สื่อนอกวิพากษ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาต้นเหตุปัญหาการเมืองไทย
สื่อนอกวิพากษ์ คุณภาพการศึกษาที่เหลื่อมล้ำของไทย ต้นเหตุความวุ่นวายทางการเมือง ชี้สงครามชนชั้น เริ่มจากห้องเรียน
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า นี้ เว็บไซต์ The Economist ได้รายงานบทวิเคราะห์ถึงปัญหาทางการเมืองไทยในช่วงสิบปีที่ผ่าน เกิดจากปัจจัยพื้นฐานอย่างการศึกษาที่เหลื่อมล้ำ
โดยในรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า ที่ผ่านมานักปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยมีความคิดที่จะลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างคนรวยในเมืองกับคนจนในแถบชนบท เพราะความแตกต่างพวกนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุของความตึงเครียดทางการเมืองที่มีมาเป็น 10 ปี
ขณะที่พ่อแม่เด็กที่มีฐานะดีสามารถส่งไปเรียนเมืองนอกหรือโรงเรียนกวดวิชาได้ แต่คุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะในชนบทยังต่ำอยู่มากและดูจะเป็นเรื่องที่น่าสิ้นหวังของคนชนบทที่มีคุณภาพทางการศึกษาต่ำกว่า มิหน่ำซ้ำยังโดนชนชั้นกลางในเมืองที่มีการศึกษาดีกว่า ตราหน้าว่าคนบ้านนอกพวกนั้นไร้การศึกษา และเชื่อคนง่าย ตกเป็นเครื่องมือของพวกนักการเมือง
The Economist ระบุด้วยว่า การแบ่งแยกทางสังคมสุดโต่งอันน่าเป็นห่วงนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยได้คะแนนในตารางวัดระดับคุณภาพการศึกษา (educational league table) ที่ถูกเผยแพร่ในเดือนธันวาคม ประเทศไทยนั้นอยู่ใน 25% ในอันดับท้ายจาก 70 ประเทศ โดยวัดจากจากคะแนนสอบ PISA ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์การอ่านและวิทยาศาสตร์ โดยคะแนน PISA นี้ประเทศไทยได้แย่ลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2012
ทั้งนี้นักวิจัยยังพบว่าเกือบ 1ใน3 ของเด็กอายุ 15 ปีในประเทศนั้น ไม่มีทักษะอ่านเขียนพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่ชีวิตได้ โดยตัวเลขนี้ได้รวมครึ่งหนึ่งของเด็กที่เรียนในโรงเรียนชนบทแล้ว
The Economist ยังกล่าวด้วยว่า ผลสัมฤทธิ์ข้างต้นที่น่าเป็นห่วงของประเทศไทยนี้ ในความเป็นจริงไม่ได้มีลำดับห่างมากเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน
แต่ที่น่าแปลกคือ งบประมาณที่ทุ่มให้กับการศึกษาภายในประเทศนั้นกลับสูงกว่ากันมาก โดยในบางปีนั้นสูงกว่า 25% ของงบประปาณประเทศเสียอีก
รายงานฉบับนี้ชี้ว่า การเรียนแบบท่องจำนั้นเป็นที่พบเจอได้ทั่วไปของระบบการศึกษาไทย ทั้งยังขาดแคลนบุคลากรครูในสาระวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่กลับมีจำนวนของครูพละที่สูงลิ่ว
ขณะที่บรรดาพวกครูใหญ่ก็ไม่มีอำนาจสั่งการพอที่จะจ้าง หรือ ไล่ใครออก ส่วนกฎระเบียบในห้องเรียนก็เข้มงวดมากเกินไป มิหน่ำซ้ำยังพบด้วยว่า ครูเองที่ชอบแกล้งเด็กนักเรียนที่ตัวเองไม่ชอบ ทำร้ายร่างกาย ลงโทษเกินเหตุ อย่างเช่นเหตุการณ์ที่นั่นครูพละคนหนึ่งปาแก้วใส่หน้าเด็ก เป็นต้น
The Economist ระบุอีกว่า นับตั้งแต่การเข้ามา คสช. และมีการออก‘คุณธรรม 12 ประการ’ บังคับให้เด็กนักเรียนท่องจำนั้น ถือการส่งเสริมในเรื่องเกียรติยศมากกว่าการทำให้เด็กในประเทศฉลาดขึ้น
หมายเหตุ เนื้อหาส่วนหนึ่งจากhttp://www.economist.com/news/asia/21715011-countrys-class-war-has-its-roots-classroom-poor-schools-are-heart-thailands
ขอบคุณภาพประกอบจาก Getty Image The Economist