การจัดการ“ทรัพยากรที่ถูกบุกรุก” ข้อมูลอีกด้านจากศูนย์ทนายฯ
“..การเข้าจับกุมดำเนินคดีและการเข้าไล่รื้อชุมชนที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่ามีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ยากจน หรือผู้ไร้ที่ทากินมากกว่านายทุน ผู้มีอิทธิพล หรือผู้ครอบครองที่ดินขนาดใหญ่”
ในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน หนึ่งปีหลังการรัฐประหาร 2557 ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นเรื่อง ทรัพยากรที่ถูก “บุกรุก” ให้ได้พิจารณา สำนักข่าวอิศรา สกัดสาระสำคัญมาฝากคุณผู้อ่าน เพื่อให้เห็นความจริงอีกด้านหนึ่งของสังคมไทย
……………
ทรัพยากรที่ถูก “บุกรุก”
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 64/2557 ฉบับที่ 66/2557และแผนแม่บทป่าไม้ฯ
ภายหลังการประกาศใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 64/2557 เรื่องการปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทาลายทรัพยากรป่าไม้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2557
ที่กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าดาเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือครอบครอง ทำลาย หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่า รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือ ให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่
ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มอบให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทา "แผนแม่บท แก้ไขปัญหาการทาลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน" ขึ้นเพื่อรองรับคาสั่งในเรื่องนี้ซึ่งต่อมาแผนแม่บทป่าไม้ฯ นี้ได้รับการอนุมัติให้มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม2557
แผนแม่บทป่าไม้ฯ ฉบับนี้ได้วางเป้าหมายรูปธรรมที่สำคัญคือการพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้ได้พื้นที่อย่างน้อย 40% ของพื้นที่ประเทศภายในระยะเวลา 10 ปี และกำหนดเป้าหมายการหยุดยั้งการตัดไม้ทาลายป่า และทวงคืนผืนป่าจากผู้บุกรุกครอบครองภายใน 1 ปี
โดยในแผนแม่บทฯ ได้ระบุตัวเลขพื้นที่ป่าของประเทศไทยในปี 2556 ว่ามีจานวน 102.1 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.57 ของประเทศ ทำให้หากต้องการจะดำเนินการตามเป้าหมายนี้ เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายต่างๆ จำเป็นต้องดำเนินการหาพื้นที่ป่าคืนกว่า 27.2 ล้านไร่
แม้ในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 66/2557 จะระบุให้การดำเนินการใดๆ ตามคำสั่งฉบับที่ 64/2557 จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ
ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ หรือในตัวแผนแม่บทป่าไม้ฯ เองก็ระบุว่าการดาเนินการเรื่องนี้จัดลำดับความเร่งด่วนกับนายทุนหรือผู้บุกรุกป่าไม้รายใหญ่เป็นลำดับแรก
แต่ปรากฏว่าการเข้าจับกุมดำเนินคดีและการเข้าไล่รื้อชุมชนที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่ามีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ยากจน หรือผู้ไร้ที่ทากินมากกว่านายทุน ผู้มีอิทธิพล หรือผู้ครอบครองที่ดินขนาดใหญ่
คำสั่งและแผนปฏิบัติงานดังกล่าว ถูกจัดทำขึ้นโดยขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่อาศัยหรือทำกินอยู่ในพื้นที่ป่าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
นโยบายนี้ยังมีแนวโน้มจะนิยามปัญหาเรื่องการบุกรุกทำลายป่าจากมุมมองของ “ความมั่นคงของชาติ” เป็นหลัก
มองปัญหาว่าการลดลงของพื้นที่ ป่าไม้ในประเทศเกิดจากการบุกรุกของชาวบ้านนาไปสู่แนวทางการจัดการปัญหาด้วยการปราบปรามและใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดรวมทั้งการใช้แนวทางการทหารภายใต้การนำของกอ.รมน.เข้าไปดำเนินการ
โดยละเลยแนวทางการจัดการร่วม การตรวจพิสูจน์สิทธิของชุมชนในพื้นที่ป่า และการพิจารณาบริบททางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน และพัฒนาการการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินประกอบด้วยนำไปสู่การละเมิดสิทธิของประชาชนและชุมชนในการเข้าถึงที่ทำกินและวิถีการดำรงชีวิตในหลายพื้นที่อย่างกว้างขวาง แม้ความขัดแย้งในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากรทั้งป่าไม้และที่ดิน
