มุมมอง ส.ศิวรักษ์ กับนิเทศศาสตร์ "เขียนอดีตเสียใหม่เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต"
“มหาวิทยาลัยไทยไม่มีมหาวิทยาลัยไหนเป็นเลิศ ส่วนใหญ่ในไทยมุ่งแต่ความสำเร็จมากกว่าเป็นคนดี แต่ความเป็นเลิศในแบบฮาร์วาร์ด คือความเป็นเลิศในการประกอบอาชีพ และความเป็นเลิศในการหาเงิน”
เมื่อเร็วๆนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ ปัญญาชน และนักวิชาการอิสระ กล่าวปาฐวาที 50 ปี นิเทศศาสตร์ จุฬา ชุด "นิเทศศาสตร์แห่งอนาคต" ครั้งที่ 4 เรื่อง "สื่อมวลชนไทย เขียนอดีตเสียใหม่เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต" ณ หอประวัติและอนุสรณ์นิเทศศาสตร์ ชั้น 4 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
ศาสตราจารย์พิเศษ สุลักษณ์ เริ่มต้นด้วยการชวนคิดถึงศาสตร์วิชาอย่างนิเทศศาสตร์ในเวลานี้ พร้อมให้ลองมองไปอีก 50 ปีข้างหน้า และถามคนที่สอนนิเทศศาสตร์ว่า เห็นจุดอ่อนของสื่อสารมวลชนในประเทศไทยหรือไม่ มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของนิเทศศาสตร์บางหรือไม่ และมีหนังสือพิมพ์ไหนที่จะยกย่องได้ถึงเสรีภาพได้บ้าง
"เวลานี้ไม่มีแม้แต่ฉบับเดียว ไม่ว่าจะสื่อมวลชนที่ไหน โทรทัศน์ช่องใด มีหรือไม่ที่มีความกล้าหาญทางศีลธรรม มีโทรทัศน์อยู่ช่องหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากเจ้าของช่องนั้นหนีคุกหนีตารางไปอยู่ต่างประเทศ คนที่ออกข่าวมีชื่อเสียงมากก็กำลังขึ้นศาลเข้าตาราง แต่ไม่มีใคร คนไทยคนไหนสนใจเรื่องนี้เลย ขณะที่ละครทั้งหมดเป็นเรื่องน้ำเน่า สามารถเอาลูกเจ๊กมาเป็นลูกเจ้าได้ แล้วลูกเจ้าเหล่านั้นก็โฆษณาหากินขายของ นี่คือสภาพของสื่อมวลชนที่เป็นจริงในเวลานี้ ถ้าเราไม่ยอมรับความเปลี่ยนไปของสื่อมวลชนในเวลานี้ มีความจำเป็นที่จะหาสื่อมวลชนในอนาคตที่สดใสได้อย่างไร"
จากนั้น ส. ศิวรักษ์ ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford) ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอังกฤษ และรู้ไหมว่า มหาวิทยาลัยนาลันทา เกิดก่อนมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด 500 กว่าปี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในเอเชีย มีนักศึกษาถึงหมื่นคน มีคนไปเรียนทั่วทั้งเอเชีย มหาวิทยาลัยนาลันทาไม่ได้สอนเหมือนอ๊อกซฟอร์ด หรือเยลไม่ได้มุ่งให้คนฉลาด แต่มุ่งให้คนเป็นคนดี ให้ครูกับศิษย์เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกันครูเรียนจากศิษย์ ศิษย์เรียนจากครู นี่คือกลไกของการศึกษาที่แท้จริงถ้าครูสอนลูกศิษย์อย่างเดียวโดยไม่เรียนจากลูกศิษย์จะเป็นการบกพร่องในการเรียนหนังสือ โดยเฉพาะเวลาไหว้ครู ให้ลูกศิษย์ถือดอกเข็มคลานไปไหว้ครู
"เราไม่เคยรู้เลยว่าระหว่างไหว้ครูมันด่าแม่ครูในใจตลอดเวลา เราสามารถสอนลูกต่อหน้าได้ นั้นแหละจึงเป็นอาจารย์ที่เกิดขึ้นต่อลูกศิษย์"
ทั้งนี้แม้แต่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ส.ศิวรักษ์ กล่าวว่า ที่นั่นมีคำว่าสัจจะ และสัจจะอันประเสริฐนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนและเรียบเรียงศัพท์ มี 4 ประการ ถ้าเราเรียนแล้วไม่เข้าใจศัพท์ทั้ง 4 ประการ เราก็จะไม่เข้าใจชีวิตสัจจะ
ข้อที่หนึ่งต้องเห็นทุกขะ แปลว่า อีกนัยหนึ่งชีวิตคนเรามีความทุกข์ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าสอนทุกข์นั้นต้องเผชิญแต่ความทุกข์ไม่ใช่เรื่องของส่วนบุคคลเท่านั้น แต่เป็นของสังคมด้วยความทุกข์ในทางธรรมชาติเอย หากเข้าใจทุกข์ก็จะหาเหตุแห่งทุกข์ได้แห่งเหตุทุกข์มาจาก ความ โลภ โกรธหลง แต่ความโลภออกมาชัดเจนในรูปแบบของทุกนิยม บริโภคนิยม ความโกรธออกมาชัดเจนในทางอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตย อำนาจรัฐแสดงออกถึงความโกรธโทสะทั้งสิ้น และความหลงคือระบบการศึกษาสมัยใหม่ซึ่งสอนให้คนเห็นแก่ตัว สอนไม่เข้าใจถึงความเป็นจริงของสภาวะสังคม ไม่เข้าใจเหตุแห่งทุกข์ได้ชัดเจน
