คสรท. จี้บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 ปรับค่าจ้าง 360 บ.เชื่อเพียงพอต่อการดำรงชีพ
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจ จัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เรียกร้องใช้ ม.44 ปรับค่าจ้าง 360 บาท ยันรัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98
วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจ จัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ คือ รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองฯ รวมถึงรัฐต้องคุ้มครองการละเมิดสิทธิแรงงานของคนทำงาน
นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ในอตีดที่ผ่านได้มีการต้องสู้เกี่ยวกับเวลาการทำงาน ที่มีการทำงานเป็นเวลา 10 ชั่วโมงจึงทำให้คนงานหญิงนั้นล้มป่วย ล้มตายไม่มีความปลอดภัยในการทำงานและยังมีการละเมิดสิทธิแรงงาน ในงานลางาน การพักผ่อน การดูแลของแรงงาน และในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้รับความธรรม ถูกไล่ออก เลิกจ้าง เราจึงออกมาเรียกร้องและเราขอเรียกวันที่ 1 พฤษภาคมว่า วันกรรมกรสากล และในวันนี้ที่พวกเราออกมาก็ต้องการให้รัฐบาลรับรู้ว่า ปัญหาแรงานในสถานประกอบการมีอะไรบ้าง เช่น เรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลมีการรับรองอนุสัญญาขั้นพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ที่ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทุกชุดได้ให้สัตยาบัน เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นเวลานาน เรายังยืนยันเจตนารมณ์นี้ต่อไป จึงขอเรียกร้องให้แรงงานไทยทุกคนได้ภาคภูมิใจว่า “วันกรรมกรสากล” เป็นวันที่พี่น้องแรงงานทั่วทั้งโลกต่างหยุดงานพร้อมกันและได้จัดกิจกรรมเพื่อสำนึกถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของพี่น้องแรงงาน เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงาน การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เศษรฐกิจสังคม ให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานและผู้ที่ถูกขูดรีด ถูกเอาเปรียบในสังคมอย่างยิ่งใหญ่ทั้งโลก
พร้อมกันนี้ ในโอกาสวันแรงงานสากล คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และพันธมิตร อ่านคำประกาศประกาศแห่งฟีลาเดลเฟียขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในปี 2487
1. ให้รัฐบาลได้มีอนุสัญญา ขั้นพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98
2. ให้รัฐบาลไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3. ในเรื่องของการละเมิดสิทธิแรงงาน รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแลอย่างทั่วถึงและใกล้ชิดในเรื่องของปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
4. ในปีนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและ สมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจได้มีการสำรวจค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของแรงงาน วันละ 360 บาท จึงอยากให้รัฐปรับปรุงและแก้ไขในส่วนนี้ด้วย
ด้านนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า วันนี้เราเรียกร้องสิทธิและขอความเป็นธรรมจากรัฐบาล ทุกวันนี้สภาพแรงงานแทบจะไม่มีสิทธิใดๆเลย สถานการณ์ประเทศไทยไม่ปกติกับภาวะทางการเมืองที่ไม่ปกติ ความพยายามของของรัฐบาลในการขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น เป็นเรื่องสำคัญที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานและคนยากจนต้องการและเชื่อว่าทุกคนสนับสนุนรัฐบาล โดยใช้อำนาจของมาตรา 44 ในการปรับค่าจ้างให้แก่คนงานสอดคล้องกับความต้องการการและภาวะการณ์ดำรงชีพ การจัดการอย่างเด็ดขาดต่อการละเมิดสิทธิแรงงานทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งควรทำทันที