สมัชชาแม่น้ำยันค้านสุดตัว ยุติโครงการทางเลียบเจ้าพระยา
นายกสมาคมสถาปนิกสยาม เผยเห็นด้วยกับการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ค้านทางเลียบ อดีตนายกวสท.ชี้ทำลายทัศนีย์ภาพ ด้านกลุ่มคนรักแม่น้ำเจ้าพระยาฯ เผยภาครัฐยังไม่ทำการสำรวจผลกระทบทางธุรกิจ หวั่นรัฐละเมิดกฎหมายเสียเอง
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 สมัชชาแม่น้ำ Frineds of the river แถลงข่าวเรื่อง "River of No Return หยุดทางเลียบก่อนที่จะสาย เพราะแม่น้ำไม่ไหลย้อนกลับ" ณ ชั้น 6 ห้อง Friend of BACC หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
จากกรณีกรุงเทพมหานคร พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2560 ถึงความคืบหน้าโครงการทางเลียบแม่น้้าเจ้าพระยาที่จะมีการเปิดประมูล 4 สัญญา ในเดือน เมษายน 2560 นี้ ด้วยงบประมาน 8,400 ล้านบาทนั้น โดยจะมีลักษณะเป็นทางในแม่น้้ากว้าง 7-10 เมตร และ จะสามารถตอกเข็มในเดือน ก.ค. 2560
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ให้ความช่วยเหลือ และให้คำแนะนำกับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และยืนยันว่าเห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ แต่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาการรุกล้ำพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยตลอดการดำเนินงานของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีเพียงการพิจารณาจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน โดยพิจารณาแค่ข้อมูลจากภาพวิว (Perspective) โดยขาดการพิจารณาปัญหาในหลากหลายมิติ อีกทั้งยังขาดการสื่อสารที่ดีกับหลากหลายหน่วยงาน การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมทั้งมีกระบวนการรับฟังเนื่องจากเป็นกระบวนการที่สำคัญ
"ทางสมาคมฯ เรียกร้องให้ชะลอการดำเนินการไปก่อน และเปิดกระบวนการรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการสร้างจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลจากพื้นฐานและกำหนดเป็นนโยบาย การรับฟังและกระบวนการการฟังรับฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก"
ด้านรศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยในโครงการสร้างทางเลียบริมแม่น้ำ ซึ่งโครงการนี้ขอยืนยันว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อยากทำจริง ท่านตั้งใจว่าสิ่งนี้จะเป็นของขวัญให้กับคนกรุงเทพฯ แต่โครงการเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการมีแแต่คนที่ได้ค่าออกแบบเท่านั้นที่ต้องการโครงการนี้ ในแง่ของวิศวกรรมการสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน โดยกระทบสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมากอย่างเขตพระบรมมหาราชวัง 14 กิโลเมตรของถนนริมแม่น้ำ หากรู้ถึงเรื่องพวกนี้ไม่จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบเลย การที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวและต้องทนเห็นเสาตอม่อสิ่งปลูกสร้างที่ไม่รู้ว่าอีกกี่ปีถึงจะสร้างเสร็จไม่ใช่ทัศนียภาพที่ดีแต่เป็นสิ่งที่น่าเกลียดที่สุด
"สภาพที่ประชาชนคนไทยที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่มาเป็นร้อยปีวันดีคืนดีกลายเป็นคลองที่มีสะพานอยู่ 2 ข้าง โดยกลุ่มวิศวกรส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนและต่อไปจะลุกขึ้นมาช่วยกันต่อต้านต่อไป"
ด้านนายไกร ตั้งสง่า สมาชิกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฏหมายคือกฏของการอยู่ร่วมกัน เพื่อดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องของสังคม แต่ภาครัฐกลับละเมิดซึ่งกฏหมายระหว่างการดำเนินงานของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสิ้น 3 ประการด้วยกัน
