สารจากอังคณา -บังคับสูญหาย (ทนายสมชาย) กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรม
วันนี้ 12 ปี ของการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ในฐานะเหยื่อเเละพยานของการบังคับสูญหายในประเทศไทย ดิฉันยืนยันได้ว่า กรณีการบังคับสูญหาย กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรม
หมายเหตุ:นางอังคณา นีละไพจิตร เผยเเพร่ความเห็นต่อคำพิพากษาศาลฎีกา กรณีการบังคับสูญหายนายสมชาย นีละไพจิตร ในฐานะครอบครัว เนื่องในวาระครบรอบ 12 ปี การสูญหายนายสมชาย
1.ขอชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้ลงนามอนุสัญญาการบังคับสูญหายของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 เเละขอขอบคุณที่รัฐบาลให้การเยียวยาครอบครัวสมชาย นีละไพจิตร เเละครอบครัวหายใน จชต.
2.ในฐานะประชาชนคนไทย ดิฉันมีหน้าที่ต้องเคารพกฎหมาย เเละด้วยความเคารพต่อสถาบันตุลาการ การเเสดงความเห็นต่อไปนี้เป็นการเเสดงความเห็นในฐานะครอบครัวเหยื่อ ในฐานะของผู้หญิงคนหนึ่งที่เฝ้าสังเกตการณ์คดีสมชาย ตั้งเเต่วันเเรกที่สมชายถูกทำให้สูญหาย จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เเละถึงวันที่ วันครบรอบ 12 ปี ที่สมชาย นีละไพจิตรยังคงเป็นผู้สูญหาย ที่ปราศจากรับผิดชอบจากรัฐ
3.การเเสดงความคิดเห็นของดิฉันไม่มีเจตนาใดที่จะดูหมิ่นกระบวนการยุติธรรม ดิฉันไม่มีเจตนาใดที่จะก้าวล่วงต่อความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการ เเต่ดิฉันมีเจตนาเเน่วเเน่ ในการก่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้คนในสังคมของนักเรียนกฎหมาย ครูสอนกฎหมาย เเละบุคลากรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม ในอันที่ทบทวนปัญหาข้อบกพร่องของข้อกฎหมาย เเละข้อเท็จจริงที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรมของเหยื่อ ความล้มเหลวในการหาตัวผู้สูญหาย เเละการนำคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
4.ดิฉันเชื่อด้วยหัวใจบริสุทธิ์ว่าการวิเคราะห์นี้จะเป็นคุณูปการสำคัญในการพัฒนากฎหมาย เเละเพื่อสร้างความเป็นนิติรัฐให้เกิดขึ้นจริง
ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียง
1.นายสมชาย นีละไพจิตร ประกอบวิชาชีพทนายความ เเละเป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ก่อนเกิดเหตุสมชายให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาเเละเป็นทนายให้เเก่จำเลยในคดีความมั่นคงของรัฐหลายคดี
2.วันที่ 12 มีนาคม 2547 เวลา 20.30 น. มีชายคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้กำลังบังคับนายสมชาย ขึ้นรถยนต์ของคนร้าย โดยนายสมชายหายตัวไปจนกระทั่งบัดนี้
ปัญหาที่ยังคลุมเครือ
ภรรยาเเละบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสมชายมีสิทธิขอเป็นผู้เสียหายได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้เเล้วใครจะเป็นผู้เสียหายคดีการบังคับสูญหาย
พยานหลักฐานเเละประจักษ์พยานในคดี
1)ประจักษ์พยาน
2.กรณีมีคำเบิกความว่ามีตำรวจนายหนึ่ง เห็นตำรวจกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันที่กองปราบ โดยเล่าว่า "จะไปอุ้มทนายโจร" ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ (อัยการ) ไม่ได้นำตำรวจนายนั้นมาเบิกความต่อหน้าศาล จึงไม่มีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ
3) ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ที่เเสดงว่าจำเลยติดตามนายสมชายตั้งเเต่เช้าวันที่ 12 มีนาคม จนถึงเวลา 20.30 น.
