อความ xxx ต้องระวางโทษประหารชีวิต อะไรก็ว่าไป
ผมฟันธงทันทีว่า กด Like ไม่มีทางจะมีความผิดทางอาญาใด ๆ ได้เลย ส่วนกด Share คงต้องดูเนื้อหาที่แชร์ก่อนว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น ท่านที่จะ Share อะไร ก็อาจจะต้องระวังนิดนึง
ที่จริง การ Share อะไร ของคนเราส่วนใหญ่ บางที ก็เห็นหัวข้อดี และมีการ Share โดยไม่ได้ดูว่าเนื้อใน มีอะไรบ้าง กะว่าจะมาอ่านที่หลัง กรณีนี้อย่างนี้ ก็มีให้เห็น ผมเองเมื่อก่อน ก็เคยทำ คือ แชร์ไว้ก่อน เดี๋ยวมานาน เพราะกลัวว่ามันจะหายไป Feed เยอะแยะ กลับมาหาไม่เจอ ก็แชร์ไว้ ไม่ใช่อยากจะหรือมีวัตถุประสงค์อะไรพิเศษหรอก ไม่อยากหมิ่นประมาทใครอะไรอย่างไรหรอก
กลับมาประเด็น Like คือ การกระทำผิดหรือไม่ ก็ต้องย้อนกลับไปดูหลักการกระทำตามหลักกฎหมายอาญา คืออะไร หลักกฎหมายอาญา มีง่าย ๆ คือ ความรับผิดทางอาญา จะต้องมีการกระทำ และมีเจตนากระทำ และการกระทำนั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดเสมอ ๆ
การกระทำที่จะต้องรับผิด นอกจากกระทำโดยตัวเอง และยังมีอาจจะความรับผิด โดยตนเองไม่ได้กระทำด้วยตนเอง เช่น การเป็นตัวการร่วม การช่วยเหลือสนับสนุนผู้อื่นกระทำผิด เป็นต้น
หลักการประการสำคัญที่สุด คือ หลักกฎหมายอาญาจะต้องตีความเคร่งครัด คือ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติชัดแจ้งว่าผิด ต้องตีความเป็นคุณเสมอ ๆ และจะนำหลักกฎหมายทั่วไป หลักกฎหมายประเพณี หรืออะไรต่อมิอะไรมาตีความขยายความผิดตามกฎหมายอาญาไม่ได้
กลับมาประเด็น กด Like ง่าย ๆ ปุ่มใน FB ก็มีแค่ Like กับรูปหัวใจนั่นแหละ ไม่มีปุ่มอื่น ๆ เช่น ปุ่ม Unlike หรือ ปุ่ม Acknowledge, Copy หรือ เฉย ๆ ไม่มีสักหน่อย ดังนั้น การกดไลค์ จึงไม่อาจจะแปลว่า เห็นด้วยกับข้อความนั้นเสมอไป คือ เราไม่สามารถทราบความในใจของผู้กด Like ในขณะนั้นได้เลยแม้แต่น้อย
การกระทำผิด คือ Actus Reus ต้องมีการ Conduct ที่รู้สำนึกโดยสมัครใจ และต้องมีองค์ประกอบในส่วนจิตใจ หรือ Mens rea ในขณะที่กด Like (ซึ่งใครจะไปรู้) ว่ามีเจตนา หรือความรับรู้กับข้อความนั้นอย่างไร เพราะการกดไลค์ อาจจะแค่ว่า มาเยี่ยมชมเพจเพื่อนเราเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ่านห่ามอะไรเลย เป็นต้น การที่รัฐ หรือโจทก์จะดำเนินคดีกับคนกด Like จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องพิสูจน์ว่า ในขณะที่ จำเลยกำลังเอื้อมมือไปกดปุ่ม Like นั้น จำเลยมี Mens rea หรือองค์ประกอบทางจิตใจอย่างไร คือ ต้องดูในเวลาเดียวกันกับที่กระทำ จะไปมั่ว ๆ กับการกดไลค์ครั้งก่อน ๆ แล้วมา Infer หรือสรุปมั่ว ๆ ไปไม่ได้ ในทางกฎหมายอาญา ไม่ยอมรับ จำไว้จะครับท่าน Actus Reus กับ Mens Rea ต้องดูแบบ Concurency คือ ต้องเกิดขึ้นในเวลานั้น ไม่ใช่สรุป หลาย ๆ อันมามั่วว่าเป็น เจตนาของเขา
