ว่าด้วยการชดใช้ทุนการศึกษาของรัฐ
"..ก่อนเซ็นสัญญา ผู้รับทุนจึงรู้ดีว่า ถ้าฝ่าฝืนสัญญา เช่น เรียนจบแล้ว ไม่กลับมาทำงานใช้ทุน เป็นต้นผู้รับทุนต้องรับผิดชดใช้เงินทุนตามที่สำนักงาน ก.พ. ได้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น กับใช้เงินอีกสองเท่าของจำนวนเงินทุนดังกล่าว..."
ผู้บริหารจัดการทุนของรัฐเพื่อการศึกษาในต่างประเทศตามความต้องการของหน่วยราชการ คือ สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ทุน ก.พ.) ที่ดูแลเงินค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนไปศึกษาในต่างประเทศ ค่าเดินทาง ค่าเล่าเรียน ค่าฝึกงาน ค่าดูงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะต้องจ่ายตามระเบียบ และเพื่อป้องกันความเสียหายใด ๆ จากการใช้เงินภาษีของประชาชน
ผู้รับทุนจึงต้องทำ ‘สัญญารับทุน ก.พ. เพื่อศึกษาวิชาในต่างประเทศ’ และถ้าผู้รับทุนไม่รับผิดชอบ ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นผู้ชดใช้เงินแทน
ก่อนเซ็นสัญญา ผู้รับทุนจึงรู้ดีว่า ถ้าฝ่าฝืนสัญญา เช่น เรียนจบแล้ว ไม่กลับมาทำงานใช้ทุน เป็นต้น
ผู้รับทุนต้องรับผิดชดใช้เงินทุนตามที่สำนักงาน ก.พ. ได้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น กับใช้เงินอีกสองเท่าของจำนวนเงินทุนดังกล่าว
เงื่อนไขนี้ หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ เช่น สถาบันการศึกษา ถ้าบริหารจัดการเงินทุนด้วยตนเอง ก็ต้องใช้ระเบียบที่ใกล้เคียงกันกับของ ก.พ.
ประเด็นจึงอยู่ที่ ‘ผู้ขอรับทุน’ รู้ตัวล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ก่อนเซ็นสัญญา
การอ้างว่าต้องชดใช้ทุนที่สูงมากถึงสามเท่า ‘ไม่เป็นธรรม’ จึงไม่ใช้นั้น ฟังไม่ขึ้น
แต่ที่แน่ ๆ คือ ‘ไม่เป็นธรรม’ กับผู้ค้ำประกันที่เห็นแก่มนุษยธรรม เห็นแก่อนาคตของชาติ ที่ปรารถนาดีว่า ผู้รับทุนเมื่อศึกษาจบแล้ว จะกลับมาร่วมกันสร้างคนไปสร้างชาติ
ก็ถ้าเห็นการชดใช้ทุน (ซึ่งที่ถูกคือเงินทุนที่สถาบันการศึกษาจ่ายไป กับอีกสองเท่าของเงินทุนที่สถาบันการศึกษาได้จ่ายไปแล้ว) ว่าไม่เป็นธรรมแล้ว ทำไมจึงยังรับเงินทุนไปเรียนจนจบอีกเล่า หรือมีเจตนาที่จะไม่จ่ายคืนตั้งแต่แรก
ประการสำคัญ เมื่อไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำเสียแล้ว จะมีจริยธรรมต่อวิชาชีพที่เรียนจบมาได้อย่างไร
(ภาพประกอบ: ocsc.go.th)