ศึกษาระบบปกครอง 10 อันดับประเทศคอร์รัปชันมากสุดในโลก
ระบบการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทยเองก็มีลักษณะคล้ายกับสหรัฐอเมริกา ที่มีการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย การติดสินบน โกงเลือกตั้ง โกงเงินหลวง หรือแม้แต่การใช้เส้นสายเพื่อผูกขาดทางการค้า ผูกขาดสิทธิสัมปทาน
บ่อยครั้งที่รูปแบบการปกครองและโครงสร้างทางการเมือง คือปัจจัยที่เอื้อให้คนที่ขี้โกงทั้งที่เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ และข้าราชการในการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ผู้นำรัฐบาลในหลายประเทศสามารถผูกขาดอำนาจต่อเนื่องได้หลายยุคหลายสมัย และสร้างเครือข่ายในระบบราชการของประเทศ ขณะที่อีกหลายประเทศถูกปกครองด้วยผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ที่ขาดเสถียรภาพในการบริหารประเทศ
จากผลการจัดอันดับประเทศที่มีภาพลักษณ์คอร์รัปชันปี 2014 แย่ที่สุด 10 อันดับ ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เมื่อนำมาศึกษาประกอบกับรูปแบบการปกครองและระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จะทำให้เห็นภาพการทุจริตคอร์รัปชันมากขึ้น
อันดับ 10 อิริเทรีย; คะแนนคอร์รัปชัน: 18; รูปแบบการปกครอง: พรรคการเมืองพรรคเดียว
อิริเทรียเป็นประเทศเล็ก ๆ อยู่ในทวีปอัฟฟริกา มีความยากจนมาก มีการโอนกิจการภาครัฐเป็นของเอกชน ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและคนที่มีอำนาจสร้างโอกาสในการหากำไรให้กับตัวเอง ประเทศอิริเทรียมีการปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
เศรษฐกิจจะยังคงไม่ดีขึ้น ปัญหาสงครามในประเทศเพื่อนบ้านสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่างประเทศ
อันดับ 9 ลิเบีย; คะแนนคอร์รัปชัน: 18; รูปแบบการปกครอง: อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ลิเบียยังไม่มีรัฐบาลอย่างเป็นทางการ มีการต่อสู่ระหว่างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและฝ่ายที่จงรักภักดีกับรัฐบาลเก่า ช่องว่างทางการเมืองเปิดโอกาสให้พ่อค้าอาวุธและเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงที่มีอำนาจสร้างกำไรจากการสร้างให้ประชาชนต่อสู้กันเอง
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการส่งออก ลิเบียจะยังคงไม่มีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจจนกว่าจะมีรัฐบาลถาวร
อันดับ 8 อุซเบกิสถาน; คะแนนคอร์รัปชัน: 18; รูปแบบการปกครอง: สาธารณรัฐ
ประเทศอุซเบกิสถานปกครองแบบสาธารณะรัฐ อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประธานาธิบดี อิสลาม คาริมอฟ นายคาริมอฟเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 3 สมัย จึงทำให้ง่ายต่อการทุจริตคอร์รัปชัน
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเกษตร รัฐบาลพยายามดึงดูดนักลงทุนต่างชาติด้วยผลประโยชน์ทางด้านภาษีและสินบน
อันดับ 7 เติร์กเมนิสถาน; คะแนนคอร์รัปชัน: 17; รูปแบบการปกครอง: ประธานาธิบดี / เผด็จการ
ความไม่สงบในประเทศแถบตะวันออกกลาง ทำให้ง่ายต่อการเกิดปัญหาคอร์รัปชันในประเทศเติร์กเมนิสถาน โดยเฉพาะอำนาจส่วนใหญ่อยู่ที่ประธานาธิบดี Gurbanguly Berdimuhamedow
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเกษตรและพลังงาน การใช้รายได้ของรัฐไปในทางที่ผิดทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุน และนำไปสู่การคอร์รัปชันจำนวนมาก
อันดับ 6: อิรัก; คะแนนคอร์รัปชัน: 16; รูปแบบการปกครอง: สหพันธรัฐที่มีรัฐสภาหุ่น
อิรักอยู่ในสถานการณ์ที่วุ่นวาย หลังจากที่อเมริกาถอนกำลังออกจากประเทศทำให้เกิดช่องว่างของอำนาจ มีการต่อสู่เพื่ออำนาจจากกลุ่มศาสนาต่าง ๆ ได้แก่ Kurds, The Shiites และ Sunnis และปัญหาจากกลุ่ม ISIS จากประเทศซีเรีย
สถานะภาพทางกฎหมายของรัฐบาลยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงอยู่ มีการคอร์รัปชันในประเทศมาก เนื่องจากประเทศมีฐานะร่ำรวยและทรัพยากรธรรมชาติมากจึงเป็นเป้าหมายในการหาประโยชน์จากนักลงทุนและผู้ที่หวังทำกำไรจากสงคราม
อันดับ 5 สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน; คะแนนคอร์รัปชัน: 15; รูปแบบการปกครอง: สาธารณรัฐ
สาธารณรัฐเซาท์ซูดานเป็นประเทศเกิดใหม่แยกมาจากประเทศซูดาน จึงเป็นโอกาสสำหรับนักการเมืองขี้โกงที่แย้งกันเข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนมีมากกว่า 200 เชื้อชาติ ทำให้ประชาชนขาดความรู้สึกความเป็นเจ้าของประเทศ
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก บริษัทน้ำมันต่างชาติฉกฉวยโอกาสจากความอ่อนแอของรัฐบาลและนโยบายควบคุมต่างๆ เพื่อสร้างกำไร 85% ของประชากรวัยทำงานไม่มีงานทำและมากกว่าครึ่งมีความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน
อันดับ 4 ประเทศอัฟกานิสถาน; คะแนนคอร์รัปชัน: 12; รูปแบบการปกครอง: สาธารณรัฐอิสลาม
อัฟกานิสถานมีรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ ก่อตั้งขึ้นจากผู้นำกลุ่มต่าง ๆ เช่น Taliban และ Al-Qaeda อดีตประธานาธิบดี ฮามิด คาร์ไซ ได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีที่ขี้โกงมาก
การเกิดอาชญากรรม การขาดความปลอดภัย รัฐบาลที่อ่อนแอ การขาดแคลนสาธารณูปโภค และความยากของรัฐบาลในการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ทั่วประเทศเป็นสิ่งที่ท้าทายต่ออนาคตเศรษฐกิจ
อันดับ 3 ซูดาน; คะแนนคอร์รัปชัน: 11; รูปแบบการปกครอง: สหพันธรัฐสาธารณรัฐ
ซูดานเป็นประเทศที่ตกอยู่ในภาวะสงครามมาหลายปี ความขัดแย้งที่ยาวนานระหว่างกลุ่มและชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซูดานปกครองแบบ สหพันธรัฐสาธารณรัฐ โดยพรรค National Congress Party (NCP) ตั้งแต่ปี 1898 และยังไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาของประเทศ ประชากร 64.5% มีความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน
อันดับ 1 เกาหลีเหนือ; คะแนนคอร์รัปชัน: 8; รูปแบบการปกครอง: เผด็จการ
CIA ระบุว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือเป็น “รัฐคอมมิวนิสต์ภายใต้ผู้นำเผด็จการเดี่ยว” ข้อมูลรัฐบาลเกาหลีเหนือและเศรษฐกิจของประเทศถูกปกปิดเป็นความลับ เกาหลีเหนือประสบปัญหาการผลิตพลังงานและอาหารไม่เพียงพอ
สำหรับประชาชนในประเทศ การใช้จ่ายทางทหารสูงมากกว่าโครงการทางสังคม และชอบแสดงกำลังทางทหารเพื่อข่มขู่ประเทศอื่น
อันดับ 1 โซมาเลีย; คะแนนคอร์รัปชัน: 8; รูปแบบการปกครอง: ไม่ชัดเจน
โซมาเลียเป็นประเทศที่มีความไม่มั่นคงมากที่สุด รัฐบาลขาดเสถียรภาพ
ทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีพอยู่ด้วยการเลี้ยงสัตว์และทำการประมง เนื่องจากยังมีปัญหาความวุ่นวายในการจัดตั้งรัฐบาล การวางแผนทางด้านโครงการเพื่อสังคม และสาธารณูปโภคจึงเป็นไปได้ยาก มีเพียง 29% ของประชากรประเทศที่ได้รับการศึกษา และประชากรมีอายุขัยเพียง 55 ปี
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ประเทศที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุด 10 อันดับแรกมีเหมือนกันก็คือ การมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียวหรือมาจากพรรคการเมืองเดียว อย่างเช่น เกาหลีเหนือ อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอิริเทรีย และมีรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพ อย่างเช่น ลิเบีย อิรัก สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน อัฟกานิสถาน ซูดาน โซมาเลีย ที่เปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด สร้างประโยชน์ให้กับตนเอง หรือพรรคพวกเพื่อนพ้อง นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน ผลที่เห็นในสังคมของประเทศนั้นๆ คือ ความยากจน ด้อยการศึกษา คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ สังคมไม่สงบสุขขาดเอกภาพ การแตกแยกต่อสู้แย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ดังคำกล่าวของลอร์ด แอคตัน นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ว่า "อำนาจมีแนวโน้มที่จะทำให้คนคอร์รัปชัน และอำนาจเด็ดขาดจะทำให้คนคอร์รัปชันยิ่งขึ้น" (Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely)
ว่ากันตามจริงสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันที่ 17 จาก 175 ประเทศ และได้รับการกล่าวว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยชั้นนำของโลก ทั้งที่ในประเทศนี้มีคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ อยู่มากมาย ทั้งการล๊อบบี้ ติดสินบน โกงเลือกตั้ง และการซื้อเสียง แต่ผลการจัดอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันของอเมริกากลับดีกว่าหลายประเทศในแอฟฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง
ระบบเศรษฐกิจของอเมริกา แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็น “ตลาดการค้าเสรี” แต่ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น เช่น อุตสาหกรรมโทรคมนาคมหรือพลังงาน จะเห็นได้ว่ามีการผูกขาดทางธุรกิจ และในหลายกรณีหากใช้เงินจำนวนมากก็สามารถที่จะแก้ไขกฎหมายเพื่อรักษาอำนาจและอิทธิพลได้ แรงกดดันจากธุรกิจขนาดใหญ่และสหภาพแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญว่าทำไมอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศเดียวที่ไม่ยังไม่มีระบประกัน สุขภาพของประเทศ และมีความเลื่อมล้ำทางสังคมมากขึ้นในปัจจุบัน
ระบบการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทยเองก็มีลักษณะคล้ายกับสหรัฐอเมริกา ที่มีการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย การติดสินบน โกงเลือกตั้ง โกงเงินหลวง หรือแม้แต่การใช้เส้นสายเพื่อผูกขาดทางการค้า ผูกขาดสิทธิสัมปทาน หากแต่พิจารณาในมิติต่างๆ แล้ว จะพบว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงรักษาผลประโยชน์ของประเทศและจัดสรรผลประโยชน์เหล่านั้นให้กับประชาชนในรูปแบบต่างๆ ขณะที่ประเทศไทย นักการเมือง นักธุรกิจและข้าราชการที่ฉ้อฉลต่างตั้งหน้าตั้งตาทำทุกอย่าง เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพรรคพวกเพื่อนพ้อง แต่ที่แตกต่างกันชัดเจนที่สุดเห็นจะเป็นความตื่นตัวของประชาชนที่คอยติดตามและร่วมแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายและการดำเนินงานของรัฐ
อ้างอิงจาก : The 10 Most Corrupt Countries in the World http://www.cheatsheet.com โดย นายจิรวัฒน์ ลิ้มแก้วประเสริฐ ผู้อำนวยการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)