ปัญหาการเข้าถึงที่ดินทำกินของประชาชน ปัญหาการทับซ้อนระหว่างพื้นที่ทากินและพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนกับพื้นที่ป่า หรือการจับกุมดาเนินคดีชาวบ้านที่เข้าหาอยู่หากินในป่า จะเป็นประเด็นปัญหาที่มีอยู่ก่อนหน้าการรัฐประหารครั้งนี้แล้ว
แต่การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเข้าควบคุมจัดการปัญหาเหล่านี้ภายใต้นโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีแนวโน้มจะยิ่งขยายปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้ให้เป็นไปอย่างเข้มข้นและส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการบุกรุกทาลายป่าอย่างยั่งยืนได้
สถานการณ์การขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ป่า
หลังจากมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 64/2257 และการดำเนินนโยบายตามแผนแม่บทป่าไม้ฯ สถานการณ์การเข้าจับกุมและขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ป่าเกิดขึ้นในแทบทุกภาคของประเทศ
คาดการณ์ในเบื้องต้นว่ามีมากกว่า 100 ชุมชน และประชาชนหลายพันครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ ข้อมูลจากอนุกรรมการด้านที่ดินและป่า
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า มีเรื่องร้องเรียนที่เป็นผลกระทบจากคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และแผนแม่บทนี้ จานวน 48 เรื่อง14 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เป็นกรณีพิพาทมาก่อนหน้านี้แล้ว และอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา
แต่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และแผนแม่บทป่าไม้ฯ ได้ถูกหยิบยกมาใช้เร่งรัดการดาเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐในการขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ โดยไม่สนใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ทั้งนี้รูปแบบปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐตามแนวนโยบายนี้อาจประมวลได้ดังนี้
การจับกุมดำเนินคดี
แนวทางการดำเนินการปราบปรามปัญหาการบุกรุกป่าอย่างเด็ดขาด ทาให้ตัวเลขการจับกุมดำเนินคดีในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกพื้นที่ป่า หรือการครอบครองไม้หวงห้ามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
และกลายไปเป็นตัวชี้วัดผลงานประการหนึ่งซึ่งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องใช้กล่าวอ้างนอกจากนั้นยังมีการเร่งรัดคดีที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการรัฐประหารอีกด้วย จากข้อมูลการแถลงผลงานของสานักงานตำรวจแห่งชาติในรอบ 6 เดือน เมื่อวันที่ 24 เม.ย.58 ระบุว่า
มีการจับกุมผู้ต้องหาทาลายป่าทั้งหมด 2,758 คดี มีผู้ต้องหา 1,622 คน ในคดีการค้าสัตว์ป่า พันธุ์พืชหวงห้าม 265 คดี มีผู้ต้องหา 235 คน คดีการทาลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 108 คดี มีผู้ต้องหา 110 คน และคดีบุกรุกป่าและที่สาธารณะ 1,920 คดี มีผู้ต้องหา 602 คน
อย่างไรก็ตามจำนวนดังกล่าว ไม่ได้จำแนกระหว่างกรณีการดำเนินการต่อ “นายทุน” ที่เข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าถือครองที่ดินทาธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเข้าไปตัดไม้อย่างเป็นระบบ กับ “ชาวบ้าน” ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาวบ้านที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อนการประกาศเขตป่า และมีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับทรัพยากรป่าไม้มายาวนาน หรือกลุ่มเกษตรกรรายย่อย และเกษตรกรไร้ที่ดินทากินในพื้นที่ภาคต่างๆ
ซึ่งปัญหาเชิงโครงสร้างในการกระจายการถือครองที่ดิน รวมทั้งนโยบายของรัฐผลักดันให้พวกเขาต้องเข้าไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่า จากข้อมูลในหลายพื้นที่ ชี้ให้เห็นว่ามีประชาชนกลุ่มหลังนี้เอง ที่ถูกจับกุมดาเนินคดี และถูกพิพากษาจาคุกเป็นจานวนมาก
ในการเข้าจับกุมนั้น หลายกรณีเจ้าหน้าที่ได้สนธิกาลังเข้าจับกุมชาวบ้านจำนวนมากในหมู่บ้านเดียวกัน ผู้ถูกจับกุมมีทั้งผู้สูงอายุ หญิงลูกอ่อน บางครั้งจับกุมคนในครอบครัวเดียวกันมากกว่า 1 คนโดยฟ้องแยกเป็นรายบุคคล
บางกรณีมีการฟ้องร้องเนื้อที่ที่บุกรุกเกินกว่าที่ชาวบ้านเข้าไปทำประโยชน์จริง ทำให้อัตราโทษสูงขึ้นตามไปด้วย การต้องสูญเสียที่ดินทำกิน จนกระทั่งสูญเสียอิสรภาพ ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพและสภาพจิตใจของตัวผู้ถูกดาเนินคดีและครอบครัวอย่างรุนแรง
ตัวอย่างเช่น กรณีชาวบ้านทุ่งป่าคา อ .แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน16 กรณีบ้านจัดระเบียบ อ.ภูพาน จ.สกลนคร คดีเหล่านี้ยังเกิดขึ้นภายใต้สภาพปัญหาที่ประชาชนผู้ยากจนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ทั้งในเรื่องหลักทรัพย์ในการประกันตัว ทนายความ การมีล่ามเพื่อสื่อสารภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์
การเลือกปฏิบัติ ประกอบกับทัศนะของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่ใช้วิธีการลงโทษให้หลาบจำ หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นเกรงกลัว ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่สั่งสมอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน ยิ่งซ้ำเติมให้ประชาชนที่ถูกดาเนินคดีตามนโยบายทวงคืนผืนป่าที่เป็นกลุ่มคนชายขอบได้ตกเป็น “เหยื่อ” ที่ไร้หนทางต่อสู้ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
ในสภาพการณ์เช่นนี้ ชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีหลายกรณีจำเป็นต้องรับสารภาพ โดยหวังว่าศาลจะรอลงอาญา หรือลดโทษให้กึ่งหนึ่ง อย่างน้อยเขาก็ไม่สูญเสียอิสรภาพ หรือเสียให้สั้นที่สุด แม้จะต้องสูญเสียที่ดินทากินไป โดยที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสมีที่ทากินอีกหรือไม่
นอกจากการดำเนินคดีแล้ว เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทหารยังได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลรายครัวเรือน เข้าถ่ายรูปชุมชนหรือบางพื้นที่ก็มีการใช้เฮลิคอปเตอร์บินวนลาดตระเวน ซึ่งนอกจากสร้างความวิตกกังวลให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว
ในบางพื้นที่พบว่า ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ได้มีหมายเรียกชาวบ้านที่เจ้าหน้าที่มาสำรวจข้อมูลแล้ว ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาบุกรุกป่า เช่น กรณีอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคา อ.โนนสังจ.หนองบัวลาภู มี ชาวบ้านถูก ออกหมายเรียกแล้วอย่างต่ำ 13 ราย
การดำเนินทางกฎหมายกับกลุ่มประชาชนเหล่านี้ ได้ตีตราให้พวกเขากลายเป็น “ผู้บุกรุก” ทั้งที่หลายคนอยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมานาน หรือกลายเป็น “ผู้ลักลอบตัดไม้” ทั้งที่หลายคนเป็นผู้ทามาหากินกับทรัพยากรเหล่านี้ในชีวิตประจาวันมาโดยตลอด
การจับกุมคุมขังประชาชนเหล่านี้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างของการถือครองที่ดินที่กระจุกตัวอยู่ในมือของจำนวนน้อย ขณะที่คนจานวนมากกลับไม่มีแม้แต่ที่ดินทากิน
การไล่รื้อชุมชนออกจากพื้นที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกิน
ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่า ด้วยการเข้าไล่รื้อชุมชนที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกินในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนป่าอนุรักษ์หรือที่สาธารณะแม้ชุมชนหลายแห่งจะอยู่อาศัยมาก่อน ปรากฏในหลากหลายรูปแบบ
และเจ้าหน้าที่ยังใช้การกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ยกตัวอย่าง เช่น กรณีของชุมชนเก้าบาตร อ.โนนดิน แดง จ.บุริรัมย์ อกรณีชุมชนโคกยาว และบ้านบ่อแก้ว อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กรณีชุมชนเพิ่มทรัพย์ อ.ชัยบุรี จ.สุ ราษฎร์ธานี กรณีบ้านห้วยปุก อ.เมือง จ.น่าน กรณีบ้านคลองชัน อ.เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น
