สมิทธ ชี้ "กทม.รอดยาก" - ปราโมทย์ จี้ "ปล่อยแม่ทัพน้ำกู้วิกฤติ"
รัฐบาลต้องปล่อยแม่ทัพน้ำกู้วิกฤติ
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านน้ำในประเทศไทยเป็นอย่างดี แม้จะเกษียณอายุราชการมา 12 ปีแล้ว แต่ท่ามกล่างสถานการณ์วิกฤติน้ำท่วมที่แผ่กระจายไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะกทม. ข้าราชบำนาญคนนี้ก็ยังคงเกาะติดเพื่อประเมินปริมาณน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาหน้าบริเวณฯกรมชลประทานอยู่ทุกวัน
@ อยากให้อาจารย์ประเมินสถานการณ์น้ำในกทม.จะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่
น้ำที่ไหนผ่านแม้น้ำเจ้าพระยาผ่านกรมชลประทาน ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าขณะนี้เป็นกรณีเหมือนที่เคยเกิดในอดีตเป็นปกติไม่ได้มากมายชนิดที่จะต้องหวาดวิตก หากดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางไทรซึ่งเป็นต้นทางที่จะเข้าจ.ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแปรผันอย่างวิปริต แล้วน้ำที่ไหลจากเจ้าพระยาที่จะเข้ากรุงเทพก็ไม่ได้ไหลพรวดพราด เหมือนน้ำที่ นครสวรรค์ และอยุธยา ระดับจะค่อยๆเปลี่ยนไป ปริมาณจะค่อยๆเปลี่ยนไป
เวลานี้เราต้องดูระดับน้ำที่ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าว่าก็ตรวจวัดกันทุกวัน ในช่วงที่จะขึ้นสูงสุดทุกวัน ซึ่งระดับน้ำตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะมีช่วง 14-15 ต.ค.ซึ่งน้ำทะเลจะหนุนสูงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่สันดอน ซึ่งช่วงนี้จะหนุนสูงกว่าปกติประมาณ 20 เซนติเมตร ระดับความสูงจะค่อยๆเรียงลงมา ระดับอาจจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 15 ต.ค.
@ แสดงว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ไม่น่าวิตกและไม่จำเป็นต้องประกาศแผนฉุกเฉิน
วิเคราะห์ตัวเลขแล้วไม่เห็นจะน่าวิตกเลย และตัวเลขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเมื่อก่อนยิ่งกว่านี้อีก การประกาศภาวะฉุกเฉินต้องหมายความว่า ล้มระเนระนาด เอาไม่อยู่ ผมก็สงสัยว่าเอาไม่อยู่คืออะไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า คันกั้นน้ำของเขาระดับที่กทม.ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสูง 2.50 เซ็นติเมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แล้วขึ้นเรื่อยไปที่ปทุมธานีและนนทบุรี แล้วยังไงต่อ จะบอกไม่แน่ใจไม่ได้ เพราะการจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องของปีนี้ปีเดียว
@ พายุลูกใหม่ที่กำลังจะเข้ามาทำให้คาดเดาปริมาณฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่
