บางขวางเตรียมนำผลงานผู้ต้องขังปั้นพระพุทธรูป ทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง
ครั้งแรกสอนปั้นพระพุทธรูปในเรือนจำ 7 เดือนกับโครงการปั้นดินให้เป็นบุญ เรือนจำบางขวางใช้งานพุทธศิลป์เยียวยาจิตใจผู้ต้องขัง หวังช่วยเรื่องสมาธิ ความสงบ พร้อมคัดเลือก 2 ใน 8 องค์ ผลงานพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม ทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ 9 ก.พ.2558 เรือนจำกลางบางขวาง จัดงานแถลงข่าว ความสำเร็จ " จากมือที่เปื้อนบาปสู่มือที่ปันบุญ" ภายใต้โครงการ "ปั้นดินให้เป็นบุญ" ณ แดนการศึกษา เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า โครงการปั้นดินให้เป็นบุญเป็นโครงต่อยอดจากโครงการพัฒนาพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ ต้องขังในแดนประหาร ณ เรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในแดนประหารได้เริ่มต้นมาจากกรที่พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้เสด็จฯ มายังเรือนจำกลางบางขวางและทรงเห็นว่า ผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่มีศักยภาพและสามารถนำศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ออกมาถ่าย ทอดเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ โดยทรงเห็นว่า อิสรภาพไม่สามารถขวางกั้นความรู้ ความสามารถของผู้ต้องขังได้
"ก่อนหน้านี้ได้มีการดำเนินการจัดการการ สอนเขียนเรื่องเล่า ภายใต้โครงการเรื่องเล่าแดนประหาร และจัดทำเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่สู่สังคมและผลงานผู้ต้องขังในครั้งนั้นได้ รับการชื่มชมและได้รับรางวัล เช่น เซเวนส์ บุค อะวอร์ด รางวัลนายอินทร์ อะวอร์ด เป็นต้น"
นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง กล่าวถึงโครงการปั้นดินให้เป็นบุญ เกิดจากความเชื่อที่ว่า งานพุทธศิลป์ คือการปั้นพระพุทธรูปจะช่วยเยียวยาจิตใจผู้ต้องขังโทษได้ ช่วยให้มีสมาธิ ความสงบ เพื่อสามารถใช้ชีวิตในเรือนจำได้อย่างผู้ที่มีอิสระทางจิตใจ นอกจากนี้ยังเป็นการน้อมบูชาคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐ และน้อนถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้พระราชทานชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ต้องขังโทษประหารชีวิตได้รอดพ้นจากความตาย
"โครงการปั้นดินให้เป็นบุญ ได้คัดเลือกผู้ต้องขังโทษประหารชีวิต เรือนจำบางขวาง ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดป็นลำดับ ตั้งแต่การเข้าอบรมการเขียนจาก "โครงการเรื่องเล่าจากแดนประหาร" รุ่นที่ 1 และ 2 เข้าร่วมโครงการจิตอาสาจากแดนประหาร และ โครงการนิทานสร้างสุข จำนวน 44 คนเพื่อเรียนการปั้นพระพุทธรูป"
ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการสอนการปั้นพระพุทธรูปในเรือนจำ โดยมีทีมงานครูผู้สอนหลักคือ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ประกอบด้วย ผศ.ดร.ภูวนาท รัตนรังสิกุล อาจารย์ปนท ปลื้มชูศักดิ์ อาจารย์ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา อาจารย์ภูษิต รัตนภานพ นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ผู้มีประสบการณ์สูงด้านการปั้นด้านการปั้นพระพุทธรูป คือ อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข ช่างปั้นพระมือหนึ่งของประเทศ กับอาจารย์อติ กองสุข ประติมากรรมชำนาญงาน โดยการเรียนการสอนขึ้นที่ฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ (แดน 14) เรือนจำกลางบางขวาง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – พฤษจิกายน พ.ศ.2557 ที่ผ่านมารวมระยะเวลา 7 เดือน
สำหรับการเรียนปั้นพระพุทธรูปในครั้งนี้ มีผลงานการปั้นพระพุทธรูปทั้งสิ้น 8 องค์ โดยคณะทำงาน ได้พิจารณาคัดเลือกผลงานพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะที่งดงาม จำนวน 2 องค์ ซึ่งพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระ ดร.อนิลมาน ธัมมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ตั้งนามพระพุทธปางปางสมาธิว่า "พระพุทธนฤอภัยมงคล" อันมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นเหตุแห่งความเจริญและไม่มีภัยของมนุษย์ และองค์หนึ่ง เป็นปางมารวิชัยนามว่า "พระพุทธรูปอภัยนิรมิต ความหมายว่า พระพุทธผู้สร้างความไม่มีภัย ทูลเกล้าถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส่วนองค์อื่นจะนำไปถวายวัดปฎิบัติหรือสำนักสงฆ์ต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนองค์ต้นแบบที่หล่อด้วยปูนพลาสเตอร์ทั้ง 2 องค์ จะเก็บรักษาไว้ ที่ห้องเรียนบาลีศึกษาของเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อเป็นมิ่งขวัญของชาวเรือนจำกลางบางขวางสืบไป
สำหรับกิจกรรมงานปั้นพระพุทธรูปนี้มาจากการที่เครือข่ายพุทธิกาและเครือข่ายต่างๆที่มีจิตอาสาได้เข้ามาร่วมในการให้ความรู้กับผู้ต้องขังในแดนประหารจากที่ไม่สามารถทำได้ จนกระทั่งสามารถปั้นพระพุทธรูปได้ทั้งหมด 8 องค์ ซึ่งเป็นที่น่าชื่นชม ทั้งผู้ปั้นและทีมวิทยากรทุกท่านที่ได้เสียสละเวลามาโดยตลอดจนงานสำเร็จ
พระพุทธอภัยนิรมิต