การบังคับไล่รื้อเหล่านี้ รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ไม่ได้เตรียมการจัดหาพื้นที่รองรับไว้ให้ชุมชนที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่เดิม สร้างความเดือดร้อนและความยากลาบาก ทั้งในด้านที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตให้กับประชาชนที่ถูกผลักดันไล่รื้อตามมา
การเข้าตัดฟันผลผลิตหรือรื้อสิ่งปลูกสร้าง
เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากเขตป่า เจ้าหน้าที่ยังดำเนินการเข้าตัดฟันทำลายพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งรื้อถอนบ้านเรือนของชาวบ้านด้วย เช่นกรณีบ้านห้วยหก อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้เข้าตัดฟันพืชผลของชาวบ้านหลายราย
ทั้งไร่ข้าวและไร่ข้าวโพด หรือกรณีนายอาแม อามอ เจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เข้าตัดต้นยางพารา อายุ 11 ปี จำนวนกว่า 3,200 ต้น ทั้งที่เป็นต้นยางที่ทางรัฐบาลก่อนหน้านี้เคยสนับสนุนให้ประชาชนเพาะปลูก
เช่นเดียวกับอีกหลายพื้นที่ในทุกภูมิภาค ที่เจ้าหน้าที่สนธิกาลังเข้าตัดฟันต้นยางพารานับหมื่นไร่ ทาให้ชาวบ้านขาดแคลนรายได้เลี้ยงครอบครัว และขาดความมั่นคงทางอาหาร
กล่าวโดยสรุป คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 และแผนแม่บทป่าไม้ฯ มีลักษณะของการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการเข้าไปจัดทรัพยากรป่าไม้และที่ดินโดยละเลยต่อบริบทพัฒนาการการใช้พื้นที่และการอยู่อาศัยของชุมชนแต่ละแห่ง
ละเลยฐานการจัดการทรัพยากรและการตัดสินใจร่วมของชุมชนท้องถิ่น ละเลยต่อสิทธิของประชาชนในการมีที่อยู่อาศัย สิทธิในการเข้าถึงที่ดินทำกิน และมาตรฐานการดารงชีวิตอย่างเพียงพอ
เช่นนี้แล้ว ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าแทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ กลับมีแนวโน้มนำไปสู่การสั่งสมความขัดแย้งและความรุนแรงในการจัดการที่ดินและป่าไม้ ตลอดจนทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้าในสังคมไทยทวีความรุนแรงจนถึงขั้นวิกฤตได้ในอนาคต
การใช้อำนาจกดทับการเคลื่อนไหวของชุมชน และเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน
นอกเหนือจากประเด็นทรัพยากรป่าไม้และที่ดินแล้ว การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้กฎอัยการศึกและตามมาด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 44 ในปัจจุบัน ยังส่งผลกระทบต่อความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากรในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะการใช้กฎอัยการศึกเข้ามาควบคุมกดทับการเคลื่อนไหวของชุมชนท้องถิ่นในการคัดค้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่และเอื้อประโยชน์ให้การดาเนินการของกลุ่มทุนขนาดใหญ่
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กิจกรรมการเสวนา การจัดประชุมหรือการรณรงค์ในประเด็นฐานทรัพยากรต่างๆ ก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปจับตา ตรวจสอบ กระทั่งห้ามไม่ให้จัดในหลายกิจกรรม
อีกทั้ง ในการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อชุมชน หรือเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่ทหารยังมีการอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก เรียกตัวแกนนำชาวบ้านไปพูดคุย หรือบางกรณีเจ้าหน้าที่ก็ไปพบแกนนาถึงบ้าน ห้ามไม่ให้เคลื่อนไหว
บางกรณีมีการให้เซ็นเอกสารข้อตกลงหยุดการเคลื่อนไหว ในลักษณะเดียวกันกับแกนนากลุ่มการเมืองต่างๆ ด้วย เช่น กรณีกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดคัดค้านการดาเนินการของเหมืองแร่ทองคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย, กรณีสมัชชาคนจนเรียกร้องให้เปิดเขื่อนปากมูลถาวร
กรณีการคัดค้านการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมที่จังหวัดบุรีรัมย์, กรณีการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ชุมชน ที่ตำบลบ่อแฮ้วจังหวัดลาปาง หรือกรณีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างฝายราษีไศลจะชุมนุมกดดันกรมชลประทานให้เร่งรัดการจ่ายเงินชดเชย เป็นต้น