ยังไม่มาหรอก พายุจะเข้าหรือไม่ยังไม่ทราบ มันอยู่ไกลตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา หรือมันอาจจะผ่านภาคกลางหรือกทม.ฝนตกตรงๆคงจะไม่เข้าไปที่ภาคเหนือแน่นอน เพราะร่องความกดอากาศมันเปลี่ยน ทิศทางเกิดในละติจูด 5 องศา ใกล้กับแนวศูนย์สูตรแล้ว แต่ตรงนี้จะทำให้เกิดฝนตก น้ำขัง ล้อมรอบสนามบินหนองงูเห่า ซึ่งขังก็ต้องสูบออกในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกคันกั้นน้ำจะเกิดน้ำขัง ตั้งแต่ มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม พื้นที่พวกนี้จะเกิดน้ำขัง
ซึ่งต้องเข้าใจว่า น้ำฝนขังมันคนละน้ำกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย เพราะฝนตกแผ่กระจายลงไปในทุ่ง ตกในกทม.ก็จะไม่ออกแม่น้ำ เพราะน้ำเยอะ ก็ต้องเกิดน้ำท่วมขัง กทม.ก็ต้องสูงออก มันแยกน้ำกันอยู่ในตัวแล้ว
น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจะมาจากอยูธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ฝนตกในภาคกลางจะตกอยู่ในพื้นที่รวมกอง ทำให้มีน้ำขัง ออกเจ้าพระยาไม่ได้ เพราะเจ้าพระยาสูง และเหตุการณ์ที่จะเกิดไม่ใช่ 2-3 วันนี้ แต่อีก 7 วันข้างแน่นอน แต่ถ้าพายุมาเวียดนามจะต้องรับเคราะห์ก่อนไทย ดังนี้นการแก้ปัญหาต้องมีสติแยกน้ำให้ออก แต่ปัญหาที่ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวกันมากเกิดจากพื้นที่ 3 จุดใหญ่ๆ นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ระเบิดเอาไม่อยู่ คันกั้นน้ำพัง ก็เลยมาวาดภาพว่ากทม.คงจะเหมือนกัน ซึ่งผมบอกหล่ายครั้งแล้วว่าไม่เหมือนมันคนละพฤติกรรมน้ำและคนละพฤติกรรม
@ ทำไมกรมชลฯไม่อธิบายให้รัฐบาลเข้าใจสภาพปัญหา แต่ภาพเหมือนไปรับคำสั่งจากรัฐบาลมากกว่า
ก็ภาพมันเป็นอย่างนั้น ธรรมดาเวลาเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ต้องมีแม่ทัพน้ำ คอยบัญชาเหตุการณ์วิกฤติทั้งเรื่องน้ำและที่กั้นน้ำ จะมาบอกที่โน่นที่นี่พังของประชาชนพังก็ต้องบอก ว่าที่พังของประชาชน กทม.ต้องตรวจสอบระบบคันกั้นน้ำของตัวเองว่าอยู่ดีหรือไม่ ก็ไม่พูด ผวจ.กทม.บอกว่า แข็งแรงๆ ก็ต้องกล้าฟันธง และต้องเชื่อมโยงไปที่นนทบุรี ปทุมธานีด้วยว่าสภาพคันน้ำน้ำยังดีอยู่หรือไม่ แข็งแรงหรือไม่ ตอนนี้ใครเป็นแม่ทัพน้ำ ในยุคก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ของกรมชลประทานจะมาบัญชาการเอง เพราะรู้เรื่องน้ำดีที่สุด แต่เวลานี้ไม่รู้อะไร และทำอะไรไม่ได้ นอกจากสู้ ก็ต้องถามว่าจะสู้หรือไม่ สู้ก็ต้องถามว่าสู้อย่างไร
@ ระบบการบริหารจัดการและการป้องกันน้ำของแต่ละจังหวัดขณะนี้ล้มเป็นโดมิโน
มันต้องล้มครับ เพราะทุกแห่งสู้น้ำหมด ผมก็บอกว่าสู้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำไม่สามารถไปอยู่ที่ที่เคยอยู่หรือที่ที่เคยรวมกองได้ มันก็สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นระดับน้ำสูงพลังมันก็เยอะ คันทำไว้ไม่ดีก็ลิมระเนระนาดจนดูเหมือนน้ำเยอะทั้งๆที่มวลน้ำมันก็เท่าเดิม แต่ความสูงมันเยอะ เราต้องรวมตัวสร้างหลักคิด หลักทำ เพราะธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัย สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร