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ เเละศาลฎีกา เห็นพ้องกันว่าเอกสารไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร เเต่เป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายมาโดยไม่มีของบริษัทลงนามรับรองว่าถูกต้อง ประกอบกับโจทก์ไม่ได้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงมาเบิกความยืนยันความถูกต้องของเอกสาร จึงเป็นพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
ศาลฎีกา โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ผู้ใช้โทรศัพท์ติดต่อถึงกัน เป็นส่วนหนึ่งของเเผนการคบคิดเพื่อกระทำผิดตามฟ้อง
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์จึงเลื่อนลอยฟังไม่ขึ้น
4) ในส่วนข้อความลักทรัพย์ ศาลฎีกา-เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่พบทรัพย์สินของโจทก์อยู่ในความครอบครองของจำเลย
5)การตรวจพิสูจน์รถ
สรุป
ในฐานะของเหยื่อ ในฐานะผู้เสียหายในคดีการบังคับสูญหาย ที่สังเกตการณ์คดีสมชาย นีละไพจิตร มานับเเต่เริ่มเปิดการพิจารณาคดี ในฐานะที่ได้อ่านเเละศึกษาเอกสารทุกเเผ่น ในฐานะที่เผชิญกับการคุกคาม ทั้งก่อนที่นายสมชายจะหายตัวไป เเละภายหลังจากที่นายสมชายถูกอุ้มหายไปเเล้ว ดิฉันขอสรุปประสบการณ์การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมคดีหน่วงเหนี่ยว กักขัง สมาชาย นีละไพจิตรว่า
-มันไม่ใช่เหตุผลที่จะรับฟังได้ว่า รัฐไม่อาจให้ความเป็นธรรม เพราะไม่มีศพ หรือเพราะไม่มีกฎหมาย หรือเพราะผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
-มันไม่ใช่เหตุผลที่จะรับฟังได้ว่า การชดเชยด้วยเงินสามารถทดเเทนความยุติธรรม เเละความรับผิดชอบของรัฐ
ในโอกาส 12 ปี การบังคับสูญหาย สมชาย นีละไพจิตร ดิฉัน
-ขอเรียกร้องกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่รับคดีฆาตกรรมสมชาย เป็นคดีพิเศษมาตั้งเเต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 ให้เร่งรัดการสืบสวนสอบสวนเพื่อนำคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
-ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้รีบเร่งให้สัตยาบันว่าด้วยการคุ้มครองบุคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับขององค์การสหประชาชาติโดยทันที
-ขอให้รัฐบาลรีบเร่งดำเนินการให้มีกฎหมายภายในประเทศที่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับบุคคลสูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง จนกว่าจะทราบที่อยู่เเละชะตากรรมของผู้สูญหายให้ครอบครัวมีสิทธิที่จะดำเนินการในการเเทนกับผู้สูญหายให้มีการเปิดเผยความจริง ฟื้นฟูเยียวยาครอบครัวเเละคืนความเป็นธรรมให้กับเหยื่อทุกคน
-ขอให้รัฐบาลเชิญคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติเข้ามาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
เเละเเม้ดิฉันจะมีความเข้มเเข็งเเละกล้าหาญ เเต่ดิฉันรับรู้ได้ดีถึงความทุกข์ทรมานจากการสูญเสีย การมีชีวิตอยู่กับความคลุมเครือเเละการถูกคุกคาม เเละในท่ามกลางประสบการณ์ที่พ่ายเเพ้เเละเจ็บปวดระหว่าง 12 ปี ของการต่อสู้คดีอย่างเปิดเผยในศาล ดิฉันเชื่อว่าคดีสมชายได้สร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่เเก่สังคมไทย เเก่กระบวนการยุติธรรมไทย อย่างที่ดิฉันเน้นย้ำว่าสิ่งที่ดิฉันพูดมาทั้งหมดไม่มีเจตนาในการกล่าวหาใคร หรือหน่วยงานใด
หากเเต่ดิฉันเชื่อว่าการพูดความจริง การยอมรับความจริง ซึ่งเเม้จะเป็นความล้มเหลว เป็นความบกพร่อง เเต่มันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงที่ยิ่งใหญ่ เพื่อเกิดการสร้างความตระหนักให้เกิดความพยายามในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเเละยุติวัฒนธรรมการงดเว้นโทษในสังคมไทยต่อไป
วันนี้ 12 ปี ของการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ในฐานะเหยื่อเเละพยานของการบังคับสูญหายในประเทศไทย ดิฉันยืนยันได้ว่า กรณีการบังคับสูญหาย กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรม