ผลงานการออกมาตรการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ของ 'คสช. รัฐบาล สปช. และ สนช.'
ดร. มานะ นิมิตรมงคล ผู้อำนวยการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) รวบรวมผลงานการออกมาตรการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ของ คสช. รัฐบาล สปช. และ สนช. ดังนี้
1) รัฐบาล + คสช.
มาตรการที่มีผลแล้ว
1. โยกย้ายข้าราชการสีเทา
2. ตั้ง คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) และ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.)
3. ตั้ง คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญสำหรับรัฐวิสาหกิจ คือ
ก. วางหลักการห้ามอัยการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจในอนาคต
ข. กำหนดให้บริหารโดยใช้มาตรฐานบรรษัทภิบาลเท่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ค. กำหนดให้โครงการของรัฐที่มีวงเงินเกินกว่า 50 ล้านบาท ต้องจัดทำรายงานการปฏิบัติการและความคืบหน้า เพื่อเป็นข้อมูลที่สามารถ
รายงานต่อประชาชนได้ว่าโครงการนั้นๆ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร
4. กำหนดให้ใช้ ข้อตกลงคุณธรรม และ CoST ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่ นำร่อง 3 โครงการ
5. ห้ามใช้ภาพนายกรัฐมนตรีเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั่วไป
มาตรการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ (เท่าที่ปรากฎข้อมูล)
1. ร่าง พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ จัดทำโดย กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และ สปช.
2. ร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งสำนักงานงบประมาณประจำรัฐสภา และ กำหนดวิธีการทำงบประมาณอย่างโปร่งใส
2) สนช.
มาตรการที่มีผลแล้ว ผ่าน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ
มาตรการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ (เท่าที่ปรากฎข้อมูล) ปรับปรุง พ.ร.ป. ป.ป.ช. ให้อนุวัตการตามอนุสัญญา UNCAC 2003
3) สปช.
มาตรการที่มีผลแล้ว - ยังไม่มี -
มาตรการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น
1. ร่าง พ.ร.บ. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาครัฐ
2. ร่าง ปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ 2540
3. การจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษแผนกคดีทุจริตประพฤติมิชอบในศาลอาญา
4. ร่าง พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้าง โดย สปช. ร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
5. มาตรการจากคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (แยกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การป้องกัน การปราบปรามและการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม) ทั้งที่เขียนในรัฐธรรมนูญ เสนอเป็นกฎหมายและนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติของรัฐ หากมาตรการเหล่านี้แล้วเสร็จจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ
6. มาตรการที่จะบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงด้วยระบบคุณธรรม ศาลวินัยการเงินและการคลัง การใช้มาตรการตรวจสอบการเสียภาษีรายได้ย้อนหลังของนักการเมือง สร้างความเข้มแข็งของข้าราชการ สิทธิพลเมืองในการรับรู้ข่าวสารสาธารณะ เป็นต้น
หมายเหตุ การกระทำที่แสดงถึงความตั้งใจของรัฐบาลในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน (เท่าที่ปรากฎข้อมูล)
1) การอนุมัติงบประมาณอย่างเพียงพอเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ให้แก่ ป.ป.ช.
2) บรรจุข้าราชการข้าราชการใหม่ ป.ป.ช. มากถึง 760 ตำแหน่ง
3) ให้งบสนับสนุนโครงการ SLA แก่ กพร. เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและโปร่งให้แก่ประชาชน
4) ตั้ง คตช.และ ศอตช. โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
5) ให้ ศอตช. เปิดเว็ปไซท์ ให้ประชาชนติดตามคดีคอร์รัปชันที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเพื่อให้เห็นถึงการเร่งรัดคดีอย่างเอาจริงเอาจัง
6) การเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่กล้าประกาศเมื่อเข้ารับตำแหน่งว่าจะ “แก้ปัญหาคอร์รัปชันให้เห็นผลใน ๑ ปี”