@ รัฐบาลยังพอมีเวลาที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่
ตอนนี้ทำอย่างนี้ถูกแล้ว คือ เผชิญภัย ด้วยการช่วยเหลือผู้ประชาชนไปก่อน โดยให้มหาดไทยเป็นแกน เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายรัฐบาลต้องตั้งสติว่า ในอนาคตข้างหน้าจะทำอย่างไร ไม่ใช่คิดแบบเดิม อยากจะทำอะไรต้องตั้งงบประมาณ เสนอครม.มาทำยังนี้ไม่สำเร็จ เพราะถ้าคิดโดยไม่รู้ ก็ทำอะไรไม่สำเร็จ ผมบอกได้เลยว่า สตางค์ แก้ปัญหาไม่ได้หรอก
@ การพบปะระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์จะทำให้เหมือนมีการร่วมมือแก้ปัญหาหรือไม่
แก้ปัญหาต้องดูว่าแก้ปัญหาอะไร แก้ปัญหาแบบนักการเมือง มันต้องมาแก้ปัญหาด้านเทคนิคการสู้น้ำกันก่อน ต้องเข้าใจระบบการแก้ไขปัญหาและการป้องกันของกทม. สมัยก่อนอุปกรณ์ไม่พร้อม เราก็สู้ได้ แต่ทีนี้จะสู้ไม่ได้ก็เพราะปอดแหกกัน ออกข่าวมา ระดับน้ำทะเลหนุนสูง มวลน้ำป่าสักมามากจะเกิดปัญหา พูดทิ้งไว้อย่างนี้ประชาชนก็กังวล
@ แสดงว่านักการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือไม่
ถ้าเป็นเรื่องเทคนิกคต้องปล่อยให้ผู้มีความรู้เรื่องน้ำเป็นผู้ตัดสินใจ แต่นักการเมืองต้องมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเหลอประชาชน อนุมัติงบประมาณ พิจารณาหลักการในการแก้ไขปัญหาในครม. โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากนักเทคนิค แต่ขณะนี้ปัญหากลายเป็นว่าแม่ทัพน้ำในระบบราชการถูกนักการเมืองครอบงำหมดแล้ว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่การแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ นักน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำ จะต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณืหลัก ในหลวงเคยตรัส เมื่อปี 2533 ว่า ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจภัยธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็นครูที่จะสอนเรา ซึ่งผู้ปฏิบัติหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงต้องนำไปแปลว่าจะทำอย่างไรการแก้ไขเรือ่งน้ำ จะเดาส่งแบบหมอดูไม่ได้ กรมชลประทานในฐานะนักเทคนิค จะต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจกับนักการเมืองครอบงำได้ โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายอำนวยการ
ขาดเอกภาพบริหารจัดการน้ำ กทม.รอดยาก
วิกฤติน้ำก้อนใหญ่ที่ประดังมาพร้อมๆกันไม่เพียงสร้างความแตกตื่นให้ผู้คนจำนวนมากเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรับฟังข้อมูลข่าวลือมากกว่าข้อเท็จจริง จนทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่นอกและในพื้นที่คันกั้นน้ำต่างหวาดผวากับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นอีกผู้หนึ่งที่คร่ำหวอดกับข้อมูลด้านอุทกศาสตร์และอุตุนิยมวิทยาจะแจกแจงข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อให้เตรียมรับสภาพปัญหาในขณะนี้
@ ปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นหลายพื้นที่พร้อมๆกัน แสดงให้เห็นสัญญาณผิดปกติหรือไม่
นักวิชาการหลายคนบอกว่าน้ำไม่เคยสูงเช่นนี้ บางคนบอกน้ำเยอะ แต่ไม่เคยท่วม ทุกคนต่างคนต่างมีข้อมูลของตัวเอง แต่ขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาเถียงกันเรื่องข้อมูล เพราะข้อมูลที่แท้จริงกรมอุตุนิยมวิทยามีอยู่แล้วเรามีสถานีวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กลางตอนบน กว่า 200 แห่งที่วัดปริมาณฝนได้
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้เป็นผลจากภัยพิบัติ แต่เรามีปัญหาในด้านการบริหารน้ำไม่เป็น คือไม่สามารถจะบริหารน้ำได้ไม่มีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ต้นฤดูฝนว่าจะตกเยอะไหม ควรเก็บน้ำไว้เขื่อนไว้เท่าไหร่ ปรากฏว่าทุกคนเก็บน้ำไว้ในเขื่อนใหญ่หมด ทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้า ซึ่งกลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิด เพราะถ้าฝนตกต่อเนื่องทั้งกลางฤดู ปลายฤดู ยังตกอยู่ปริมาณช่องว่าง น้ำในเขื่อนจะไม่สามารถเก็บน้ำฝนกลางฤดูได้ ตอนนี้เขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้ว
ปัญหาคือเมื่อเขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้ว ก็ปล่อยน้ำในเขื่อนออกมาพร้อมกัน ปริมาณน้ำที่ปล่อยมามากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใส่เขื่อน ฉะนั้น การปล่อยน้ำเขื่อนใหญ่ทั้งภูมิพล สิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้น้ำมารวมตัวในภาคกลางตอนบนไล่มาตอนล่าง ขณะที่ภาคกลางก็มีน้ำฝนที่ตกมาอยู่ท้ายเขื่อน อยู่ในที่ลุ่มอยู่แล้ว ดังนั้นน้ำในขณะนี้จึงมหาศาลมาก หลายคนบอกน้ำปล่อยมานิดเดียวแต่เพราะน้ำ มีอยู่แล้วในที่ลุ่ม ในนา เมื่อปล่อยมาพร้อมกันปริมาณน้ำจึงมากทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมพร้อมกัน ตั้งแต่นครสวรรค์ อยุธยา เป็นวิกฤติบริหารน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่มีการวางแผนไว้ก่อน อันที่จริงเราควรเก็บน้ำไว้ครึ่งหนึ่ง และถ้ามีฝนกลางฤดูที่แล้วก็สามารถเก็บน้ำไว้อีกได้
@ ภาวะวิกฤติน้ำท่วมจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำสิ่งแรกที่ควรจะเร่งแก้ไขคืออะไร
เราควรหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนได้แล้ว เพราะช่วงนี้ไม่มีปริมาณน้ำฝนที่จะตกเข้าเขื่อนแล้ว ทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนนี้ 3 เขื่อนใหญ่ก็จะไม่มีน้ำเข้าแล้ว แต่ถ้าเรายังปล่อยน้ำมหาศาลซ้ำเติมระบบน้ำท่วมที่อยู่ในภาคกลาง น้ำจะท่วมหมด ความเสียหายเป็นแสนล้านบาท ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลปัญหาเกี่ยวกับน้ำภายใต้สังกัดกระทรวงต่างๆ กว่า 20 หน่วยงาน แต่เราไม่มี data base ต่างฝ่ายต่างทำ ไม่เอาข้อมูลมาแชร์กัน จึงทำให้ขาดผลวิเคราะห์ที่ในการตัดสินใจ
