หลักนิติธรรมกับประชาธิปไตย
"หลักนิติธรรมประชาธิปไตย ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ความหมายของรัฐเท่านั้น แต่ต้องเริ่มจากที่บ้านและห้องเรียน เพื่อเข้าสู่หลักประชาธิปไตยในภาพกว้างขึ้นในรูปแบบการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระ และการมีส่วนร่วมของกลุ่มการเมืองหลากหลาย รวมไปถึงความอดทน อดกลั้นในการเจรจา ต่อรอง เคารพเสียงของคนส่วนมาก การไม่ใช่วิธีการรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม"
เมื่อวันที่ 7 พฤจิกายน 2558 สถาบันพระปกเกล้า จัดประชุมวิชาการ ครั้งที่ 17 ในหัวข้อ หลักนิติธรรมกับประชาธิปไตย ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดําเนินนอก กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญคือต้องการเสริมสร้างหลักนิติธรรมในสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกผานส่วนเห็นความสําคัญของหลักนิติธรรม และ เคารพหลักนิติธรรมซึ่งแม้จะกําหนดนิยามอย่างชัดเจนได้ยาก แต่ก็สามารถทําให้เกิดเป็นรูปธรรมได้
ซึ่งปัจจุบัน หลักนิติธรรม ถือเป็นหลักที่มีความสําคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็น อย่างมาก อย่างน้อยในสามมิติ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง มิติในการใช้อํานาจอธิปไตยของประชาชน
ประการที่สอง มิติในการตรากฎหมาย กล่าวคือ การตรากฎหมายจําเป็น ต้องเคารพหลักนิติธรรม โดยกฎหมายนั้นต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมีการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐเพื่อให้เกิด ความโปร่งใส
ประการที่สาม มิติการใช้อํานาจ ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น สิ่งที่สําคัญคือ องค์กรที่ใช้อํานาจรัฐ ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐ จะใช้อํานาจตามอําเภอใจไปละเมิดและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนไม่ได้
ทั้งนี้ในช่วงหนึ่งในการ ปาฐกถา หัวข้อ “หลักนิติธรรมกับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในประเทศไทย” ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตผู้ชำนาญการ ที่ปรึกษาประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้พูดถึง 5 ตัวเชื่อมสำคัญระหว่างหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย เพื่อให้สังคมไทยนั้นก้าวไปสู่ การมีหลักนิติธรรมตามกรอบมาตรฐานสากล
1. มาตราฐานสากลโดยไม่ลืมภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักนิติธรรมสากลที่ครอบคลุมในทุกกระบวนการตาม สนธิสัญญาต่าง ๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งจำเป็นต้องยึดปฏิบัติ โดยมีเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดและห้ามต่ำกว่านั้น โดย สามารถที่จะสูงกว่าสากลได้ ยกตัวอย่างเช่น สนธิสัญญาการห้ามมีกฎหมายประหารชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งปัจจุบันไทยได้พัฒนาเพื่อให้ได้มาตราฐานสากลมากขึ้น ส่วนจะพัฒนาต่อไปจนยกเลิกกฎประหารหรือไม่นั้น คงต้องดูต่อไป แต่สำคัญคือโทษประหารห้ามต่ำกว่าสากลนั้นคือ 18 ปี ซึ่งในปัจจุบันนั้นไทยต้องพยายามสร้างให้เกิดความชอบธรรในระดับสากลในหลายๆ เรื่อง เช่น การใช้กฎหมายความมั่นคง เช่น กฎอัยการศึก พรก.เหตุฉุกเฉิน เป็นต้น ที่ผ่านมาเราใช้ตามหลักนิติธรรม ประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด การจำกัดสิทธิการแสดงออก การใช้ศาลทหารมาตัดสินพลเมือง และกระบวนยุติธรรมและโทษประหารชีวิต
2. การถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งมีความจำเป็นในทุกระดับ ไม่ใช่เพียง 3 อำนาจหลัก (สภานิติบัญญัติ, บริหาร, ตุลาการ) แต่รวมไปถึงอำนาจในส่วนอื่นๆ เพื่อถ่วงดุลอำนาจของผู้ปกครอง การกระจายอำนาจและหน้าที่ของ 3 อำนาจชัดเจน ความหลากหลายของศาลและประสิทธิภาพความโปร่งใส เคารพในสิทธิมนุษยชน ประชาสังคม ความมีอิสรภาพในสื่อ และนักเคลื่อนไหว การมีส่วนรวมของภาคธุรกิจ และบริบทของของกลุ่มทหาร ในการรักษาสันติภาพ เช่นที่ผ่านมาในกรณีติมอร์ตะวันออก ทหารไทยได้รับการชื่มชนเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี
3. การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการมุ่งสู่ประสิทธิภาพในการการตัดสินบนหลักยุติธรรม ไม่ใช่เพียงแค่อิสรภาพของศาลในการตัดสินแต่รวมไปถึง ความโปร่งใส บนพื้นฐานของความยุติธรรมด้วยเช่นกัน และการเข้าถึงกระบวนยุติธรรมของคนในสังคมทุกภาคส่วน ความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป การเคารพสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือกลุ่มแรงงานต่างชาติ การเข้าถึงผู้ช่วยตัวแทนผ่าน ทนายความหรือ เอ็นจีโอ การเข้าถึงท้องถิ่น การช่วยเหลือด้านกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิไตยในการเข้าถึงการศึกษา
"หลักนิติธรรมประชาธิปไตยที่ว่าไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ความหมายของรัฐเท่านั้น แต่ต้องเริ่มจากที่บ้านและห้องเรียน"
เพื่อเข้าสู่หลักประธิปไตยในภาพกว้างขึ้นในรูปแบบการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระ และการมีส่วนร่วมของกลุ่มการเมืองหลากหลาย รวมไปถึงความอดทน อดกลั้นในการเจรจา ต่อรอง เคารพเสียงของคนส่วนมาก เคารพความเห็นคนอื่น การไม่ใช้วิธีที่รุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม กลุ่มทหารต้องให้ความเคารพในกรอบมาตราฐานสากล
4. ความรับผิดชอบ ซึ่งธงของความรับผิดชอบที่กำลังถูกยกอยู่ในระดับสากลในขณะนี้ ที่สำคัญโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ การตรวจตราเจ้าหน้าที่ และการเยียวยาเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความไม่ยุติธรรม การไม่นิรโทษกรรมในคดีใหญ่ ๆ เช่น คดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เป็นต้น
5. ต้องไม่มีช่องโหว่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสิ่งนี้คือความรับผิดชอบพื้นฐานในการจัดการเรื่องความยุติธรรมในสังคม ในมาตราฐานสากลไม่สามารถปล่อยให้เกิดภาวะสูญญากาศในในอำนาจตุลาการได้ ฉะนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องอุดช่องโหว่ตรงนี้ให้ได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการพึ่งพา เพื่อช่วยกันอุดช่องโหว่ได้เช่น ทีมขององค์การสหประชาชาติ และการเป็นภาคีต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังมากขึ้น
ในช่วงท้ายของการปาฐกถา ศ.วิทิต กล่าวถึง อนาคตของมิติใหม่ของหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย โดยใช้หลัก 5P นั่นคือ
1. Prevent (problem) by repecting human rights and democracy ป้องกันการเคารพหลักสิทธิมนุยชนและประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
2. Protect rights ปกป้องคุ้มครอง สิทธิ
3. Provide/access remedies/justice ให้เข้าถึง กระบวนการยุติธรรม และการเยียวยา
4. Promote/foster capacity-building on law and law/making and enforcement compliant with international standard ส่งเสริมการศึกษา ประสิทธิภาพของกฎหมายตามหลักมาตรฐานสากล
5. Proprl people's participation relegal and judicial process ให้มีการมีส่วนร่วมในกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ประชาธิปไตยของประชาชน