นอกจากการกดไลค์ จะตีความได้หลายนัยยะแล้ว ในทางกฎหมาย ยังไม่อาจจะถือว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดได้ เพราะหากการเขียนนั้น เป็นการกระทำทีผิดกฎหมายละก็ ก็เป็นการกระทำผิดที่สำเร็จไปก่อนแล้ว การกด Like จึงไม่อาจจะช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือจะสนับสนุนในการกระทำผิดได้ หรือ จะไปแบ่งหน้าที่กันทำ ข้าเขียนนะ เดี๋ยวเอ็งกดไลค์ อะไรทำนองนั้น ก็ไม่ได้ เพราะในทางการเป็นตัวการร่วม จะต้องอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ และพร้อมที่จะช่วยเหลือกันในทันทีทันใด จะมามั่วว่า กด Like อีกฟากฝั่งฟ้า เป็นการสนับสนุนการกระทำผิดหรือตัวการร่วมไม่ได้หรอก
ในทางทฤษฎีกฎหมายอาญา จึงไม่อาจจะถือได้ว่า กด Like เป็นความผิดทางอาญาได้ ยกเว้นว่า จะไปออกกฎหมายมาเฉพาะเลย เช่น ผู้ใดกด Like ข้อความ xxx ต้องระวางโทษประหารชีวิต อะไรก็ว่าไป
อีกอย่างหนึ่ง คือ จะมามั่วว่า ประชาชนที่กด Like จะทราบผลของการกด Like ว่าจะมีคนในฐานข้อมูลที่เป็นเพื่อนมาเห็นข้อความนั้นเช่นกัน จึงถือเป็น การเล็งเห็นผล อันนี้ โคตรไกลครับ คุณคนตีความคิดไปเองแล้วหละครับ ถ้าเขาไปกดไลค์อะไรที่หมิ่นประมาท แล้วคุณตีความว่าเขาเจตนาเล็งเห็นผล ผมว่าคุณนั่นแหละ หมิ่นประมาทเอง ไม่เกี่ยวกับเขาหรอก ที่นี่ อยากจะกล่าวหาเขา ว่าในขณะที่เขาเอานิ้วไปจิ้มในปุ่ม Like เขามีเจตนาเล็งเห็นผล คุณที่อยากจะกล่าวหาเขา ก็ต้องพิสูจน์ในขณะนั้น เวลานั้น เขามีเจตนาเล็งเห็นผลอย่างไร คุณรู้ได้อย่างไร เขามีเจตนาอย่างนั้น โอ้ย รู้ก็เทวดาแล้วละครับ
อนึ่ง ในโลกเสรีนั้น เขาถือว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถือเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เพราะหากมี Exchange of ideas ใน Free market มากเท่าไหร่ ประชาชน หรือสาธารณชนก็จะได้ประโยชนืเท่านั้น โดยเฉพาะ บุคคลสาธารณะที่รับเงินเดือนจากประชาชน เงินภาษีจากประชาชน ต้องยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ หากไม่ต้องการโดนวิจารณ์ ก็ไม่ควรจะมาเป็นบุคคลสาธารณะ หรือรับเงินภาษีจากประชาชนครับ
ใช้กฎหมายให้น้อยลง มีจิตใจดี เพื่อสาธารณะ ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ แล้วชีวิตจะดีขึ้น ทุกข์น้อยลง ไม่ร้อนรน ใครแตะนิดแตะหน่อย ก็จะไม่ทุรนทุราย
ภาพประกอบ:เว็บไซต์ DMC.tv