เหมืองทองคำ : นรกสำหรับประชาชน
ในไม่ช้าเหมืองแร่เหล่านั้นจะแสดงพิษร้าย เช่นเดียวกับที่เคยแสดงมาแล้วในต่างประเทศ และเหมืองทองคำกับเหมือง แร่ชนิดอื่นจะกลายเป็นนรกสำหรับคนไทย...
ประเทศไทยของเราทั้งประเทศอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุนานาชนิด เช่น ถ่านหิน ลิกไนต์ พลวง เหล็ก สังกะสี โปแตช ทองแดง และทองคำ บริษัทต่างประเทศหลายประเทศได้สัมปทาน และเข้ามาประกอบอุตสาห กรรมเหมืองแร่อยู่ในเมืองไทยเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่ ค่อยรู้กันกว้างขวางนักก็คือ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ทำกันอยู่นั้นแทบทุก ชนิดเป็นภัยอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และต่อสุขภาพอนามัยของคนไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเหมืองแร่
ตั้งแต่ปี 2549 บริษัท อัคราไมนิ่งและบริษัทอื่นอีก 2 บริษัทได้รับ อาชญาบัตรพิเศษให้สำรวจแร่ทองคำและเงินในเขตจังหวัดพิจิตร เพชร บูรณ์ และพิษณุโลกในเนื้อที่หลายพันไร่ การสำรวจทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติ เหือดแห้ง ชาวบ้านขาดน้ำสำหรับใช้ทำเกษตรกรรม ชาวบ้านต้องซื้อน้ำดื่ม น้ำใช้ ร้ายยิ่งกว่านั้น การสำรวจทำให้เกิดมลพิษทางฝุ่นและเสียงและจาก แรงสั่นสะเทือนของการระเบิดหิน สารพิษจากสารหนู ไซยาไนด์ และแมง กานิสที่บริษัทใช้ในการแยกทองคำออกจากแร่ชนิดอื่น ปนเปื้อนลงสู่ดิน และแหล่งน้ำ
ทำให้ชาวบ้านเจ็บป่วย สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ตรวจเลือด และปัสสาวะของชาวบ้านตำบลท้ายเหมือง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงเหมืองแร่ และพบว่ามีสารหนูสูงเกินค่ามาตรฐาน และผล การตรวจสมาชิกในครอบครัวก็ปรากฏว่าเป็นเช่นเดียวกันทั้งหมด ชาวบ้าน ใน 3 จังหวัดมีอาการเจ็บป่วยมากกว่า 600 คน
ในปี พ.ศ.2557 ประชาชนอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรที่ได้รับความ กระทบกระเทือนจากการทำเหมืองแร่ได้ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กับบริษัทอัคราไมนิ่งจำกัด หรือบริษัทอัครารีซอร์สเซสจำกัด (ชื่อใหม่) ต่อศาลปกครองพิษณุโลกใน ข้อหาละเลยต่อหน้าที่ ปล่อยให้บริษัทสร้างบ่อทิ้งเก็บกากแร่และประกอบ โลหกรรมส่วนย่อยโดยไม่ชอบหรือไม่ได้รับอนุญาตจากราชการ ออกโฉนด ที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยไม่ดูแลทางสาธารณประโยชน์ และศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้ทางราชการและบริษัทแก้ไขเปลี่ยน แปลงการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปตามฟ้องของประชาชน แต่คำพิพากษา ของศาลก็มีผลเพียงชะลองานของบริษัทไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น มิ หนำซ้ำบริษัทยังฟ้องผู้ประท้วงฐานหมิ่นประมาทเสียด้วย
เหมืองทองในต่างประเทศเคยสำแดงพิษร้ายแรงของมันมาแล้ว กรณี ตัวอย่างเกิดขึ้นในปี 2543 ในเมืองบาจามาเร (Baia Mare) ประเทศโรมาเนีย เมื่อบ่อกากไซยาไนด์จากเหมืองทองคำรั่วแตกทำให้ไซยาไนด์และโลหะ หนักไหลลงสู่ชุมชนและแม่น้ำทิซา (Tiza) ซึ่งไหลผ่านโรมาเนียและฮังการี ทำให้ประชาชนจำนวนมากป่วยและเสียชีวิต ที่สำคัญคือสิ่งมีชีวิตในน้ำ คือ กุ้ง หอย ปู ปลา และแม้กระทั่งแบคทีเรียตายลงเป็นจำนวนล้านตัว แม้แต่ นกที่กินน้ำในแม่น้ำก็ตายด้วย แม่น้ำทิซากลายเป็นแม่น้ำที่ปราศจากสิ่งมี ชีวิตอย่างสิ้นเชิง ต้องใช้เวลากว่าสิบปีจึงฟื้นฟูให้คืนสู่สภาพเดิมได้
ขณะที่เขียนเรื่องนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังพิจารณาคำร้องของ บริษัทอัคราไมนิ่ง ที่ขอต่ออายุใบอนุญาตการประกอบโรงงานโลหะอุตสาห กรรม (ทองคำ) และเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศและเครือข่ายภาค ประชาชนอื่นๆได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการต่ออายุใบอนุญาตนั้น
เนื่องจากที่แล้วมา บริษัทเอกชนผู้ได้รับสัมปทานไม่ได้แก้ไขและป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ อนามัย เรื่องมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องการทำลายวิถีชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชน
ถ้าหากรัฐบาลเห็นแก่ประโยชน์ที่ได้จากการอนุมัติให้บริษัททำเหมืองแร่ในประเทศไทย ก็น่าวิตกว่า ในไม่ช้าเหมืองแร่เหล่านั้นจะแสดงพิษร้าย เช่นเดียวกับที่เคยแสดงมาแล้วในต่างประเทศ และเหมืองทองคำกับเหมือง แร่ชนิดอื่นจะกลายเป็นนรกสำหรับคนไทยจำนวนไม่น้อย และเป็นภาระอัน หนักหนาสาหัสสำหรับรัฐบาลเองในที่สุด.