แพร่แล้ว! ร่างสุดท้าย รธน.ใหม่ ส.ว.แต่งตั้ง 5 ปี 250 คน-มี กก.ปฏิรูป ตร.
แพร่เป็นทางการ! ร่างสุดท้าย รธน.ใหม่ ฉบับ ’21 อรหันต์’ 279 มาตรา ยังคงให้ ส.ว.แต่งตั้ง 5 ปี 250 คน ตั้ง กก.ปฏิรูปตำรวจ-ระบบการศึกษา พรรคการเมืองเสนอบุคคลเป็นนายกฯหรือไม่ก็ได้ สนช.-คสช. ทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก-มีรัฐบาลใหม่
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ ได้เผยแพร่ร่างสุดท้าย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จำนวน 279 มาตรา ให้ประชาชนได้อ่านรายละเอียดแล้ว
โดยมีมาตราสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อบุคคลที่จะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือไม่เสนอก็ได้ ซึ่งมาตรา 88 ระบุว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป ใหพรรคการเมืองที่สงผูสมัครรับเลือกตั้งแจงรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติวาจะเสนอใหสภาผูแทนราษฎรเพื่อพิจารณาใหความเห็นชอบแตงตั้งเปนนายกรัฐมนตรีไมเกินสามรายชื่อตอคณะกรรมการการเลือกตั้งกอนปดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และใหคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกลาวใหประชาชนทราบ แต่พรรคการเมืองจะไมเสนอรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได
ส่วนในบทเฉพาะกาล ยังระบุด้วยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะยังคงทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะยังคงทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ดังมาตรา มาตรา 263 ในระหวางที่ยังไมมีสภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ใหสภานิติบัญญัติแหงชาติที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ยังคงทําหนาที่รัฐสภา สภาผูแทนราษฎร และวุฒิสภาตอไป และใหสมาชิกสภานิติบัญญัติแหงชาติซึ่งดํารงตําแหนงอยูในวันกอนวันประกาศใชรัฐธรรมนูญนี้ ทําหนาที่เปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ตามลําดับ ตามบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญนี้ และใหสภานิติบัญญัติแหงชาติและสมาชิกสภานิติบัญญัติแหงชาติสิ้นสุดลงในวันกอนวันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญนี้ โดยหน้าที่ของ สนช. คือทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกันหากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว สนช. สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีได้ด้วย เพราะบทเฉพาะกาล ระบุว่า มิใหนํามาตรา 112 มาใชบังคับแกการดํารงตําแหนงรัฐมนตรีของสมาชิกสภานิติบัญญัติแหงชาติ
โดย มาตรา 112 ระบุว่า บุคคลผูเคยดํารงตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแลวยังไมเกินสองป จะเปนรัฐมนตรีหรือผูดํารงตําแหนงทางการเมืองมิไดเวนแตเปนสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผูบริหารทองถิ่น
ส่วน คสช. มาตรา 265 ระบุว่า ใหคณะรักษาความสงบแหงชาติที่ดํารงตําแหนงอยูในวันกอนวันประกาศใชรัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยูในตําแหนงเพื่อปฏิบัติหนาที่ตอไปจนกวาคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหมภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเขารับหนาที่ พร้อมทั้งหัวหน้า คสช. และ คสช. จะยังมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ด้วย และมิให้นำมาตรา 112 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน
รวมไปถึงให้มี ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง แบ่งเป็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสรรหา 200 คน ให้ คสช. คัดเหลือ 50 คน และมีคณะกรรมการสรรหา 400 คน ให้ คสช. คัดเหลือ 200 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
โดยมาตรา 269 ระบุว่า ในวาระเริ่มแรก ใหวุฒิสภาประกอบดวยสมาชิกจํานวนสองรอยหาสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริยทรงแตงตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแหงชาติ ถวายคําแนะนํา โดยในการสรรหาและแตงตั้งให้ดําเนินการตามหลักเกณฑและวิธีการ ดังตอไปนี้
(1) ใหมีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่งซึ่งคณะรักษาความสงบแหงชาติแตงตั้งจากผูทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรูและประสบการณในดานตาง ๆ และมีความเปนกลางทางการเมือง จํานวนไมนอยกวาเกาคนแตไมเกินสิบสองคน มีหนาที่ดําเนินการสรรหาบุคคลซึ่งสมควรเปนสมาชิกวุฒิสภา ตามหลักเกณฑและวิธีการ ดังตอไปนี้
(ก) ใหคณะกรรมการการเลือกตั้งดําเนินการจัดใหมีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 107 จํานวนสองรอยคนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการไดมาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยใหดําเนินการใหแลวเสร็จกอนวันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรตามมาตรา 268 ไมนอยกวาสิบหาวัน แลวนํารายชื่อเสนอตอคณะรักษาความสงบแหงชาติ
(ข) ใหคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกบุคคลผูมีความรูความสามารถที่เหมาะสมในอันจะเปนประโยชนแกการปฏิบัติหนาที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศมีจํานวนไมเกินสี่รอยคน ตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภากําหนดแลวนํารายชื่อเสนอตอคณะรักษาความสงบแหงชาติ ทั้งนี้ ตองดําเนินการใหแลวเสร็จไมชากวาระยะเวลาที่กําหนดตาม (ก)
(ค) ใหคณะรักษาความสงบแหงชาติคัดเลือกผูไดรับเลือกตาม (ก) จากบัญชีรายชื่อที่ไดรับจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ใหไดจํานวนหาสิบคน และคัดเลือกรายชื่อสํารองจํานวนหาสิบคน โดยการคัดเลือกดังกลาวใหคํานึงถึงบุคคลจากกลุมตาง ๆ อยางทั่วถึง และใหคัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อที่ไดรับการสรรหาตาม (ข) ใหไดจํานวนหนึ่งรอยเกาสิบสี่คนรวมกับผูดํารงตําแหนงปลัดกระทรวงกลาโหม ผูบัญชาการทหารสูงสุด ผูบัญชาการทหารบก ผูบัญชาการทหารเรือ ผูบัญชาการทหารอากาศ และผูบัญชาการตํารวจแหงชาติเปนสองรอยหาสิบคน และคัดเลือกรายชื่อสํารองจากบัญชีรายชื่อที่ไดรับการสรรหาตาม (ข) จํานวนหาสิบคน ทั้งนี้ ใหแลวเสร็จภายในสามวันนับแตวันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรตามมาตรา 268
(2) มิใหนําความในมาตรา 108 ข. ลักษณะตองหาม (6) ในสวนที่เกี่ยวกับการเคยดํารงตําแหนงรัฐมนตรีมาใชบังคับแกผูดํารงตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาซึ่งไดรับสรรหาตาม (1) (ข) และมิใหนําความในมาตรา 108 ข. ลักษณะตองหาม (2) มาตรา 184 (1) และมาตรา 185 มาใชบังคับแกผูซึ่งไดรับแตงตั้งใหเปนสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหนง
(3) ใหคณะรักษาความสงบแหงชาตินํารายชื่อบุคคลซึ่งไดรับการคัดเลือกตาม (1) (ค) จํานวนสองรอยหาสิบคนดังกลาวขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาโปรดกระหมอมแตงตั้งตอไป และใหหัวหนาคณะรักษาความสงบแหงชาติเปนผูลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
(4) อายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนดหาปนับแตวันที่มีพระบรมราชโองการแตงตั้ง สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแตวันที่มีพระบรมราชโองการแตงตั้ง ถามีตําแหนงวางลง ใหเลื่อนรายชื่อบุคคลตามลําดับในบัญชีสํารองตาม (1) (ค) ขึ้นเปนสมาชิกวุฒิสภาแทนโดยใหประธานวุฒิสภาเปนผูดําเนินการและเปนผูลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
สําหรับสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหนง เมื่อพนจากตําแหนงที่ดํารงอยูในขณะไดรับแตงตั้งเปนสมาชิกวุฒิสภาก็ใหพนจากตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาดวย และใหดําเนินการเพื่อแตงตั้งใหผูดํารงตําแหนงนั้นเปนสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหนงแทน ใหสมาชิกวุฒิสภาที่ไดรับแตงตั้งใหดํารงตําแหนงแทนตําแหนงที่วาง อยูในตําแหนงเทาอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู
(5) ในระหวางที่ยังไมมีพระบรมราชโองการแตงตั้งบุคคลในบัญชีรายชื่อสํารองขึ้นเปนสมาชิกวุฒิสภาแทนตําแหนงที่วางตาม (4) หรือเปนกรณีที่ไมมีรายชื่อบุคคลเหลืออยูในบัญชีสํารอง หรือไมมีผูดํารงตําแหนงที่เปนสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหนง ไมวาดวยเหตุใดใหวุฒิสภาประกอบดวยสมาชิกวุฒิสภาเทาที่มีอยู
(6) เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงตาม (4) ใหดําเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 107 ตอไป และใหนําความในมาตรา 109 วรรคสามมาใชบังคับโดยอนุโลม
นอกจากนี้ยังมีเรื่องการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ และคณะกรรมการปฏิรูประบบการศึกษา โดย ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 260 ระบุว่า ในการแกไขปรับปรุงกฎหมายตามมาตรา 258 (ดานกระบวนการยุติธรรม) ใหมีคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งคณะรัฐมนตรีแตงตั้ง ประกอบดวย
(1) ผูทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรูความซื่อสัตยสุจริตและเที่ยงธรรมเปนที่ประจักษและไมเคยเปนขาราชการตํารวจมากอนเปนประธาน
(2) ผูเปนหรือเคยเปนขาราชการตํารวจซึ่งอยางนอยตองมีผูบัญชาการตํารวจแหงชาติรวมอยูดวย มีจํานวนตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด เปนกรรมการ
(3) ผูทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรูความซื่อสัตยสุจริตและเที่ยงธรรมเปนที่ประจักษและไมเคยเปนขาราชการตํารวจมากอน มีจํานวนเทากับกรรมการตาม (2) เปนกรรมการ
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด เปนกรรมการ
ใหคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งดําเนินการใหแลวเสร็จภายในหนึ่งปนับแตวันประกาศใชรัฐธรรมนูญนี้ เมื่อครบกําหนดเวลาตามวรรคสองแลว ถาการแกไขปรับปรุงกฎหมายดังกลาวยังไมแลวเสร็จใหการแตงตั้งโยกยายขาราชการตํารวจดําเนินการตามหลักอาวุโสตามหลักเกณฑที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และมาตรา 261 ในการปฏิรูปตามมาตรา 258 (ดานการศึกษา) ใหมีคณะกรรมการที่มีความเปนอิสระคณะหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีแตงตั้งดําเนินการศึกษาและจัดทําขอเสนอแนะและรางกฎหมายที่เกี่ยวของในการดําเนินการใหบรรลุเปาหมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีดําเนินการตอไป
ใหคณะรัฐมนตรีแตงตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งใหแลวเสร็จภายในหกสิบวันนับแตวันประกาศใชรัฐธรรมนูญนี้ และใหคณะกรรมการดําเนินการศึกษาและจัดทําขอเสนอแนะและรางกฎหมายใหแลวเสร็จและเสนอตอคณะรัฐมนตรีภายในสองปนับแตวันที่ไดรับการแตงตั้ง
ดูร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม : http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=429&filename=index