เรือดำน้ำเป็นเรือรบที่มีศักยภาพ สูงที่สุดในบรรดำเรือรบด้วยกันจริงหรือ?
ข้อสงสัยนี้ควรที่จะชัดเจนด้วยเหตุผลที่เป็นตรรกะ และมีข้อยืนยันเพราะการได้มาของเรือดำน้ำต้องแลกกับงบประมาณมหาศาล และอาจต้องแลกกับความอ่อนแอของกองทัพเรือด้วย
สังคมไทยเชื่อ เพราะได้ยิน ได้ฟังทั้งจากข้อมูลข่าวสารและภาพยนต์สงครามว่า เรือดำน้ำปฏิบัติการอยู่ใต้น้ำ ยากที่จะตรวจพบ เรือดำน้ำมีอาวุธเด็ดขาดสามารถจมเรือผิวน้ำได้ทุกชนิด ถึงขนาดพูดว่า “เรือมีอยู่แค่ 2 ประเภท คือ เป้า (target) กับเรือดำน้า”หรือ “เรือดำน้ำ ไม่ได้ใช้ในยามสงครามอย่างเดียว ยามสงบ เราก็ใช้ เปรียบเหมือน ดวงตา ที่อยู่ใต้ผืนน้ำ ใครที่จะทำผิดในพื้นที่ทางทะเล คนพวกนี้จะไม่รู้ว่าเรามีตาลึกลับเฝ้ำมองอยู่” “เรือดำน้ำ มีไว้เป็นอำวุธป้องปรำม” และ“หากมีไว้ในครอบครอง จะทำให้อำนำจทำงทะเลเพิ่มขึ้นอย่ำงก้ำวกระโดด”
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว ทำไมทุกประเทศไม่สร้างแต่เรือดำน้ำ ยังคงสร้างเรือรบผิวน้ำมากกว่าเรือดำน้ำ?
หรือเรือดำน้ำเหมือนกับปีศาจ ไม่อาจมองเห็น แต่ทุกคนกลัวเพราะเชื่อว่าปีศาจมีอิทธิฤทธิ์?
ข้อสงสัยนี้ควรที่จะชัดเจนด้วยเหตุผลที่เป็นตรรกะ และมีข้อยืนยันเพราะการได้มาของเรือดำน้ำต้องแลกกับงบประมาณมหาศาล และอาจต้องแลกกับความอ่อนแอของกองทัพเรือด้วย
ตัวอย่างจากอดีต
บทบาทของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 2
เรามักจะได้รับข้อมูลเรื่องความสำเร็จของเรือดำน้ำ และชื่นชมเรือดำน้ำเยอรมันเหมือนกับยกย่องความสำมารถของหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯในสงครามเวียดนามโดยลืมคิดไปว่าทั้งเยอรมัน และสหรัฐฯแพ้สงคราม ถ้ำเรือดำน้ำดีจริงทำไมเยอรมันไม่สร้างเรือดำน้ำให้มากกว่านี้ ทำไมสหรัฐฯไม่ฝึกทหารหน่วยรบพิเศษให้มากขึ้น
ข้อมูลแท้จริงในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกี่ยวกับเรือดำน้ำ :
สหรัฐฯ ในสงครามมีเรือรบขนาดใหญ่ (เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน และเรือพิฆาต) ทั้งหมด 500 ลำ เรือดำน้ำ 232 ลำ (ไม่รวมเรือคอร์เวต 420 ลำ และเรือยกพลขึ้นบก 35,000 ลำ) สูญเสียเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด 94 ลำ สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการใช้เรือดำน้ำสูงสุด แต่ต้องสูญเสียเรือดำน้ำ 53 ลำ และสูญเสียกำลังพลจากเรือดำน้ำคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในจำนวนกำลังรบทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยกำลังพลของเรือดำน้ำ 1 ใน 5 เสียชีวิต (3,506 คนจำก 16,000 คน) เรือดำน้ำจมเรือข้าศึกได้ 1,280 ลำ
อังกฤษ ในสงครามมีเรือรบขนาดใหญ่ (เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน และเรือพิฆาต) ทั้งหมด 430 ลำ (ไม่รวมเรือคอร์เวต 875 ลำ และเรือยกพลขึ้นบก 9,538 ลำ เรือ กวาดทุ่นระเบิด 1,244 ลำ เรือตรวจการณ์ 4,209 ลำ และเรือสลุป 33 ลำ) เรือดำน้ำ 238 ลำ สูญเสียเรือผิวน้ำ 220 ลำ อังกฤษ ประสบความสำเร็จในการใช้เรือดำน้ำรองจากสหรัฐฯ สูญเสียเรือดำน้ำ 68 ลำ จมเรือข้ำศึกได้ 632 ลำ
