แนวทางแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี60ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
บทความอันนี้จึงนำธรรมเนียมราชนิติประเพณีที่ต้องตระหนักในการที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ว่ามีรูปแบบอันเป็นต้นฉบับกฎหมายที่แท้จริง
บทความในวันนี้ผู้เขียนตั้งใจจะเสนอแนวทางแก้ไขที่คณะกรรมาธิการวิสามัญที่ตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้มีการแปรญัตติตัดลดทอนงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้เป็นจำนวน 243,881.8 ล้านบาท เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 81,186,.8 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จำนวน 162,695 ล้านบาท ปรากฏข้อเท็จจริงนี้ในร่างมาตรา 57 ว่าไม่อาจตัดลดทอนได้ตามรัฐธรรมนูญที่ห้ามไว้เพราะเป็นร่ายจ่ายตามข้อผูกพันที่รัฐธรรมนูญได้ห้ามไว้ทุกฉบับรวมถึงฉบับใหม่ที่ผ่านประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่คงจะมีผลใช้บังคับในเร็วๆนี้
แต่เมื่อผู้เขียนทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยไปแล้ว ผู้เขียนจึงไม่อาจเสนอแนะได้
ในบทความอันนี้จึงนำธรรมเนียมราชนิติประเพณีที่ต้องตระหนักในการที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ว่ามีรูปแบบอันเป็นต้นฉบับกฎหมายที่แท้จริง ดังนี้
มีปกหน้าที่มีตราแผ่นดินตามภาพนี้ (โดยขอนำพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ มาเป็นตัวอย่างจริงๆ ดังนี้)
รูปแบบปกหน้า
นี่คือข้อความอันศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมเนียมประเพณีราชนิติก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
เอกสารสำคัญที่เห็นตามกรอบนี้น้อยคนนักที่จะได้พบเห็น อย่าว่าแต่ประชาชนทั่วไปเลย แม้แต่นักกฎหมายเป็นจำนวนไม่น้อยจะได้เคยเห็น ตระหนักถึงตัวต้นฉบับกฎหมายที่แท้จริงนี้
การทานสามครั้ง ถ้าได้ทานไปถึงความถูกต้องสมบูรณ์ที่ไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ปัญหาดังกล่าวนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นครับ
ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต