ทีมกรุ๊ป พยากรณ์ “1 ด.ลุ่มเจ้าพระยา -กทม.ยังท่วมเพิ่ม”
กลุ่มบริษัททีม ใช้โมเดลเครือข่ายลุ่มน้ำ เตือนภัยลุ่มเจ้าพระยาบริเวณ สะพานพุทธฯ-ปากเกร็ด-ปทุมฯ น้ำยังท่วมเพิ่มถึง 22 ต.ค. ส่วนบางไทร-อยุธยา อ่วมหนักว่าเดิมถึงปลาย ต.ค.
วันที่ 15 ต.ค.54 กลุ่มบริษัททีม พยากรณ์ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาล่วงหน้า 1 เดือน ระหว่าง 15 ต.ค. ถึงประมาณกลาง พ.ย.54 โดยการใช้ River Network Model โดยจากการประมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์ รวมกับแม่น้ำป่าสักที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตามสภาพการไหลในลำน้ำ การกั้นด้วยพนังกั้นน้ำ และการพังทลาย และถนนสายหลักต่างๆ การระบายน้ำในคลองสายหลัก และการไหลบ่าของน้ำในทุ่ง รวมถึงการหนุนสูงของน้ำทะเลในช่วง 15 ต.ค. และ 31 ต.ค. และ 11 พ.ย. 54 พบว่าแม่น้ำเจ้าพระยา ณ จุดต่างๆเป็นดังนี้
ระดับน้ำสูงสุด แต่ละช่วงเวลา (ม.รทก.)
บริเวณ ปัจจุบัน 15 -22 ต.ค. 23 -30 ต.ค. 1 -8 พ.ย. 9 -15 พ.ย. หลังจาก 15 พ.ย.
(1) กลุ่มพื้นที่ที่มีระดับน้ำทรงตัว จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2554
อ.เมืองสิงห์บุรี +13.0 ทรงตัว ทรงตัว ทรงตัว ทรงตัว ลดลง
อ.เมืองอ่างทอง +9.3 ทรงตัว ทรงตัว ทรงตัว ทรงตัว ลดลง
อ.บางบาล +5.5 ทรงตัว ทรงตัว ทรงตัว ทรงตัว ลดลง
(2) กลุ่มพื้นที่ที่มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น และทรงตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์
อ.พระนครศรีอยุธยา +5.9 เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น +5.95 ลดลง ลดลง
อ.บางไทร +4.1 ทรงตัว เพิ่มขึ้น +4.25 ทรงตัว ลดลง
อ.เมืองปทุมธานี +3.5 เพิ่มขึ้น +3.7 ทรงตัว ทรงตัว ลดลง
กรมชลประทาน
ปากเกร็ด +2.9 เพิ่มขึ้น +3.05 ทรงตัว ทรงตัว ลดลง
(3) บริเวณพื้นที่ที่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูง เนื่องจากการน้ำทะเลหนุนสูง
สะพานพระพุทธ
ยอดฟ้าฯ +2.3 เพิ่มขึ้น +2.45 +2.35 +2.4 ลดลง
หมายเหตุ : ม.รทก. หมายถึง หน่วยเป็นเมตรเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง
อนึ่งการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาอาจจะมีการกระเพื่อมของผิวน้ำ จากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศในอ่าวไทย ทำให้เกิดการยกตัวของระดับน้ำอีก 20 ถึง 30 เซนติเมตร ในช่วงเวลาสั้นๆ ส่งผลให้มีการล้นพนังกั้นน้ำบ้างในช่วงเวลาดังกล่าว ขอประชาชนอย่างตื่นตกใจ.
ที่มาภาพ : http://www.chaoprayanews.com/2010/10/26/เจ้าบ้านรอบแม่น้ำเจ้าพร /