"การถือศีลเป็นเรื่องดี ถ้าเรารู้จักเรียนรู้ ไม่เอาเปรียบตัวเองและผู้อื่น แต่ระบบการศึกษาเวลานี้สอนให้เอาเปรียบตัวเองและผู้อื่น การเอาเปรียบตัวเองคือใช้ความคิดในการเรียนมากเกิน เล่นกีฬาใช้ร่างกายหักโหมเกิน ศีลปกติคือต้องใช้ร่างกายให้ถูกต้องไม่หักโหม ใช้ความคิดให้ถูกต้อง ใช้จิตใจให้ถูกต้อง ศีลถึงจะเจริญทั้งร่างกายและสิขา หัวใจหัวสมองต้องประสานสอดคล้องกัน ทั้งหมดนี้สอนแต่ความคิดอย่างเดียวเพราะยิ่งคิดมากเท่าไหร่ก็จะฉลาดมากขึ้นเท่านั้น"
ท่านทั้งหลายทราบไหม อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคนเรา ถ้าขาดสิ่งสำคัญนี้ถึงตายได้เลย พระพุทธเจ้าสอนให้คนเชื่อด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง พระพุทธเจ้าได้สอนสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคนเราคือ "ลมหายใจ" เราหายใจทุกวันวันละ 24 ชั่วโมง อาทิตย์ละ 7 วัน ไม่เคยหยุด ไม่มีหยุดสงกรานต์ มาฆบูชา วิสาขบูชา แต่เราหายใจเอาความเครียดเข้าไป เอาความโลภ โกรธ หลง เข้าไป
ส.ศิวรักษ์ ระบุด้วยว่า การศึกษาที่แท้จริงต้องเริ่มจากบูรณาการสติต้องเริ่มจากฝึกลมหายใจที่สะกดความคิด ความอ่านความสุขจะเกิดขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ความสุขจากแผ่นดินก่อน ถ้ามุ่งประโยชน์ความสุขของตัวเอง เราจะมีความทุกข์มาก แต่ถ้าเรามุ่งประโยชน์ความสุขของคนอื่นมากกว่าเราจะมีความสุขมากกว่านี้
"การศึกษาหลักแทบจะทั่วโลกไม่สอนจิตตสิขาภาวนาให้ถูกต้อง แต่ไม่ภาวนาแบบกรรมกาย ภาวนาแบบวิฉาสมาธิ ภาวนาแบบความเห็นแก่ตัว ภาวนาแบบชั่วช้า ต้องภาวนาแบบถูกต้องเพื่อสะกดทั้งกายและใจ มีปัญญารอบรู้อย่างรอบครอบ รู้จริง"
อ.สุลักษณ์ กล่าวสภาพของนิเทศศาสตร์ ว่า เป็นศาสตร์สำคัญในการทำสื่อให้คนเห็น แต่ถ้าตีประเด็นไม่แตกก็สื่อสารอะไรไม่ได้ พร้อมตั้งคำถามว่า หากนิเทศศาสตร์ตีประเด็นไม่แตกอนาคตข้างหน้าอีก 50 ปี เรายังจะมีพระราชาอยู่หรือไม่ และว่า การที่สื่อจะชี้แจงสิ่งใดให้ผู้อื่นเห็นนั้น ประการแรกต้องเห็นสภาพเป็นอย่างไรเห็นสภาพชัดแล้วต้องตีประเด็น เห็นอำนาจให้ชัดให้สภาพปัจจุบันที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มองไม่เห็น แม้แต่คณะนิเทศศาสตร์ก็ยังมองไม่เห็น
ปัจจุบันมีประเด็นหลัก 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด 1 คือเรื่องโลกร้อน 2 คนรวยคนจน 3 ความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นทุกหนแห่ง ถ้าตีประเด็นทั้ง 3 ให้ชัดเราก็จะตีประเด็นอื่นได้ ถ้าตีประเด็นไม่ชัดก็พยายามแสวงหาประเด็นให้ชัดตีประเด็นให้ชัดต้องทำอย่างไร
ประการแรก ครูและศิษย์ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ประการที่สอง ครูและศิษย์ต้องออกนอกกำแพงมหาวิทยาลัยไปสัมผัสกับผู้ยากไร้ในสลัม ถ้าเรารู้จักคนในสลัม เราจะรู้จักตัวเอง ถ้าจับประเด็นนี้ได้มหาวิทยาลัยจะเป็นส่วนกลางที่ช่วยเหลือ
"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เองก็ไม่ได้สนใจสิ่งนี้ ถ้าพลเอกประยุทธิ์เข้าใจศึกษานิเทศศาสตร์อย่างน้อยก็จะทำให้การพูดดูน่ารักกว่านี้ น่าฟังกว่านี้ อีกนัยนึ่งพลเอกประยุทธเป็นคนไม่มีกัลยาณมิตร ไม่มีใครกล้าเรียนเขาได้ เพราะคนที่รับใช้รอบตัวเขานั้นเป็นเนติบริกร เป็นผู้ที่พร้อมจะรับใช้"
ท้ายสุด ส.ศิวรักษ์ ทิ้งท้ายว่า เสรีภาพของประชาชน เสรีภาพของสื่อ ประชาชนปัจจุบันมีความทุกข์ สื่อยังคงดำรงอยู่สื่อปัจจุบันเป็นสื่อน้ำเน่าทั้งหมด ต้องตีประเด็นให้แตกอนาคตอีก 50 ปีนั้นมนุษย์ปัจจุบันต้องมีความกล้าทางจริยธรรมมากขึ้น การนิยมยกย่องถ้าเห็นดีไปหมดก็อันตรายถ้ายกย่องเรื่องสื่อในเมืองไทยต้องอย่าเป็นคนชาตินิยม