นโยบายดีต้องใจเย็น! รมช.ศธ.หนุนเด็กไทยคิดเคราะห์ สร้างฐานผู้เรียนทันโลก
รมช.ศธ. แนะนโยบายที่ดีต้องใจเย็น หนุนเสริมแนวคิดการส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ สร้างรากฐานให้ผู้เรียนก้าวทันโลก
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ รร.ปทุมวัน ปริ้นเซส องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจเเละการพัฒนา (องค์การ OECD) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานส่งเสริมสังคมเเห่งการเรียนรู้เเละคุณภาพเยาวชน (สสค.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี (สสวท.), มูลนิธิยุวสถิรคุณ, มูลนิธิสยามกัมมาจล เเละม.ศรีปทุม จัดงานดินเนอร์ทอล์ค ห้วข้อ "งานในศตวรรษ 21st เมื่อโลกต้องการแรงงานทักษะ soft skill มากกว่า Hard Skill ในตลาดแรงงงานยุคไร้พรมแดน" โดยมี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธาน
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า สิ่งที่กำลังทำตลอด คือ การใช้หลักคิดเเบบมีเหตุผล ( critical thinking) และการรู้จักแก้ปัญหา (solving) โดยเริ่มอบรมครูในกระบวนการเหล่านี้ไปแล้ว เพื่อให้ครูมีส่วนร่วมในกระบวนการผ่านการฝึกทดลองจริง ไม่ใช่ผ่านโปรแกรมนำเสนอ (power point)
"เราทำ 8 โรงเรียนที่ดอยตุง จ.เชียงราย 4 โรงเรียน ในกรุงเทพฯ และ 1 มหาวิทยาลัย โดยเชิญองค์กรภายนอกมาเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ปรากฏว่ามีแรงกระเพื่อมมากกว่าที่กระทรวงศึกษาฯ จัดทำเองด้วยซ้ำ" รมช.ศธ.กล่าว เเละว่า คำถามต่อมาหลังจากกระบวนการนี้ เราถึกถักไปเองหรือไม่ว่าประสบความสำเร็จ เเละมีผลสำฤทธิ์ออกมาจริงหรือไม่ ครูที่เข้าอบรมได้มีการนำไปใช้งานอย่างไร เเละเด็กเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ได้มากน้อยเเค่ไหน
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า นโยบายหลายอย่างต้องการการทดลองก่อน เพื่อดูว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ก่อนกำหนดเป็นนโยบาย ส่วนตัวจึงไม่ชอบโครงการนำร่อง เพราะโครงการที่คาดว่าจะช่วยขยายผลต่อไป ในที่สุดก็ติดอยู่ในร่องเหมือนเดิม ฉะนั้นกว่าจะสามารถกำหนดเป็นนโยบายต่าง ๆ ได้ จะต้องรอเเละใจเย็น
ขั้นตอนต่อไปจึงอยากเห็นหน้าตาของความสำเร็จ ความสำเร็จที่ว่า คือ เด็กคิดเป็นนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร เราต้องการที่สร้างคลังเครื่องมือที่จะสามารถวัดว่าเด็กของเรานั้นมีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างไร มีการวัดผลที่มีการรับรองอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเคมเบริดจ์และมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด จะเข้ามาช่วยในเรื่องของข้อสอบวัดผลต่าง ๆ
"สิ่งที่เรากำลังมุ่งไป คือ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กโต แต่จะดีกว่ามาก หากสามารถทำในเด็กเล็กในระดับชั้นเรียน แต่ทั้งหมดนี้ทุกอย่างย่อมผูกติดอยู่วัฒนธรรมของประเทศด้วย" รมช.ศธ. กล่าว
ด้าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากความร่วมมือกับ OECD ปัจจุบันมีทั้งการทำ workshop ที่ไม่ใช่เพียงการฝึก creativity แต่เป็นการฝึกเพื่อใช้เครื่องมือเสริมทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยสิ้นเชิง ไม่มีการสอนเนื้อหา แต่เป็นการจัดเน้นฝึกปฏิบัติสู่ความเข้าใจ ฉะนั้นสิ่งที่เมืองไทยจะได้คือกระบวนการ TRAN FORM ในเรื่อง teaching learning ทั้งนี้ได้ฝาก 6 คำถามต่อทุกคน เพื่อช่วยกันคิดต่อ คือ
1. ทำไมเราจึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์และการสร้างกระบวนการคิดอย่างมีระบบ (creativity and critical thinking) ในครูและนักเรียน
2.ปัจจัยต่อการสร้างกระบวนการคิดสรา้งสรรค์และการสร้างกระบวนการคิดอย่างมีระบบ (creativity and critical thinking)
3.ถ้าจะสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์และการสร้างกระบวนการคิดอย่างมีระบบ creativity and critical thinking ในนักเรียนของเราได้อย่างไร
4.ถ้าจะให้ครูสร้าง มีกระบวนการคิดสร้างสรรค์และการสร้างกระบวนการคิดอย่างมีระบบ (creativity and critical thinking) ของนักเรียนได้ ครูต้องทำอะไรบ้าง
5.ต้องเปลี่ยนแปลง โรงเรียนอย่างไรบ้าง
6.กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง .