รัฐทุ่มงบฯ 476 ล. ประกันภัยข้าวนาปี 1 เดือน ยังไม่บรรลุเป้า
รัฐบาลทุ่มงบฯ 476 ล้านบาท ประกันภัยข้าวนาปี 1.5 ล้านไร่ คลอบคลุม 7 ภัยธรรมชาติ 1 เดือน พบเกษตรกรร่วม 3.1 หมื่นราย จ่ายเบี้ยประกัน 128 ล้านบาท สศก.ชี้ยังไม่บรรลุจุดประสงค์ –ชงลดดอกเบี้ย ธ.ก.ส. ช่วยภัยแล้ง
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2558 ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU-OAE Foresight Center : KOFC) ได้จัดแถลงข่าว “ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2558/59” ณ ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร บางเขน
ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า หลังจากมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2558 ให้มีการดำเนินการโครงการประกันภัยข้าวนาปี โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรเเละสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้บริหารโครงการ ไร่ เป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยเอกชน จนได้มีการทดลองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันแทนรัฐบาลไปก่อน และมีบริษัทประกันภัยเข้าร่วม 7 บริษัท หวังช่วยสมทบเกษตรกร
โดยรัฐบาลให้งบประมาณวงเงิน 476 ล้านบาท 1.5 ล้านไร่ทั่วประเทศ ครอบคลุมภัยธรรมชาติ 7 ประเภท ได้แก่ อุทกภัย ฝนทิ้งช่วง วาตภัย ภัยแล้ง อากาศหนาว อัคคีภัย และศัตรูพืชหรือโรคระบาด โดยจัดเก็บเบี้ยในอัตราที่ต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงในพื้นที่ 5 ระดับ วงเงิน 6 ประเภทแรก วงเงินความคุ้มครอง 1,111 บาทต่อไร่ และศัตรูพืชหรือโรคระบาด 555 บาทต่อไร่
ผอ.การเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ยังเปิดเผยว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมพบว่า ดำเนินการประกันภัยไปแล้วใน 5 พื้นที่ความเสี่ยง ทั้งหมด 0.29 ล้านไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วม 3.1 หมืนราย คิดเป็นเพียง 20 % ของเป้าหมายที่ต้องการ รวมค่าเบี้ยประกัน 128 ล้านบาท แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่บรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ต่อยอดโดยใช้เทคโนโลยีให้ความรู้และแนะนำการเกษตรทางสมาร์ทโฟน เพื่อดึงดูดเกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการต่อไป
“เป้าหมายเราเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ ลดความเสี่ยงภัยโดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ไม่เหมือนภัยทางด้านอื่น ๆ ที่เราสามารถเฝ้าระวังได้” ดร.ภูมิศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่ประเทศเผชิญอยู่ นางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เสนอแนวทางว่า สนับสนุนโครงการจัดการเครื่องจักรกล และการตรวจสอบบัญชีผู้เช่านาและผู้ให้เช่านา โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดูแล ส่วนเรื่องดอกเบี้ย ธ.ก.ส. 7% นั้นอยากให้มีการปรับลดลงในสภาวะภัยแล้ง
นอกจากนี้จากรายงานผลการประเมินสภาวะเศรฐกิจและสังคมครัวเรือนเกษตรปี 2557/58 หลังจากสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยว ค้นพบว่า รายได้สุทธิเกษตรกรเพิ่มขึ้น 9 % แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า ทำให้หนี้สิ้นสะสมไม่ลดลง รายจ่ายเกษตรที่เพิ่มขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจาก ค่าซ่อมแซมเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าเช่าที่ดินทำนา ค่าชำระดอกเบี้ย ค่าปุ๋ยตามลำดับ .