เมื่อตำรวจถูกบังคับให้ปฏิรูปตนเอง
การกำชับและคาดโทษของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงเป็นแต่เพียงการขานรับนโยบายการปฏิรูปตำรวจพอเป็นพิธี และหากพยายามปฏิบัติ ก็ จะเป็นเพียงการพายเรือในอ่างอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคงไม่ได้ผลอย่างใด นอกเสียจากนายกรัฐมนตรีหัวหน้า คสช.จะพิจารณาและตัดสินใจ ใช้อำนาจพิเศษบันดาลให้เกิดขึ้นเท่านั้น
หนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าวว่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะ หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนและประสานงานการปฏิรูปตำรวจได้แถลงว่า
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เร่งรัดให้ทุก หน่วยดำเนินการปฏิรูปการทำงานในส่วนต่างๆ ของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อสนองนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีีและ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ พล.อ.ประวิตร วงษ์ สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใน ฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
พล.ต.อ.พงศพัศกล่าวว่า แนวทางการปฏิรูปตามนโยบายดังกล่าวมี 10 ประเด็น ประกอบด้วยการปรับปรุงการบริหารงานบุคคล การกระจาย อำนาจการปฏิบัติงาน การพัฒนาระบบงานสอบสวน และการบังคับใช้กฎ หมาย ค่าตอบแทนและสวัสดิการ การจัดหาอุปกรณ์ประจำกายและประจำ หน่วยที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน การ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและการทำงานร่วมกับท้องถิ่น การ จัดระบบนิติวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเหลืองานด้านการอำนวยความยุติธรรม การสรรหาและฝึกอบรมข้าราชการตำรวจให้มีความพร้อมในการทำงาน และการถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่งานในหน้าที่หลักของสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ
พล.ต.อ.พงศพัศกล่าวด้วยว่าการปฏิรูปตำรวจทั้ง 10 ประเด็นนั้น จะ ต้องทำให้เสร็จภายในกรอบระยะเวลา 3 ช่วง คือในระยะเร่งด่วน 1 ปี ระยะ กลาง 5 ปี และระยะยาว 20 ปี และการปฏิรูปในทุกประเด็นต้องขับเคลื่อน ไปพร้อมๆ กัน โดยมีแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการที่ชัดเจนอยู่แล้ว และขอยืนยันว่า ผู้บัญชา การตำรวจแห่งชาติได้กล่าวไว้ชัดเจนในการประ ชุมเชิงปฏิบัติการต่อหน้าหัวหน้าหน่วยทุกระดับที่เกี่ยวข้องว่า หากพบ ว่าหัวหน้าหน่วยใดไม่ ดำเนินการตามแนวทางและกรอบระยะของการ ปฏิรูปที่กำหนดไว้ จะพิจารณาข้อบกพร่อง และหากจำเป็นก็จะพิจารณา โยกย้ายผู้นั้นและสรรหาผู้อื่นเข้าไปทำหน้าที่แทน เนื่องจากการปฏิรูป เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่ต้องดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่าง ชัดเจนในทุกๆ ประเด็น
การแถลงของ พล.ต.อ.พงศพัศไม่มีอะไรใหม่หรือเกินความคาดหมาย เพราะเมื่อเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ไม่มี ทางเลือกนอกจากจะต้องสนองนโยบายนั้น แต่ที่น่าสังเกตนั้นคือการคาด โทษหัวหน้าหน่วยว่าหากไม่ดำเนินการตามแนวทางและกรอบเวลาของการ ปฏิรูปก็จะถือเป็นความบกพร่อง และโยกย้ายแล้วหาผู้อื่นไปทำหน้าที่แทน
ที่ว่าน่าสังเกตก็เพราะว่าการปฏิรูปทั้ง 10 ประเด็นนั้น แทบทุกประ เด็น เป็นเรื่องที่หัวหน้าหน่วยที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้ ด้วยตนเอง เช่นการกระจายอำนาจการปฏิบัติงาน การปรับค่าตอบแทน และสวัสดิการ การจัดหาอุปกรณ์ประจำกายและประจำหน่วย เพราะล้วน เกี่ยวพันกับงบประมาณ ที่จะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐสภาและจัดสรรโดย ผู้บังคับบัญชา และอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจของหัวหน้าหน่วยโดยสิ้น เชิง ก็คือการถ่ายโอนภารกิจที่มิใช่งานหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สิ่งที่หัวหน้าหน่วยต่างๆจะทำได้ก็คือ ศึกษาวิเคราะห์แนวการปฏิรูป ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี แล้วเสนอแนะต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติว่าควรจะทำอะไรได้อย่างใดเพียงใดหรือไม่ อันเป็นสิ่งที่ได้เคยทำกันมา แล้วซ้ำๆซากๆหลายหนหลายครั้ง
การกำชับและคาดโทษของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงเป็นแต่เพียงการขานรับนโยบายการปฏิรูปตำรวจพอเป็นพิธี และหากพยายามปฏิบัติ ก็ จะเป็นเพียงการพายเรือในอ่างอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคงไม่ได้ผลอย่างใด นอกเสียจากนายกรัฐมนตรีหัวหน้า คสช.จะพิจารณาและตัดสินใจ ใช้อำนาจพิเศษบันดาลให้เกิดขึ้นเท่านั้น.