1.เกี่ยวกับการห้ามรัฐแข่งขันกับเอกชน แต่รัฐกลับให้สถาบันการศึกษาเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนเอกชน ทางสมาคมฯ เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่เห็นด้วยกับการละเมิดกฏหมายข้างต้นของภาครัฐ
2. ภาครัฐละเมิดมาตราที่คำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของสาธารณะ กล่าวคือการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม หรือวิศวกรรมควบคุม ดังนั้นผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพดังกล่าวจะไม่สามารถเข้ามาดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมในโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้ แต่ภาครัฐกลับให้สถาบันการศึกษาที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพเข้ามาดำเนินการ ซึ่งผิดพ.ร.บ.วิชาชีพฯ
3.ภาครัฐละเมิดกฏหมายกรมเจ้าท่า ที่ห้ามสร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ รุกล้ำเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำ ซึ่งได้ตั้งคำถามไปยังโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาว่าได้ทำการขออนุญาตไปยังกรมเจ้าท่าแล้วหรือยัง หรือจะทำการแก้ไขข้อกฏหมายดังกล่าว
นายไกร กล่าวทิ้งท้ายว่า เห็นด้วยกับการพัฒนา แต่ไม่เห็นด้วยกับการละเมิดกฏหมายที่มีอยู่เดิม อีกทั้งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่รักและหวงแหนของประชาชนคนไทยทั้งชาติ เป็นตัวแทนของความสวยงามและความถูกต้อง เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลต้องดำเนินงานตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับธรรมภิบาล รัฐบาลต้องดำเนินโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างถูกต้อง
สิ้นสุดกัน
นางมาริสา หนุนภักดี กลุ่มคนรักแม่น้ำเจ้าพระยาและมรดกไทย กล่าวว่า ในฐานะคนทำธุรกิจโรงแรม มีความกังวล เพราะไม่เคยเห็นเป็นกิจลักษณะเกี่ยวกับข้อมูลของโครงการ ไม่มีใครวิเคราะห์ผลกระทบเชิงธุรกิจท่องเที่ยวแล้วจะวางแผนล่วงหน้าได้อย่างไร อยากรณรงค์ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของแม่น้ำ กลับมารักแม่น้ำ หากจะพัฒนาให้คนเข้าถึงแม่น้ำ ทำไมไม่อนุรักษ์ชุมชนริมน้ำให้มีค่ามากขึ้น รณรงค์ให้คนไปเที่ยวริมน้ำ ไม่ใช่ว่าจะสร้างถนนจักรยาน จะมีผลกระทบระหว่างการดำเนินการก่อสร้างทั้งมลภาวะทางอากาศและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยทางรัฐบาลไม่สามารถให้ตัวเลขที่ชัดเจนได้ว่าหลังจากที่สำรวจจากการสร้างเสร็จ ผลกระทบทางธุรกิจจะประมาณเท่าไหร่ ยังไม่มีหน่วยงานไหนวิเคราะห์ผลกระทบเชิงธุรกิจและท่องเที่ยวยังไม่มีใครทำผลกระทบ ทำให้ไม่มีใครกล้าลงทุน จุดขายของการท่องเที่ยวของประเทศไทยคือนักท่องเที่ยวชอบที่จะสัญจร ชมวิว ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นจุดขายของการท่องเที่ยว โดยเขาไม่ต้องการเห็นถนนและไม่ต้องการชื่นชมสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำพื้นที่แม่น้ำ
ช่วงท้ายของงานกลุ่มสมัชชาแม่น้ำได้มีการออกแถลงการณ์ เรื่อง สิทธิพลเมืองเพื่อปกป้องแม่น้้าเจ้าพระยา ว่าทางสมาคมวิชาชีพ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและชุมชน มีความห่วงกังวลต่อสถาณการณ์ของโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก จากการเฝ้าติดตามการด้าเนินงานของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้้าเจ้าพระยา หรือโครงการทางเลียบแม่น้้าเจ้าพระยาของรัฐบาล มาโดยลำดับ ตั้งแต่เมื่อเดือน ธันวาคม 2557 นั้น เราได้พบกับความผิดปกติของโครงการซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นสาธารณะสมบัติที่มีความสำคัญยิ่งของชาติ ที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ อย่างที่ไม่อาจนำกลับคืนมาได้ และอาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายและสิทธิของประชาชน โดยรัฐบาลดังต่อไปนี้