โซเวียตฯ ก่อนสงครามมีกองเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุด ในสงครามมีเรือดำน้ำทั้งหมด 277 ลำ จมไป 101 ลำ จมเรือข้ำศึกได้ 191 ลำ
เยอรมัน มีเรือรบขนาดใหญ่ 46 ลำ นอกนั้นเป็นเรือขนาดเล็ก ก่อนสงครามมีเรือดำน้ำ 52 ลำ ครึ่งปีแรกของสงครามสร้าง U-boat เพิ่มอีก 1,156 ลำ สูญเสียเรือรบผิวน้ำ 142 ลำ (รวมเรือขนาดเล็ก) สูญเสียเรือดำน้ำ 1,060 ลำ กำลังพลเรือดำน้ำทั้งหมด 40,090 คน ตาย 28,000 คน ถูกจับเป็นเชลย 5,000 คน จมเรือข้าศึกได้ 2,973 ลำ
อิตาลี ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นเป็นชาติที่มีกองเรือดำน้ำใหญ่เป็นอันดับสองรองจากโซเวียตฯ โดยในปี 1939 อิตาลีมีเรือดำน้ำถึง 107 ลำ แต่ในตลอดสงครามสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 8 ลำ และเริ่มสงคราม 10 วันแรกโดนจมไป 10 ลำ ตลอดสงครามโดนจมไป 88 ลำ จมข้าศึกได้เพียง 34 ลำ ทั้งที่อิตาลีมีเทคโนโลยีสูงมาก เรือดำน้ำอิตาลีทันสมัย มีสมรรถนะสูง แต่สำเหตุคืออิตาลีลงทุนในการสร้างเรือดำน้ำ (รวมทั้งอาวุธอื่นๆด้วย) โดยไม่ได้คำนึงถึงงบประมาณในการบำรุงรักษา การฝึก การดูแลกำลังพล ฯลฯ
ทำให้กำรปฏิบัติการไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดสงครามเรือดำน้ำอิตาลีไม่เคยพร้อมปฏิบัติกำรในเวลาเดียวกันถึง 25 ลำเลย (ไม่ถึง 1ใน 4) ทำให้อิตาลีไม่สามารถใช้ยุทธวิธี “หมาหมู่” เหมือนเยอรมันได้
ญี่ปุ่น มีเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ 264 ลำ นอกนั้นเป็นเรือขนาดเล็ก มีเรือดำน้ำ 216 ลำ สูญเสียเรือรบผิวน้ำ 183 ลำ เรือดำน้ำ 119 ลำ
สมรภูมิเรือดาน้าในสงครามโลกครั้งที่ 2
ยุทธ์บริเวณที่สำคัญมี 2 บริเวณคือ สมรภูมิแปซิฟิก และสมรภูมิแอตแลนติก
สมรภูมิแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศไทยเมื่อ 7/8 ธันวำคม 1941 พร้อมกับโจมตีอาณานิคมของอังกฤษที่มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง รวมทั้งฐานทัพของสหรัฐฯที่ ฮาวาย เกาะเวค กวม และฟิลิปปินส์ แม้สมรภูมิแปซิฟิกจะเป็นกำรต่อสู้ระหว่างพันธมิตรกับอักษะ แต่เยอรมันกับอิตาลีก็แทบไม่มีส่วนร่วมเลย จึงเป็นการปะทะกันระหว่างกำลังทางเรือสหรัฐฯกับญี่ปุ่น
โดยเรือดำน้ำของทั้งสองฝ่ายมีบทบาทน้อย ญี่ปุ่นเน้นการปฏิบัติการเรือดำน้ำไปที่การโจมตีเรือรบสหรัฐฯซึ่งประสบความสำเร็จน้อย แม้จะมีส่วนช่วยจมเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯได้ 2 ลำ แต่เรือลำเลียงของสหรัฐฯสามารถปฏิบัติการอย่างเสรีในการสนับสนุนการรุกคืบหน้าไปตามเกาะต่างๆ และญี่ปุ่นละเลยการสร้างเรือปราบเรือดำน้ำทำให้สหรัฐฯใช้เรือดำน้ำได้อย่างเสรี
ส่วนสหรัฐฯในช่วงต้นสงครามมีเรือดำน้ำจำนวนน้อยในแปซิฟิกเพราะให้ความสำคัญกับสมรภูมิแอตแลนติกมากกว่า กว่าจะสร้างเพิ่มเติมและเพิ่มการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในแปซิฟิกก็เป็นช่วงปลายสงครามซึ่งทำให้เรือลำเลียงของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกเรือดำน้ำทำลายในตอนท้าย และสงครามสิ้นสุดลงเมื่อสหรัฐฯทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ เมื่อ 8 กันยำยน 1945 ทำให้ญี่ปุ่นขอยอมแพ้เมื่อ 15 กันยำยน 1945
สมรภูมิแอตแลนติกมีความซับซ้อนและยาวนานตั้งแต่ 1939-1945 แยกเป็นสมรภูมิย่อยหลายแห่งคือ ทะเลบอลติก ทะเลเมดิเตอเรเนียน ทะเลดำ และมหาสมุทรแอตแลนติก ช่วงแรกของสงครามเรือดำน้ำเยอรมันยังไม่ประสบความสำเร็จด้วยข้อจำกัดของเรือดำน้ำในการตรวจการ
การพิสูจน์ทราบเป้า (มีสูงตำต่ำ) และการเดินทำงเข้าจุดโจมตี (ความเร็วช้ำกว่าเรือผิวน้ำ) ประกอบกับพันธมิตรมีการจัดกระบวนเรือลำเลียง (convoy) ขนาดใหญ่ (เรือลำเลียง 30-70ลำใน 1 กระบวน) เลือกเส้นทางและเวลาที่เหมาะสม โดยมีเรือปราบเรือดำน้ำคุ้มกัน แต่ตั้งแต่มิถุนายน ถึง ตุลาคม 1940 เป็นช่วงความสำเร็จของเรือดำน้ำเยอรมัน (the happy time) จากการที่เยอรมันพัฒนายุทธวิธี “หมาหมู่” (wolf packs) โดยใช้เรือดำน้ำหลายลำ เรียงรายเป็นหน้ากระดานหลายชั้นในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีกระบวนเรือลำเลียงผ่าน เมื่อเรือดำน้ำลำใดตรวจจับเรือลำเลียงได้จะส่งข้อมูลให้กองบัญชาการ และกองบัญชาการจะสั่งให้เรือดำน้ำที่คอยอยู่ใกล้พื้นที่ ที่คาดว่าเรือดำน้ำจะผ่าน เข้าโจมตีพร้อมกัน 4-6 ลำ ยุทธวิธีนี้สร้างความสูญเสียให้กองเรือลำเลียงของพันมิตรอย่างมาก
ถึงขนาดที่ เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษบันทึกว่า “...สิ่งเดียวที่เขย่าขวัญข้าพเจ้าได้ในระหว่างสงครามคือภัยจากเรือดำน้ำเยอรมัน” ( "...the only thing that ever frightened me during the war was the U-boat peril") แต่ถึง มีนาคม-พฤษภาคม 1941 เมื่อพันธมิตรสร้างเรือปราบเรือดำน้ำมากขึ้นและจัดเรือคุ้มกันเรือลำเลียงประกอบด้วยเรือพิฆาต 2-3 ลำ และเรือคอร์เวต 4-6 ลำใน 1 กระบวนเรือ เรือดำน้ำเยอรมันก็กลับเป็นฝ่ายถูกไล่ล่าและโดนทำลายเกือบหมดสิ้น
ในสมรภูมินี้มีการปฏิบัติการเล็กๆที่สำคัญแต่มีการกล่าวถึงน้อย คือ บริเวณทะเลแคริบเบียนและแอตแลนติกตอนใต้ กองทัพเรือบราซิลซึ่งเป็นกองทัพเรือเล็กๆมีแค่เรือกวาดทุ่นระเบิดจำนวนหนึ่งที่ดัดแปลงเป็นเรือปราบเรือดำน้ำเพื่อคุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง ในช่วง 3 ปีของสงคราม บราซิลคุ้มกันเรือ 3,167 ลำใน 614 กระบวนฯ รวมระวางขับน้ำ 16,500,000 ตัน โดยสูญเสียเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ และจมเรือดำน้ำเยอรมันและอิตาลีได้เกินกว่า 10 ลำ
บทสรุปของบทบำทเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่สองที่ชัดเจนคือ เหยื่อของเรือดำน้ำเกือบทั้งหมดเป็นเรือลำเลียง และเรือสินค้าที่ไม่มีอาวุธ เมื่อเผชิญกับเรือปราบฯ เรือดำน้ำกลับเป็นเหยื่อเสียเอง ความสูญเสียของเรือดำน้ำจึงสูงกว่ากำลังรบอื่นๆ และเรือดำน้ำต้องมีจำนวนมากจึงจะปฏิบัติงานได้ผล
การที่เยอรมันซึ่งเน้นการใช้เรือดำน้ำล้มเหลวในการสกัดกั้นการลำเลียงไปสู่เกาะอังกฤษทำให้เอาชนะอังกฤษไม่ได้ และทำให้การลำเลียงทหารและยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการยกพลขึ้นบก (D-Day) เป็นไปโดยสะดวก ความพ่ายแพ้ของเรือดำน้ำเยอรมันจึงทำให้พันธมิตรพิชิตเยอรมันได้เร็วขึ้น กำลังหลักทางเรือในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือเรือผิวน้า ส่วนเรือดำน้ำาของฝ่ายอักษะทั้ง เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่นโดนทำลายเกือบหมดทั้งกองเรือ และเรือดำน้าของฝ่ายพันธมิตรเองก็สูญเสียอย่างมาก
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือดำน้ำจึงไม่ใช่เรือรบที่มีศักยภาพสูงสุดในบรรดาเรือรบด้วยกัน และกำลังรบหลักทางทะเลยังคงเป็นเรือผิวน้า เรือดำน้ำยุคใหม่ เรือดำน้ำาสมัยใหม่มีเทคโนโลยีสูงกว่ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก เทคโนโลยีทำให้เรือดำน้ำอยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น
สำหรับเรือดำน้ำดีเซลอาจอยู่ได้ถึง 20 วัน มีความเร็วไต้น้ำสูงขึ้น มีโซนาร์ที่มีประสิทธิภาพ จับเป้าได้ไกลขึ้น มีอาวุธที่มีระยะยิงไกลขึ้นและแม่นยามากขึ้น
โดยสรุปคือ เรือดำน้ำมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ธรรมชาติของตัวเรือดำน้ำเองยังไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ความเร็วสูงสุดยังต่ำกว่าเรือผิวน้ำมาก และถ้าใช้ความเร็วสูงจะเกิดเสียง (noise) มากทำให้ถูกตรวจจับได้ง่าย เรือดำน้ำขณะปฏิบัติการจึงต้องใช้ความเร็วต่ำ การเข้าหาเป้าจึงช้า อาจไม่ทันการ ส่วนการเข้าต่อตีเป้าหมายด้วยอาวุธก็มีข้อจำกัดคือ ตอร์ปิโดแม้จะเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น แต่ก็ยังช้าและระยะยิงจำกัด เรือผิวน้ำจะรู้ตัวก่อนและหลบหลีกได้ และสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีซึ่งแม้จะแม่นยำและระยะยิงไกล แต่ปัญหาของการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีไม่ใช่การจับเป้า (contact) แต่อยู่ที่การวินิจฉัยเป้า (classify) ว่า เป็นเป้าอะไร เป็นข้าศึก ฝ่ายเดียวกัน หรือเป็นกลาง เรือดำน้ามีสูงต่ำแค่ประมาณ 10 เมตรจึงยากที่จะทำได้โดยลำพัง แต่การอยู่ใต้น้ำก็ไม่สามารถร่วมมือกับคนอื่นได้
ดังนั้นแม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าแต่ข้อจำกัดโดยธรรมชาติในตัวมันเองยังคงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อจำกัดในปัจจัยมนุษย์ที่ยังคงเดิมหรือมากกว่าเดิมอันจะทำให้เป็นข้อจำกัดในศักยภาพของเรือดำน้ำมากเสียยิ่งกว่าปัจจัยของตัวเรือดำน้ำ ในขณะที่เรือปราบเรือดำน้ำและอุปกรณ์ในการค้นหาและทำลายเรือดำน้ำ รวมทั้งยุทธวิธีปราบเรือดำน้ำ ก็ก้าวหน้าไปมาก เช่น ตัวเรือผิวน้า เร็วขึ้น เงียบขึ้น โซนาร์จับเป้าใต้น้ำได้ไกลขึ้น วินิจฉัยเป้าได้ดีขึ้น อาวุธ เช่นตอร์ปิโดและอาวุธปล่อยนนวิถีปราบเรือดำน้ำมีระยะยิงไกลขึ้น แม่นยำขึ้น โดยที่เรือดำน้ำไม่มีโอกาสหลบหลีกเหมือนเรือผิวน้ำ (เพราะความเร็วต่ำ และต้องการซ่อนตัว) และมีการนำยานไร้คนขับมาช่วยในการค้นหาและทำลายเรือดำน้ำ รวมทั้งด้วยข้อจำกัดโดยธรรมชาติของเรือดำน้ำทำให้อาวุธปราบเรือดำน้ำพื้นฐานดั้งเดิม เช่น ระเบิดน้ำลึก (dept charge) จรวดปราบเรือดำน้ำ (hedge hog) และระเบิดมือธรรมดา (grenade) ก็ยังอันตรายและน่ากลัวสำหรับเรือดำน้ำ รวมทั้งข้อจำกัดในปัจจัยมนุษย์บนเรือผิวน้ำน้อยกว่าเรือดำน้ำมาก เรือดำน้ำจึงยังไม่ได้เปรียบเรือปราบเรือดำน้ำเรือดำน้ำโจมตี (attack submarine) พัฒนาไปมากแต่เรือปราบเรือดำน้ำก็พัฒนาไปเช่นกันและอาจจะมากกว่าด้วย
ในอดีตใต้ทะเลเป็นความลึกลับ แต่ปัจจุบันได้รับการคลี่คลายมากขึ้น มนุษย์เลิกกลัวความมืดเมื่อมีแสงสว่าง เมื่อเราศึกษามากขึ้นเราควรรู้จักเรือดำน้ำตามที่มันเป็น อย่าเชื่อโดยขาดการพิจารณาอย่างมีเหตุผล เรือดำน้าโจมตีจึงยังคงน่าเกรงขามสำหรับเรือลำเลียง และเรือปราบเรือดำน้ำก็ยังคงเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวของเรือดำน้ำ
กำลังรบทางเรือต้องมีขีดความสามารถในการยุทธ์ทุกสาขาทั้งต่อต้านเรือผิวน้ำ ต่อสู้อากาศยาน ต่อต้านทุ่นระเบิด ส่งกำลังขึ้นฝั่ง ยกพลขึ้นบก ลำเลียงและคุ้มกันการลำเลียง ส่งกำลังในทะเล ลาดตระเวน ระดมยิงฝั่ง ปราบเรือดำน้ำ การปฏิบัติการทางอากาศ การขัดขวางการใช้ทะเลของข้าศึก การควบคุมทะเล และ ฯลฯ รวมทั้งภารกิจในยามสงบเช่นการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสพภัย แต่ด้วยข้อจำกัดโดยธรรมชาติของเรือดำน้ำทำให้เรือดำน้ำมีข้อจำกัดในการปฏิบัติภารกิจทางทะเล เรือดำน้ำปฏิบัติภารกิจเหล่านี้ได้เพียงบางอย่างเท่านั้น
การพัฒนากำลังรบทางเรือจึงต้องเฉลี่ยให้สมดุลทุกการยุทธ์ ไม่ควรทุ่มงบประมาณไปที่เรือดำน้ำาเพียงอย่างเดียว
การมีเรือดำน้ำแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าใช้งบประมาณมากจนไม่มีงบประมาณซ่อมบำรุง การฝึก รวมถึงการพัฒนากำลังรบด้านอื่นจะส่งผลเสียต่อความเข้มแข็งของกองทัพในระยะยาว กำลังรบทางเรือต้องประกอบด้วยเรือประเภทต่างๆ และเครื่องบินอย่างสมดุลกันจึงจะทำให้เข้มแข็งและมีศักยภาพในการป้องปรามอย่างแท้จริง
เรือดำน้ำไม่ใช่อาวุธวิเศษที่มีศักยภาพครอบคลุมจักรวาล ไม่ใช่กำลังหลักในการรบทางเรือ แต่เรือดำน้ำเป็นอาวุธที่เหมาะกับภารกิจบางประเภทเท่านั้น กองเรือที่สมบูรณ์แบบจึงต้องมีเรือทุกประเภทในสัดส่วนที่เหมาะสม
การลงทุนจัดหาเรือทุกประเภทจึงต้องมีความสมดุลในการใช้งบประมาณเพื่อให้กองเรือเข้มแข็งมีประสิทธิภาพทั้งยามสงบและยามสงคราม และไม่กระทบเศรษฐกิจของชาติด้วย
ขอบคุณภาพประกอบ : Manager Online