เครือข่ายปกป้องอันดามันจี้รัฐยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินหวั่นนักท่องเที่ยวหายเกลี้ยง
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจ.กระบี่ชี้โรงไฟฟ้าถ่านหินคือหายนะการท่องเที่ยวและเกษตรกรรม แนะยกเลิกมาตรการและข้อจำกัดในการผลิตพลังงานหมุนเวียน
18 พฤษคม 2558 เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จังหวัดกระบี่และภาคประชาชน จังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต จัดงานแถลงข่าว ปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
นายอมกฤต ศิริจุทาพรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่และประธานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ประกาศให้พื้นที่จังหวัดกระบี่เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งกำลังติดตั้ง 870 เมกะวัตต์และได้เร่งดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการสร้างวิกฤตครั้งใหม่หลังภัยสึนามิและมีแนวโน้มว่าภัยครั้งนี้จะรุนแรงและยาวนานกว่าเนื่องจากส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจากการขนถ่ายหินนำเข้าจากต่างประเทศและสารพิษร้ายแรงจำนวนมาก เช่น ปรอท ฝุ่นละอองขนาดเล็ก จากการเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้า
"ซึ่งงานวิจัยหลายประเทศบ่งชี้ว่าจะเกิดผลกระทบรุนแรง เมื่อถูกปล่อยสู่บรรยากาศเพราะสามารถแพร่กระจายไปได้ในรัศมี 15-30 ไมล์ ยิ่งไปกว่านั้น หากระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น มลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายสามารถแพร่กระจายไประยะทางจาก 100 -1,000ไมล์ ระยะทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นครอบคลุมทั้งในพื้นที่อันดามันและพื้นที่รอบข้างอย่างแน่นอน"
นายอมกฤต กล่าวถึงฐานอาชีพของคนอันดามันคือการท่องเที่ยวและการเกษตรทั้งสองอาชีพล้วนเกี่ยวเนื่องกับการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี หากพิจารณาตัวเลขด้านการท่องเที่ยวจากสำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง จะพบว่า ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคีภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและเกษตรกรรม มีขนาดเศรษฐกิจ 3.3 แสนล้านบาท ซึ่งการท่องเที่ยวของอันดามันส่วนใหญ่คือการท่องเที่ยวทะเลและชายหาดที่ต้องอาศัยความสวยงามของธรรมชาติเป็นหลัก หากพื้นที่การท่องเที่ยวถูกปกคลุมด้วยควันถ่านหินและมลพิษทางน้ำ การท่องเที่ยวก็จะเกิดหายนะ รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งอาหาร ทั้งหมดนี้คือการรื้อฐานชีวิตคนอันดามันไปสู่ความทุกข์ยาก
ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ความเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจากกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน(CHIA) ซึ่งจัดทำที่เกาะลันตา จ.กระบี่ จำนวนนักท่องเที่ยว 624 คน จากทั้งหมด 37 ประเทศพบว่า 88% มีความเห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อถามว่าหากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วจะกลับมาเที่ยวอีกหรือไม่ พบว่า 85% ตอบว่าจะไม่กลับมาเที่ยวที่จังหวัดกระบี่อีก
ทั้งนี้ในจำนวนนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามเป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและอเมริกา จะมีจำนวนวันเที่ยว แต่ละครั้งยาวนานถึง 90 วัน พบว่าค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจำนวน 264 คน จะมีค่าใช่จ่าย 148,072,400 บาท จากจำนวนดังก็บ่งชี้ถึงหายนะเช่นกัน
สำหรับทางออกของความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า นายอมกฤติ กล่าวว่า หากกระทรวงพลังงานยกเลิกมาตรการและข้อจำกัดในการผลิตพลังงานหมุนเวียน ภาคใต้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้อีกจำนวนมากและหากพิจารณาในระดับโลกพบตัวเลขที่น่าสนใจ ตั้งแต่ปี 2556 โลกผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสะอาด ได้มากกว่าพลังงานฟอสซิล ทั้งนี้สหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกก็ได้หันมาสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างแท้จริง
"ปัญหาเรื่องพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยจึงไม่ใช่เรื่องของศักยภาพการผลิตแต่เป็นเรื่องของการผูกขาดและกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวย"
ด้านนายอัครเดช ฉากจินดา ฝ่ายกิจกรรมแบคแพค เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวว่า ประชาชนในแถบอันดามันโดยเฉพาะจังหวัดกระบี่เริ่มรู้สึกถึงวิกฤติที่กำลังจะมาถึง เนื่องจากเรารับทราบประสบการณ์จากทั่วโลกว่าโรงไฟฟ้าถ่านถ่านหินคือหายนะทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ในขณะนี้ผู้นำรัฐบาลไทยกลับดำเนินการตรงกันข้ามในฐานะประชาชนอันดามันจึงต้องลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดินของเราเองและหวังว่าวันหนึ่งรัฐจะสำนึก และหันมาเอาจริง เอาจัง กับการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างที่ต่างประเทศกำลังดำเนินการ
“พื้นที่อันดามันกลายเป็นพื้นที่สำคัญของโลกด้านการท่องเที่ยวโดยแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก มาเที่ยวแต่ส่วนหนึ่งเมื่อทราบข่าวว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จึงเกิดคำถามสำคัญว่าประเทศไทยกำลังคิดอะไรอยู่ ทำไมเอาพื้นที่ที่สวยงามมาสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งทั้งโลกมีบทสรุปว่ามันเป็นเชื้อเพลิงที่อันตรายมาก นักท่องจึงประกาศเจตนารมณ์ขอให้หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนางบุญยืน ศิริธรรม ประธานสมาพันธ์ผู้บริโภค ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อขอให้ยุติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ ณ ทำเนียบรัฐบาลโดยชี้แจงเหตุผลดังนี้
1.ที่ตั้งท่าเทียบเรือถ่านหินไม่เหมาะสมและมีโอกาสทำให้ทะเลปนเปื้อนจากสารเคมรและสารกัมตภาพรังสีจากถ่านหิน
2.โครงการสร้างท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วและกิจกรรมของโครงการทำลายการท่องเที่ยวของ เนื่องจากเส้นทางเดินเรือหรือขนส่งถ่านหินมีความซับซ้อนกับเส้นทางการท่องเที่ยว จุดดำน้ำสำคัญที่มีชื่อเสียง ระดับโลกซึ่งซึ่งลักษณะของเรือ บ่งชี้ว่าเป็นอุตสาหกรรมและถ้านักท่องเที่ยวทราบถึงการขนส่งถ่านหิน นักท่องเที่ยวเหล่านี้จะไม่กลับมา
3.กระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วทำให้เกิดความแตกแยกของชุมชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน มีความไม่โปร่งใสไม่ให้เอกสารรายงานฯ ที่ระชาชนร้องขอ เป็นการสะท้อนการทำงานขององค์กรที่ขัดกับหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใสและมีความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นไปตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ
5.อุบัติเหตุจากการขนส่งถ่านหิน สร้างผลกระทบรุนแรงไม่น้อยกว่าผลกระทบต่อพื้นที่ก่อสร้างที่เทียบเรือ โดยเฉพาะ เส้นทางเดินเรือ เพราะในทะเลอันดามันมีช่วงที่มีพายุรุนแรง ดังจะเห็นได้จาก ปี พ.ศ.2557 และมีข่าวเรือขนเรือส่งปูนซีเมนต์ล่มมาแล้ว และเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เรือขนน้ำมันเตาของของ กฟผ.ถูกปล้น ระหว่างการเดินทางจากสิงคโปร์มา จังหวัดกระบี่ แสดงให้เห็นว่า การใช้ถ่านหินไม่ใช่เป็นความมั่นคงทางพลังงาน เพราะถ่านหินต้องซื้อและขนส่งมาจากต่างประเทศ จึงไม่แตกต่างจากกรณี ของก๊าซที่พมาหยุดส่งมาให้ประเทศไทยสร้างผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า
6.การจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบฯของโครงการการนี้มีจุดอ่อนและไม่เป็นไปตามเจตรมณ์ของของรัฐธรรมนูญ คือกระบวนการจัดทำรายงานาการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฟผ.ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม จังหวัดกระบี่ การจัดทำรายงานโดยสำรวจสิ่งมีชีวิตเพียงระยะสั้นๆ ไม่ได้ศึกษาให้ครบรอบปี การก่อสร้างอาคารเก็บถ่านหินสูง 30 เมตร ขัดกับกฏหมาย ขาดเส้นทางเดินเรือที่ชัดเจน โดยอ้างใช้เส้นทางขนเรือน้ำมันเตา (3,000 เดทเวทตัน) แต่ความจริง คือเรือขนน้ำมันเตาไม่ได้วิ่งเส้นทางเดิม ขึ้นกับสภาวะทางคลื่นลม จึงขาดพิกัดของเส้นทางเดินเรือถ่านหิน