แม้แต่การเดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้านในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหา แกนนำกลุ่มหรือนักศึกษาที่ไปให้กาลังใจก็ถูกทหารเรียกตัวไปห้ามปราม หรือถูกจับตามอง หรือแม้กระทั่งการขึ้นป้ายคัดค้าน“โครงการพัฒนา” ต่างๆก็ถูกเจ้าหน้าที่ทหารหรือฝ่ายปกครองในบางพื้นที่เข้ามาขอให้ปลดป้ายลง
เช่น กรณีชาวบ้านที่อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ขึ้นป้ายคัดค้านการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารพราน และปลัดอำเภอ เข้ามาขอให้ป้ายลง โดยอ้างว่าไม่ได้ขออนุญาตและขัดต่อความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
เช่นเดียวกับชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจน บ้านห้วยทับนายน้อย จ.ชัยภูมิ ที่ติดป้ายคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร หรือการติดป้ายคัดค้านการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมที่จังหวัดกาฬสินธุ์และขอนแก่น เป็นต้น
นอกจากกดทับการเคลื่อนไหวของชาวบ้านแล้ว ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทหารก็อ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก ปฏิบัติการในลักษณะที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ที่ดาเนินโครงการในพื้นที่ต่างๆ
เช่น ในกรณีชาวบ้านบ้านนามูล อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ที่คัดค้านโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมของบริษัท อพิโก้ (โคราช) จากัด เจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจได้นำกำลังเข้าไปคุ้มกันและอำนวยความสะดวกให้บริษัท
ในขณะทำการขนย้ายอุปกรณ์สาหรับขุดเจาะ โดยมีการข่มขู่จะใช้กฎอัยการศึกดาเนินการต่อชาวบ้านที่เคลื่อนไหวคัดค้าน เช่นเดียวกับในกรณีกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งเคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ ที่อ.วังสะพุง จ.เลย
นอกจากการอ้างกฎอัยการศึกไม่ให้ชาวบ้านประชุม ทำกิจกรรมรณรงค์แล้วทหารยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 4 ชุด เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนและผลกระทบจากเหมืองแร่ แต่คณะกรรมการดังกล่าวกลับมีความพยายามกดดันให้ชาวบ้านยินยอมเปิดทางให้บริษัทขนแร่ออกจากเหมืองแลกกับการถอนฟ้องคดีความชาวบ้าน
ซึ่งในที่สุดชาวบ้านจำเป็นต้องรับข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากทหารได้พูดถึงการขนแร่โดยใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกอยู่ตลอดกระบวนการ รวมทั้งโครงการพัฒนาของรัฐเอง กฎอัยการศึกก็เป็นเครื่องมือให้การดาเนินโครงการเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยข้ามกระบวนการประชาพิจารณ์ไป
เช่น กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชรกรมชลประทานเข้าไปรังวัดพื้นที่ และบังคับให้ชาวบ้านบ้านห้วยทับนายน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มสมัชชาคนจนที่ยังคงคัดค้านเขื่อนอยู่ เซ็นเอกสารยินยอมให้มีการก่อสร้างเขื่อน
แม้ปรากฏการณ์ที่อำนาจรัฐและทุนร่วมกันเอื้อประโยชน์ให้แก่กัน จะเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดในสังคมไทย แต่ในสภาวะทางการเมืองหลังรัฐประหารในครั้งนี้ ท่ามกลางการฉวยใช้และกล่าวอ้างกฎหมายพิเศษของเจ้าหน้าที่รัฐได้นำไปสู่การละเมิดเสรีภาพในการรวมกลุ่ม, การแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมเรียกร้องในประเด็นปัญหาของตนเองอย่างหนักหน่วงมากยิ่งขึ้น
ซึ่งส่งผลให้อำนาจในการต่อรองของประชาชนต่อทั้งรัฐและทุนถูกลดทอนลง จนส่งผลกระทบต่อสิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดสรรและใช้ประโยชน์ทรัพยากร สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง ตลอดจนถึงสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีของประชาชนและชุมชนอย่างน่าวิตกอย่างยิ่ง