ตำรวจกับความล้มเหลวในการปราบอาชญากรรม
ขณะที่ผมเขียนเรื่องนี้ ห้าวันหลังจากที่เกิดเหตุระเบิดในบริเวณศาล ท้าวมหาพรหมที่สี่แยกราชประสงค์ ในกรุงเทพมหานคร ตำรวจยังไม่ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้
ฝีมือของอาชญากรผู้ลอบวางระเบิดครั้งนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 คน ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 100 คน ทำให้เป็นการลอบวางระเบิดครั้งที่รุนแรงที่ สุดในประเทศไทย หากไม่นับการลอบวางระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปนานแล้ว
การลอบวางระเบิดครั้งนี้สะท้อนความไร้ประสิทธิภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเรียกได้ว่าเป็นการเหยียบจมูกตำรวจ เพราะศาลท้าว มหาพรหมที่ถูกระเบิดนั้น ห่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปเพียงไม่กี่สิบ เมตร เกือบจะเรียกได้ว่าอยู่ในบริเวณสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยซ้ำไป ตามปกติบริเวณสำนักงานนั้นและบริเวณใกล้เคียงควรจะมีการตรวจตราระวังป้องกันรักษาความปลอดภัยอยู่แล้วเป็นประจำ ส่วนที่ศาลท้าวมหา พรหมนั้นก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่า เป็นที่นิยมและชุมนุมทั้งของคนไทยและนัก ท่องเที่ยวต่างประเทศ โดย เฉพาะชาวจีน และน่าจะได้มีตำรวจท่องเที่ยว ตรวจตราและป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่นักท่องเที่ยวเป็นประจำเช่น เดียวกัน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าในค่ำวันที่เกิดเหตุ คือวันที่ 17 สิงหาคมนั้น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวแม้แต่คนเดียวปฏิบัติหน้าที่ อยู่ ณ ที่นั้น
และเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ปฏิกิริยาของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เป็นไปอย่าง สับสน ในกรณีเช่นนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรจะมีแผนปฏิบัติการสำ หรับเหตุฉุกเฉินอยู่ก่อนแล้ว สิ่งที่ควรจะเตรียมเอาไว้และต้องปฏิบัติได้ทัน ทีคือตั้งกองอำนวยการเฉพาะกิจหรือ command post ขึ้น ณ ที่เกิดเหตุ โดยมี นายตำรวจที่มีอาวุโสพอสมควรและมีความรู้ทางยุทธวิธีเป็นผู้อำนวยการ
เฉพาะกิจ นายตำรวจผู้นี้ต้องมีอำนาจเด็ดขาดเหนือที่เกิดเหตุ สามารถควบ คุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้ามผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปใบริเวณที่เกิดเหตุ และสั่งผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้ออกไปให้พ้นบริเวณที่เกิดเหตุได้ด้วย
แต่ที่เห็นในค่ำวันที่เกิดเหตุนั้น ไม่ปรากฏว่ามีนายตำรวจคนใดเป็นผู้ อำนวยการเฉพาะกิจ มีแต่ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติกับผู้ติดตามซึ่งล้วนแต่เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ แห่กันไปยัง ที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงแล้วเพียงแต่จำนวนของผู้บังคับบัญชาก็เป็นอุปสรรค แก่การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานและเก็บกู้วัตถุระเบิดเสียแล้ว
เคราะห์ดีหนักหนาที่ผู้วางระเบิดไม่ได้วางลูกที่สองสามและสี่เอาไว้ และจุดชนวนระเบิดเมื่อนายตำรวจผู้ใหญ่ไปถึง มิฉะนั้นก็คงจะมีตำแหน่ง ว่างหลายตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในที่เกิดเหตุมีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศเป็นอันมาก ทุกคนต้อง การข่าว และเมื่อยังไม่ทราบรายละเอียดของเหตุที่เกิดขึ้น สิ่งที่ควรทำที่สุด สำหรับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและนายตำรวจผู้ใหญ่อื่นๆก็คือ ยังไม่ให้ สัมภาษณ์ แต่ก็ปรากฏว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและนายตำรวจชั้นผู้ ใหญ่บางคนรีบให้สัมภาษณ์ สิ่งที่ผู้สื่อข่าวได้ไปส่วนใหญ่จึงเป็นการคาด คะเน จะเห็นว่าผู้ให้สัมภาษณ์ใช้คำว่า “อาจจะ” กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา
การตรวจที่เกิดเหตุเพื่อหาร่องรอยและวัตถุพยานนั้น ตามหลักวิชา ต้องไม่รีบร้อน และต้องทำอย่างละเอียดทุกตารางนิ้ว หากตรงไหนมีข้อ สงสัยต้องย้อนกลับไปทำตรงนั้นอีก เพราะฉะนั้นที่เกิดเหตุจึงจะต้องเป็น ที่หวงห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าออก แม้จะเป็นเวลานานหลายวันก็ตาม แต่ปรากฏ ว่าตำรวจใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการตรวจหาร่องรอยและวัตถุพยาน และ ยอมให้พนักงานของกรุงเทพมหานครใช้น้ำฉีดล้างทำความสะอาดบริเวณ ใกล้ที่เกิดเหตุจนเกลี้ยงเกลา และเปิดให้การจราจรผ่านไปมาได้เมื่อหลัง เที่ยงวันรุ่งขึ้น
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เหตุผลว่า ที่ต้องรีบเปิดที่เกิดเหตุ ก็เพราะการปิดเอาไว้นานจะทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย และ เพราะศาลท้าวพระพรหมเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว หากปิดไว้นานก็ จะเสียหายแก่การท่องเที่ยวด้วย
จึงน่าเสียดายที่ตำรวจเห็นภาพลักษณ์ของประเทศและการท่องเที่ยวสำคัญกว่าการเอาตัวอาชญากรมาลงโทษ และถ้าหากนี่คือทัศนคติของ ตำรวจ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า การสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำ ความผิดคงจะล้มเหลว และผู้ร้ายและผู้บงการก็คงจะลอยนวลอยู่ได้เช่น เดียวกับในหลายคดีที่เคยเกิดขึ้นแล้ว.
ภาพประกอบจาก เว็บไซต์สโมสรบางกอก