ประเทศไทย: ยกเลิกการจำกัดสิทธิ ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องรัฐบาลไทยให้สนับสนุนและคุ้มครองอย่างเต็มที่เพื่อให้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างเสรี และสร้างบรรยากาศที่ช่วยให้บุคคลและกลุ่มต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดและแสดงความเห็นได้อย่างมั่นใจเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น
ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ประเทศไทยจะจัดให้มีการลงประชามติระดับชาติต่อร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทาขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งจากทหาร การลงประชามติครั้งนี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของ “โรดแมปสามขั้น” เพื่อการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของประเทศไทย ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศได้ประกาศไว้ ไม่นานหลังยึดอานาจด้วยการทารัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทางการไทยได้ปราบปรามบุคคลและหน่วยงานที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญหรือตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของการลงประชามติ รายงานฉบับย่อนี้อธิบายถึงข้อกังวลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่มีต่อการจากัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมในช่วงก่อนจะถึงลงประชามติ
ประกาศคำสั่งและกฎหมายที่จำกัดสิทธิ
ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้แสดงข้อกังวลหลายครั้งเกี่ยวกับกฎหมายและประกาศคำสั่งของรัฐบาลไทย ที่มีลักษณะละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการจำกัดอย่างเกินกว่าเหตุต่อสิทธิหลายประการ เกินกว่าข้อยกเว้นที่มีในกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งเรายังกระตุ้นให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายและประกาศคาสั่งดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทย องค์กรของเราจึงยินดีที่รัฐบาลประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559 ถึงแผนการที่จะยกเลิกข้อกำหนดให้นักการเมืองต้องขออนุญาตก่อนจะเดินทางไปต่างประเทศ
“ทั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์การเมืองที่ดีขึ้นและลดความตึงเครียดทางการเมืองก่อนจะถึงการลงประชามติ”
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รัฐบาลไม่ “ประสงค์จะละเมิดสิทธิของใคร” และเขาให้คุณค่ากับ “การพูดอย่างเสรี โดยไม่ผิดกฎหมาย” โดยถือว่าเป็นพื้นฐานของสังคมที่เข้มแข็ง ด้วยเหตุดังกล่าว แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงเน้นย้ำข้อเรียกร้องของเราให้รัฐบาลยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และในเวลาเดียวกันให้ยุติการบังคับใช้กฎหมายและประกาศคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นการจากัดสิทธิและการลงโทษโดยไม่จาเป็นและอย่างไม่ชอบธรรมต่อการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม โดยมีประเทศต่างๆ อย่างน้อย 10 แห่งที่มีข้อเสนอแนะคล้ายคลึงกันนี้ต่อรัฐบาลไทยในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review) ครั้งที่ 25 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในกฎหมายและประกาศคาสั่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่3/2558 ซึ่งห้าม “การชุมนุมทางการเมืองของบุคคลห้าคนหรือกว่านั้น” และยังกำหนดโทษอาญาเมื่อมีการฝ่าฝืนโดยเป็นโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ยังให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ทหารในการปิดกั้นการเผยแพร่บทความ หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดกรณีที่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อ“ความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย”แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรู้สึกเสียใจที่กฎหมายนี้เป็นการจำกัดโดยพลการและเกินกว่าเหตุต่อการใช้สิทธิมนุษยชนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม คำสั่งนี้ยังอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับการแต่งตั้งสามารถควบคุมตัวบุคคลโดยไม่มีข้อหาหรือไม่ต้องเข้ารับการไต่สวน เป็นการควบคุมตัวในสถานที่อย่างไม่เป็นทางการไม่เกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ และไม่มีมาตรการคุ้มครองสิทธิไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงทนายความ ครอบครัว หรือศาล ในทางปฏิบัติแล้ว คาสั่งนี้ได้ถูกใช้เพื่อดาเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงอย่างสงบและการชุมนุมสาธารณะอื่น ๆ รวมทั้งการควบคุมตัวโดยพลการต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นกฎหมายกากับดูแลการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมและรัฐบาลได้นามาใช้ในลักษณะที่เป็นการเหวี่ยงแหและเป็นการกระทำโดยพลการ เป็นการพุ่งเป้าโจมตีบุคคลที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ของพระราชบัญญัติฯ กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีสาหรับ “ผู้ใดดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อยหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียงให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย” ซึ่งได้ถูกใช้เพื่อตั้งข้อหากับบุคคลที่ใช้สิทธิมนุษยชนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลอย่างยิ่งต่อบทบาทของพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิอย่างไม่ชอบธรรมก่อนจะถึงการออกเสียงประชามติ