@ ปัญหาที่เกิดขึ้นแสดงให้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีเอกภาพในการทำงานใช่หรือไม่
คือ การบริหารน้ำ ถ้าไม่มีการประสานงานกันทั้งกรมอุตุฯ กรมชลฯ การไฟฟ้าว่าควรจะเก็บหรือปล่อยน้ำแค่ไหน มันก็ไม่มีฐานข้อมูลที่นำมาคำนวณปริมาณน้ำว่า ควรจะปล่อย หรือพร่องน้ำในระดับใด จึงจะทำให้พื้นที่ไม่เดือดร้อน แต่นี่ยอมรับว่าการไม่มีเอกภาพในการทำงาน การที่นักวิชาการทะเลาะกันเอง ไม่มีความรู้อย่างแท้จริงนำไปเสนอรัฐบาล จึงทำให้ระบบรวนทั้งหมดสุดท้าย ก็นำไปสู่ปัญหาอุทกภัยทั้งๆที่น้ำมวลใหญ่ที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนใหญ่ๆนั้นบริหารจัดการได้
ฝนปีนี้อาจจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่การบริหารน้ำที่เราเก็บไว้มากไปแล้วปล่อยมาทีเดียว ไม่ปล่อยให้น้ำไหลไปตามธรรมชาติ หากปล่อยมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นฤดูตามธรรมชาติ กลางฤดูพอฝนตกก็เก็บบ้างปล่อยบ้าง ปลายฤดูก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยทีเดียวเยอะ ๆ น้ำก็จะไม่ท่วม ถ้าเราไม่ปล่อยน้ำก้อนใหญ่ๆจากเขื่อนๆ 3เขื่อน รับรองว่าน้ำไม่ท่วมกทม. ปริมณฑล อยุธยา และอีกหลายจังหวัด อย่างที่เห็นกันอยู่
@ การบรรเทาเหตุการณ์เฉพาะหน้ารัฐบาลควรทำอย่างไร
อันดับแรกเขื่อนใหญ่ควรหยุดปล่อยน้ำและหาทางระบายน้ำที่อยู่ในแม่น้ำใหญ่ ๆ ท่าทั้งแม่น้ำท่าจีน แม่นเจ้าพระยา บางปะกง ให้ลงทะเลเร็วที่สุด ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำทั้งสองสายเพราะ 2-3 วันนี้น้ำทะเลหนุนสูง น้ำเหนือไหลมาสมทบจะทำให้น้ำนิ่ง ไหลช้าลง ก็ต้องเร่งระบายน้ำออกลงทะเล ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกทม.ได้
@ แต่ขณะนี้น้ำในหลายพื้นที่ยังไม่ทรงตัว หากยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นเพราะหลายเขื่อนยังปล่อยมาหลายร้อยล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน การระบายน้ำของแม่น้ำใหญ่ แต่แม่น้ำต่าง ๆ ระบายต่อวันได้ไม่ถึง 50 ล้าน ลบ.ม. ทุกเขื่อนพร้อมกันใจกันปล่อยมันก็มารวมกันที่ภาคกลาง เหมือเราเทน้ำลงมาพร้อมกันน้ำที่เต็มแก้วเมื่อเติมไปอีกมันก็ล้น เรื่องนี้ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษแต่เป็นเพราะการบริหารน้ำที่ผิดพลาด หากเราบริหารไม่ดีท่วมแน่ ถ้าไม่รู้จักเก็บน้ำในเขื่อนไว้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การบริหารในเขื่อนเล็ก ๆ แต่ละเขื่อนไม่สามารถระบายออกทะเลได้รวดเร็วพอ มันก็เอ่อในที่ลุ่มภาคกลาง
@ การทำงานรัฐบาลตั้งแต่เริ่มถึงปัจจุบันมาถูกทางหรือไม่
จริงๆ รัฐบาลควรตั้งศูนย์เฉพาะกิจแต่แรกเพราะการบริหารภัยพิบัติใหญ่ ๆ ต้องตั้งศูนย์เฉพาะ ต้องมีผู้บริหารใหญ่และผู้ควบคุมศูนย์คนเดียว จะเป็น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หรือนายกรัฐมนตรี ก็ได้แต่ต้องตัดสินใจคนเดียว แต่เขาตั้งช้าไปหน่อย แม้ตอนนี้จะเริ่มมีการตัดสินใจเดินหน้าแก้ไขหลายเรื่องแล้วแต่มาเริ่มตอนวิกฤติน้ำใกล้ท่วมกทม. ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและมีประชาชนอยู่มาก ทำให้ผลกระทบเยอะ
@ ขณะนี้ชาวบ้านกังวลเรื่องน้ำท่วมมากเลยต่างทำผนังกั้นน้ำของตนเอง
เรื่องนี้อาจไม่ถูกต้องตามวิธีการ เพราะเป็นการสร้างที่ไม่มีหลักวิชาการ การเอาดินวาง เอากระสอบทรายมาวาง มันสู้แรงดันน้ำไม่ได้ เพราะ 1 ลบ.ม. ของน้ำ หนักถึง 1 ตัน ถ้าสร้างเขื่อนสูง 2 เมตร แสดงว่ามีแรงดันน้ำถึง 2 ตัน ดังนั้นหากเขื่อนสร้างไม่แข็งแรงน้ำจะซึม กระสอบทรายไม่หนักพอก็ทลาย น้ำก็จะไหลอย่างรวดเร็วและแรงจนเอาไม่อยู่
@ หากมีการตั้งกระทรวงน้ำรับผิดชอบโดยตรง จะซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีหน้าที่แล้วหรือไม่ และหากจะตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ควรมีลักษณะอย่างไร
การตั้งกระทรวงน้ำเป็นข้อเสนอของนักการเมืองที่จะมีทำให้มีตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้นทั้งรัฐมนตรี ที่ปรึกษา และข้าราชการการเมือง เป็นการสร้างตำแหน่งเปล่า ๆ ผมว่าทำอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็เหมาะสมแล้วคือการตั้งศูนย์เฉพาะแล้วรวมเอานักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำมารวมกัน แต่ว่าการบริหารต้องการคนที่รู้เรื่องมาคุยกัน อย่าให้มานั่งเถียงกัน และการตัดสินใจก็ให้นายกฯเป็นผู้ชี้ขาด
@ คาดว่ากทม.จะเกิดสถานการณ์น้ำท่วมหรือไม่
กทม.จะได้รับผลกระทบบ้าง แต่บางคนบอกว่าไม่หรอก กทม.จะสามารถผันน้ำออกไปได้ แต่ผมไม่เชื่อฝีมือกทม. เพราะไม่เคยศึกษาหรือไปดูเขื่อน เช่น เขื่อนจังหวัดปทุมที่เพิ่งแตกไป กทม.ก็ไม่ดูแลบอกว่าท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง ทั้งที่จริงแล้วกทม.ควรมีหน้าที่ไปดูแลพื้นที่ด้วย เพราะน้ำที่จะแตกจากปทุมจะเข้ากทม. กทม.อยู่ติดจังหวัดต้นน้ำ ถ้าเถียงกันอย่างนี้กทม.จมแน่
ผมไม่แน่ใจว่าเขื่อนรอบ ๆ กทม.จะมีความแข็งแรงพอหรือไม่ เพราะเขื่อนกั้นน้ำของกทม.มีทั้งเขื่อนดินและเขื่อนคอนกรีต กระสอบทรายโดยเฉพาะในพื้นที่รอบนอก ทางอบต. และอบจ.จะเป็นคนดูแล โดยใช้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ อาจทำให้มีปัญหาเรื่องความแข็งแรง อันนี้ถือเป็นจุดอ่อนจะทำให้เกิดวิกฤติน้ำในกทม.ได้ ขณะนี้ น้ำล็อตใหญ่ที่มาจากเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ กำลังผ่านเข้ามาใน 3-4 จังหวัดที่ท่วมอยู่แล้ว กทม.จึงต้องระวังเพราะเป็นช่วงน้ำทะเลหนุน ตอนนี้ดูแล้วกทม. คงรอดยาก
ส่วนวิธีการแก้ไขให้ได้ผลเร็วคือ ต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ จากนั้นตั้งเครื่องสูบน้ำที่ปลายแม่น้ำที่จะลงสู่ทะเลให้มากที่สุด เพื่อสูบน้ำออกปากอ่าว นี่คือวิธีเดียวที่จะระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่เอาเรือไปดันน้ำจะดันได้เฉพาะผิวน้ำเท่านั้น ไม่สามารถดันน้ำที่อยู่ลกไปข้างร่างได้ พระราชดำรัสของในหลวงเรื่องการสร้างคลองลัดโพธิ์ การที่เป็นคลองแคบจะทำให้การดันน้ำไหลออกจากคลองได้เร็ว แต่ถ้าเอาเรือหลายลำไปผูกแล้วดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้าง เป็นการเสียน้ำมันเปล่า เพราะดันได้แค่ผิวน้ำเท่านั้น เรื่องนี้ต้องคิดต้องรู้ลักษณะของน้ำ ดังนั้นที่ถูกต้องคือการตั้งระบบสูบน้ำที่ปลายคลองหรือปลายแม่น้ำออกสู่ทะเลเลย
ในส่วนของกทม.ที่ลงทุนทำอุโมงค์ยักษ์มีการระบายน้ำจากที่ลุ่มของกทม. เช่น รามคำแหง หนองจอก แทนที่จะระบายออกอ่าวไทย แต่กลับเอามาออกที่แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไม่ช่วยอะไรเลย เพราะจะทำให้เจ้าพระยาล้นตลิ่งอีก หมุนเวียน ถ้าจะลงทุนให้มากหน่อยวางท่อให้ยาวแล้วไปลงที่อ่าวไทยจะดีกว่า และทำให้กทม.ปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วย ไม่รู้ทำไมถึงคิดกันแค่นี้ เห็นว่าผู้ว่ากทม.จะทำอีกหลายอุโมงค์แต่ไม่รู้จะไปออกที่ไหน
@ พายุบันยังที่เกิดในฟิลิปปินส์และกำลังจะเข้าเวียดนามจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง
พายุมี แต่วิเคราะห์แล้ว เชื่อว่าไม่เข้าไทย การที่นักวิชาการไม่มีความรู้แล้วไปให้ข้อมูลกับศปภ. และนายกฯว่าพายุจะสร้างผลกระทบต่อประเทศทำให้เกิดความตื่นกลัวกันหมด คนไม่รู้มาพูดทำให้ตกใจและประเมินพลาด คือ พายุลูกนี้จะเข้าที่อ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน จากนั้นก็จะไปเวียดนาม เข้ามาทางเหนือบ้านเรา ก็จะทำให้มีฝนตกนิดหน่อยที่ เชียงใหใ เชียงราย จากนั้น จะทำให้อากาศหนาวเย็นลง ผมอยากขอให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยา หรืออุทกวิทยาหยุดให้ข้อมูลเพราะจะให้เกิดความตระหนก แตกตื่นกันไปหมด
@ ภัยน้าท่วมครั้งนี้ นอกจากในกทม.และพื้นที่ภาคกลางแล้ว ยังมีพื้นที่ใดน่าเป็นห่วงอีกบ้าง
หลังจากนี้ทางภาคเหนือ ภาคอีสานจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว หากมีพายุเข้ามาจะไม่ส่งผลให้มีฝนตกหรือถ้าตกก็จะไม่มาก สิ่งที่กรมอุตุฯ และรัฐบาลต้องระวังต่อไป คือ ร่องลมมรสุมที่จะเลื่อนจากภาคกลางตอนล่างไปยังตอนใต้ ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ซึ่งปีที่แล้วช่วงเดือนเดียวกันก็มีพายุดีเปรสชั่น ก่อตัวทางทะเลจีนตอนล่างพัดเข้าสู่อ่าวไทย คลื่นลมที่พัดมาจะทำให้เกิดคลื่นหายุหมุนซัดชายฝั่ง(storm surg ) สูง 4-5 เมตรและจะส่งผลกระทบให้ภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา ดังนั้น ข้อสูงในการเตือนภัยพิบัติของกรมอุตุจะต้องแม่น และหากสภาวะลมแรง จะทำให้ storm surg สูงถึง 5-6 เมตร ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งและรัฐบาลต้องเตือนให้เขาอพยพไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย