ทางออก 'ยาเสพติด' แนะเลิกตีตราผู้เสพ เปลี่ยนประเภทยา-เสริมชุมชนบำบัด
เปิดมุมมองหาทางออกผู้ป่วย (เมท) เเอมเฟตามีน เผยตัวเลข ปี 54 คนเสพ 9 เเสนคน 90% รับฤทธิ์สารเสพติดระดับต่ำ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตเลิกตีตราร่วมกันเสี่ยงใช้ความรุนเเรง นักวิชาการเเนะปรับประเภทยากลับสู่ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประเภท 2 เหมือนเดิม
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดการเสวนา เรื่อง “(เมท) แอมเฟตามีน : มุมมองด้านสาธาณสุขกับทางออกที่ดีกว่า” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
นพ.อภิชัย มงคล อธิการบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนในครั้งนี้ว่า ขณะนี้นานาประเทศกำลังมองไทยเป็นประเทศที่มีมีปฏิกิริยาเกี่ยวกับยาเสพติดมากเกินกว่าเหตุ จึงได้เสนอแนวทางดังต่อไปนี้คือ ให้เหยื่อจากยาเสพติดทั้งหลายมีความผิด แต่ไม่ถึงกับได้รับโทษทางอาญา และให้แอมเฟตามีหรือเมทแอมเฟตามีนกลับเข้าสู่หมวดยาออกกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ดังเดิมเหมือนปี 2539
ด้านดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การโหมข่าวของยาเสพติดผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และทางรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้คนในสังคมยิ่งทวีความกลัวทุกคนที่เกี่ยวข้อง ยิ่งทุกวันนี้การระบาดของยาเสพติดก็ยังพบเห็นอยู่ทั่วไป ผนวกกับการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับสาเสพติดอย่างรุนแรง สร้างปัญหาที่ตามมาคือปรากฏการณ์นักโทษล้นคุกจากการทำผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าเป็นคดีใหญ่หรือเล็ก ตามมาซึ่งปัจจัยเครื่อข่ายยาเสพติดในสังคม
ขณะที่ ผศ.นพ.ดร.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ระบุจากการสำรวจใน พ.ศ. 2554 พบคนที่เคยเสพแอมเฟตามีนนั้นมีจำนวนประมาณ 9 แสนคน สะท้อนข้อมูลจริงซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ซึ่ง 90% เป็นผู้ที่ได้รับความเสี่ยงจากกฤทธิ์สารเสพติดในระดับต่ำ นั่นแสดงว่าคนส่วนมากไม่ใช่ผู้เสพยาเสพติดจนนำมาสู่การใช้ความรุนแรงจนถึงขั้นจับกุมทั้งหมด คนกลุ่มนี้ควรได้รับการบำบัด การให้ความรู้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ให้แต่ข้อเสีย
“การวิจัยระบุว่าการกินเม็ดยาแอมเฟตามีนมีคุณสมบัติช่วยในการทำงานตอนกลางคืน และให้มีความดันเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้ากินต่อเนื่องการหลับจะน้อยลง จึงชัดเจนว่ายาตัวนี้ออกฤทธิ์ให้ไม่ง่วง แต่ถ้าใช้ต่อก็เนื่องจะสะสมและมีพิษต่อสมอง ถ้าหากเราเน้นการบำบัดในชุมชนร่วมกันทางสาธารณะสุขมากกว่าการจับกุม คนที่เคยเสพก็จะไม่ใช้ยาเสพติดอีก และกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง อาจจะต้องใช้เวลามากหน่อย แต่ก็เป็นทางออกที่ดีกว่า” ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก กล่าว
สุดท้าย พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้ข้อเสนอแนะว่า พฤติกรรมความรุนแรงจากการใช้ยาเสพติดนั้น ในกลุ่มผู้ป่วยทางจิตมีโอกาสที่จะก่อความรุนแรงไม่ถึง 5% แต่ผู้ป่วยทุกคนกลับต้องถูกตีตราร่วมกันไปว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ก่อนหน้านี้เราไม่ได้ออกแบบการทำงานที่แยกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำด้วยกระบวนการที่ไม่เหมาะสม ถ้าหากถูกจับกุมแต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมก็จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น กระบวนผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดปัจจุบันมีอายุที่น้อยลง จึงเกิดคำถามตามมาถึงกระบวนการจัดการแบบเดิมว่ายังมีความเหมาะสมอยู่หรือไม่ .