ประกาศ คสช.ที่ 39/2557 และภาคผนวก จำกัดการจัดกิจกรรมทางการเมืองของบุคคลที่หลากหลาย รวมทั้งนักการเมืองและตัวแทนภาคประชาสังคม ภายหลังได้รับการปล่อยตัวจากการควบคุมตัว การละเมิดข้อจากัดเหล่านี้อาจส่งผลให้ได้รับโทษจาคุกไม่เกินสองปี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลว่าข้อบัญญัติเหล่านี้เป็นการจำกัดอย่างไม่ชอบธรรมและยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่เคยถูกควบคุมตัว และสร้างความหวาดกลัวให้กับบุคคลอื่น
คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 41/25598 ซึ่งให้อำนาจกับองค์กรอิสระอย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุที่ละเมิดคำสั่ง คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 และตัดสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งเหล่านี้ห้ามการเผยแพร่เนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อระบอบการเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือความมั่นคงของชาติ และการวิพากษ์วิจารณ์ “อย่างไม่สุจริต” ต่อ คสช. รวมทั้งการเรียกร้องให้มีการรวมตัวเพื่อ “ต่อต้าน” ทางการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลว่าอำนาจในการสั่งปิดสื่ออย่างกว้างขวางแบบที่ กสทช. ได้รับเช่นนี้ รวมทั้งข้อบทที่คลุมเครือเกี่ยวกับเนื้อหาซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม อาจนำไปสู่การจากัดอย่างกว้างขวางต่อการแสดงความเห็น และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก
การจับกุม การควบคุมตัว และการดำเนินคดี
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทางการไทยได้ใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพื่อควบคุมตัวและจับกุมตัวบุคคลโดยพลการ รวมทั้งการแจ้งข้อหาและการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติอย่างสงบ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้แสดงข้อกังวลต่อการจับกุมที่จังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 กรณีนักศึกษาและนักกิจกรรม 13 คนที่ถูกจับกุมระหว่างการแจกใบปลิวโดยเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์โหวตไม่รับบุคคลทั้ง 13 คน อาจได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและได้รับโทษจาคุกไม่เกินหกเดือนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558
การจับกุมแกนนำนักศึกษาสี่คนและผู้สื่อข่าวหนึ่งคนเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 ทำให้เกิดคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธกิจของรัฐบาลไทยที่มีต่อการเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนก่อนจะถึงการออกเสียงประชามติ บุคคลทั้งห้าได้รับการประกันตัวออกมาโดยถูกแจ้งข้อหาตามมาตรา 61 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มีรายงานข่าวว่า แกนนำนักศึกษาสามคนถูกจับกุมหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจค้นรถยนต์ของพวกเขาที่จังหวัดราชบุรี และพบเอกสารที่ทางการมองว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ มีรายงานว่านายทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวได้ถูกจับกุมเนื่องจากเจ้าหน้าที่พบว่าโดยสารมาในรถคันเดียวกับนักศึกษา แม้ในความจริงเขาทำหน้าที่รายงานข่าว โดยไม่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมของนักศึกษาแต่อย่างใด
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังกังวลกับการที่รัฐบาลดำเนินคดีประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และแกนนำอีก 18 คนของกลุ่มการเมืองนี้ ในข้อหาละเมิดคาสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 โดยทางการได้เข้าไปขัดขวางการจัดพิธีอย่างสงบที่สำนักงานของพวกเขาในระหว่างการเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ทางการยังได้สั่งปิดศูนย์ปราบโกงประชามติทั่วประเทศ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังมีข้อสังเกตว่าภายใต้การปกครองของ คสช. นักกิจกรรม นักการเมือง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและบุคคลอื่น ๆ ถูกจับกุมและดำเนินคดีเพียงเพราะแสดงความเห็นอย่างสงบในประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกเสียงประชามติที่กำลังจะมีขึ้น บุคคลเหล่านี้ประกอบด้วยผู้ที่ประท้วงต่อต้านระบอบทหาร การจัดการชุมนุมเพื่อรำลึกเหตุการณ์ทางการเมือง การล้อเลียนเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และการแสดงความสนับสนุนกลุ่มการเมืองบางแห่ง นอกจากกฎหมายและประกาศคำสั่งข้างต้นแล้ว ยังมีการนำประมวลกฎหมายอาญาของไทยในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการล้มล้างการปกครอง การหมิ่นประมาททางอาญา และการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งพระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ มาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านี้
