นักวิชาการ ห่วงนโยบายพัฒนาลุ่มน้ำโขง สร้างปัญหาคนอพยพกว่า 3 ล้านคน
นักวิชาการ ห่วงนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ไม่คำนึงชุมชน สร้างปัญหาผู้อพยพกว่า 3 ล้านคน ทั้งละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อม
เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร. โรซาเลีย ชิออร์ติโน่ อาจารย์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการองค์กร Sea junction ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ถึงกรณีปัญหาผู้อพยพจากการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ว่า ลุ่มแม่น้ำโขงมักจะถูกให้ความสำคัญเพียงเรื่องแผนการพัฒนาและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มแม่น้ำโขงถูกนำมาใช้อย่างมหาศาล และแน่นอนว่า วัฒนธรรมชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงย่อมได้รับผลกระทบจากการหาผลประโยชน์เพียงแค่ทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่สนใจละเลยสิ่งแวดล้อม ผู้คนและชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง หรือแม้กระทั่งนโยบายที่สนับสนุนการท่องเที่ยวและธุรกิจระหว่างประเทศ
"การโยกย้ายถิ่นของผู้คน ทั้งภายพื้นที่และข้ามพรมแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้กลายมามีความสำคัญในระดับภูมิภาคในแง่ของเงื่อนไขทางการขยายการตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงอันประกอบไปด้วยกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม รวมไปถึงยูนานและกวางซี่ในจีนตอนใต้" รศ.ดร.โรซาเลีย กล่าว และว่า ผู้อพยพหลายล้านคนโยกย้ายจากถิ่นฐานเดิมเพื่อแสวงหาความมั่นคงทางชีวิตและสถานภาพทางเศรษฐกิจในดินแดนใหม่ ตัวเลขจากการคาดการเฉพาะในประเทศไทยของผู้อพยพจากลาว กัมพูชาและพม่า โดยประมาณประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งโดยส่วนมากไม่มีเอกสารแสดงตัวตนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
รศ.ดร.โรซาเลีย กล่าวด้วยว่า เวลาที่นโยบายพัฒนาทางเศรษฐกิจบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเกิดขึ้นมากมาย แต่ขณะเดียวกันชุมชนก็ถูกตักตวงเอาผลประโยชน์ไปใช้และไม่มีการให้การสนับสนุนด้านสังคมและเศรษฐกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่มาของภาวะการอพยพย้ายถิ่นหลายล้านคนเพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา นโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพของประเทศไทยและประเทศอื่นๆในแถบลุ่มแม่นำโขงจะเป็นไปในทิศทางเพียงเพื่อจัดระเบียบการหลั่งไหลของผู้อพยพสู่ประเทศปลายทาง และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทำให้ผู้อพยพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพราะด้วยความเข้าใจที่ว่าผู้อพยพเดินทางมาสู่ประเทศปลายทางเพื่อทำงานและกลับไปถิ่นฐานเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้อพยพได้เข้ามาตั้งชุมชนและอยู่อาศัยกันมาหลายรุ่นในประเทศปลายทาง
“นโยบายต่อบริวณลุ่มแม่น้ำโขงไม่ควรมีเพียงแค่ด้านเศรษฐกิจแต่ควรสนับสนุนทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนในชุมชนท้องถิ่นไม่ได้ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง”
ดร.โรซาเลีย กล่าวด้วยว่า เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนผู้อพยพจากแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่ถูกละเลยมานาน องค์กร Mekong Migrant Network (MMN) และ องค์กร SEA Junction จะจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายผู้อพยพในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในชื่อ Beyond “Tolerance”: Living together with migrant (ข้ามพ้นทนทรมาน: ผู้อพยพกับการอยู่ร่วมกัน) โดยช่างภาพและนักถ่ายทำสารคดีชาวอังกฤษ John Hulme ซึ่งรับการสนับสนุนจาก Toyota Foundation ระหว่างวันที่ 8-16 ตุลาคม ณ SEA Junction ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art & Culture Centre) โดยในวันที่ 15 ตุลาคม จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานภาพถ่ายผู้อพยพและรวมไปถึงเทคนิคการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพถ่าย ช่างถ่ายภาพชาวอังกฤษ “John Hulme”
ขอบคุณภาพประกอบจาก