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ปล่อยตัวและยกเลิกข้อหาต่อบุคคลที่ถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ โดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้ยกเลิกหรือปฏิรูปกฎหมายและประกาศคำสั่งที่จำกัดการใช้สิทธิเหล่านี้เกินกว่าข้อยกเว้นที่กระทำได้ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การขัดขวางการอภิปรายสาธารณะและการตรวจสอบการออกเสียงประชามติ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังกังวลกับการที่รัฐบาลไทยมีคำสั่งห้ามหรือไม่สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น ทางการได้สั่งให้ยกเลิกกิจกรรมหลายอย่างซึ่งเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติที่จะมีขึ้น และมีรายงานว่าทางการยังเฝ้าติดตามและคุกคามบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติอย่างสงบ นอกจากนั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังรู้สึกเสียใจต่อการตัดสินใจของรัฐบาลที่สั่งห้ามการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติของ นปช. รวมทั้งการแจ้งข้อหาต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลเกี่ยวกับรายงานที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้มีถ้อยแถลง ซึ่งขัดแย้งกับพันธกิจของรัฐบาลที่ประกาศไว้ว่าจะสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกกล่าวคือ ในวันที่ 19 เมษายน 2559 มีรายงานข่าวว่านายกรัฐมนตรีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับผู้วิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า
พวกเขาไม่มีสิทธิ์จะบอกว่าไม่เห็นชอบ [กับร่างรัฐธรรมนูญ] … ผมไม่อนุญาตให้ใครจัดอภิปรายหรือจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าพวกเขาขัดขืนคำสั่งของผม ก็จะถูกจับกุมและจาคุก 10 ปี ไม่มีใครได้รับการยกเว้นเมื่อพระราชบัญญัติประชามติจะมีผลบังคับใช้ [ภายหลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา] แม้แต่สื่อก็จะจับ ทำไมพวกคุณไม่เคารพกฎหมาย มาถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอยู่ตลอดเวลา ทำไม?
ในวันที่ 18 เมษายน 2559 มีรายงานว่ารองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณให้สัมภาษณ์ว่า
“คุณจะชอบหรือไม่ชอบ [ร่างรัฐธรรมนูญ] แต่อย่าแสดงออกมา [ต่อสาธารณะ] ให้เก็บไว้ในใจของคุณเอง คนที่ใส่เสื้อ “โหวตโน” หรือ “โหวตเยส” ก็ต้องถูกจับถอดเหมือนกัน"
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องรัฐบาลไทยให้สนับสนุนและคุ้มครองอย่างเต็มที่เพื่อให้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างเสรี และสร้างบรรยากาศที่ช่วยให้บุคคลและกลุ่มต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดและแสดงความเห็นได้อย่างมั่นใจเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กาลังจะมีขึ้น
พันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ในฐานะรัฐภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights -ICCPR)ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องเคารพ คุ้มครอง และปฏิบัติให้เป็นผลซึ่งสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ
แม้ว่ากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอนุญาตให้รัฐสามารถออกมาตรการจำกัดบางประการต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม แต่การจำกัดสิทธิเหล่านั้นกระทาได้เมื่อ (1) เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย (2) มุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะบางประการ รวมทั้งความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ และการคุ้มครองการสาธารณสุขหรือศีลธรรมอันดี หรือสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และ (3) มีความจาเป็นอย่างเห็นได้ชัดเพื่อเป้าประสงค์ดังกล่าว การจำกัดสิทธิใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับข้อกาหนดเหล่านี้ ย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิเหล่านั้น
ในส่วนของเสรีภาพในการแสดงออกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Committee) ได้กล่าวไว้ว่า
กรณีที่รัฐภาคีอ้างความชอบธรรมเพื่อจากัดเสรีภาพในการแสดงออก ต้องมีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน เฉพาะเจาะจง เป็นรายกรณีไปถึงภัยคุกคาม และความจำเป็น รวมทั้งความได้สัดส่วนของมาตรการที่นำมาใช้นั้น โดยเฉพาะการพิสูจน์ให้เห็นความเชื่อมโยงโดยตรงและอย่างชัดเจนระหว่างการแสดงออกกับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลอย่างยิ่งต่อเนื้อหาของกฎหมายและประกาศคำสั่งที่กล่าวถึงในรายงานฉบับย่อนี้ และการบังคับใช้ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกาหนดเหล่านี้ ส่งผลให้มีรายงานว่ารัฐบาลไทยละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการจับกุม การดำเนินคดี และการคุมขังผู้ที่ใช้สิทธิของตน และยังสร้างบรรยากาศซึ่งทำให้ประชาชนหวาดกลัว ไม่กล้าแสดงความเห็นทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญหรือประเด็นสาธารณะโดยทั่วไป
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ไขข้อกังวลที่ดำรงอยู่มายาวนานในบันทึกนี้ และประกันว่าการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญซึ่งกำลังจะมีขึ้น จะจัดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่บุคคลทุกคนสามารถใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบได้