เปิดข้อเสนอกำกับสื่อชงสปช.-ป้องเกลียดชังปิดกั้น Hate Speech
เปิดหมดข้อเสนอกำกับสื่อชงอนุฯสปช.ด้านสื่อ ชำแหละเหตุแห่งความเกลียดชัง-อคติ บ่อเกิด Hate Speech แบ่งระดับความรุนแรง 3 ขั้น
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เป็นเอกสารเสนอคณะอนุกรรมการสิทธิเสรีภาพจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองของสื่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยอ้างอิงส่วนหนึ่งจากการศึกษาเรื่อง “การกำกับดูแลสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง” โดย ผช.ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ผอ.ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
----
เอกสารเสนอคณะอนุกรรมการสิทธิเสรีภาพ จริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองของสื่อ สปช.
ประเด็นที่ 1 ขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงออก (Free speech) กับประทุษวาจา (Hate speech)
1) องค์ประกอบของประทุษวาจา (Hate speech)
องค์ประกอบสำคัญของประทุษวาจา ประกอบด้วย
ก. เจตนาหรือวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
ประทุษวาจานั้น หมายถึง การใช้คำพูดหรือการแสดงออกทางความหมายใดๆ ที่ผู้ส่งสารมีเจตนาชัดเจน หรือวัตถุประสงค์ที่จะทำให้เป้าหมายซึ่งระบุในเนื้อหาของการสื่อสาร ได้รับความเกลียดชังจากคนอื่นในลักษณะที่ถูกแบ่งแยกและตีตราว่าไม่เป็นที่ต้องการของสังคมและ อาจนำไปสู่ความรุนแรง ทั้งความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง (หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มดังกล่าวกับชนชั้นหรือกลุ่มทางสังคมอื่นๆ) และความรุนแรงทางกายภาพ (หมายถึง การใช้กำลังหรือการทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน)
ข. ฐานแห่งอคติ/ความเกลียดชัง
ประทุษวาจานั้นโจมตีกลุ่มบุคคลหรือปัจเจก บุคคลเป้าหมาย โดยมุ่งไปที่ฐานของ อัตลักษณ์ซึ่งติดตัวมาแต่ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ความพิการ ฯลฯ หรือเกิดขึ้นภายหลังและเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ศาสนา ชนชั้น สถานที่เกิด/ที่อยู่อาศัย อาชีพ การศึกษา อุดมการณ์ทางการเมือง ฯลฯ หรือลักษณะอื่นที่สามารถถูกทำให้แบ่งแยกได้ โดยต้องเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มที่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีร่วมกันหรือมีความเชื่อมโยงกันอย่างโดดเด่นภายใต้ลักษณะนั้นๆ
ค. องค์ประกอบเรื่องความรุนแรง
ประทุษวาจานั้นไม่เพียงมีองค์ประกอบของการโจมตีอัตลักษณ์ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดความเกลียดชัง ในสังคมเท่านั้น แต่ต้องมีลักษณะของการนำไปสู่ “ความรุนแรง” ด้วย อันเป็นการปลุกระดมให้ผู้คนเกลียดชังใคร หรือกลุ่มคนใดและสามารถนำไปสู่เกิดความรุนแรงในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางกายภาพ เช่น การทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน ความรุนแรงทางจิตใจ เช่น การดูหมิ่นเหยียดหยาม ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ด้วยการไม่ให้พื้นที่ในการอยู่ร่วมกันในสังคม และความรุนแรงเชิงโครงสร้างด้วยการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติต่อกลุ่มเป้าหมายความเกลียดชังอย่างไม่เท่าเทียม
ง. กระบวนการการสื่อสารที่ต่อเนื่องเป็นระบบ
ประทุษวาจาเป็นกิจกรรมที่ผู้ส่งสารมีเจตนากระตุ้นเร้าด้วยการสื่อสารที่ต่อเนื่อง ถ่ายทอดซ้ำ อย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการ ซึ่งแสดงถึงความมุ่งหมายอย่างชัดเจนในการสะสมความเกลียดชังเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์อะไรบางอย่าง และไม่ลดละความพยายามที่จะทำให้เกิดความรุนแรงกับคนใน อัตลักษณ์นั้นขึ้นมาจริงๆ
จ. บริบทในการสื่อสาร
บริบทที่แวดล้อมประทุษวาจานั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาและเฝ้าระวัง กำกับดูแล ก่อนที่ประทุษวาจาจะพัฒนาและยกระดับไปสู่การก่ออาชญากรรมจากความเกลียดชัง (Hate crime) ทั้งนี้ ต้องพิจารณาทั้งบริบทแวดล้อมทางภาษา บริบทแวดล้อมเรื่อง กาละ (time) และเทศะ (space) รวมถึงบริบทแวดล้อมทางสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่ประทุษวาจาเกิดขึ้น โดยเฉพาะในบริบททางสังคมที่ประกอบด้วย 1) ความหวาดกลัว 2) ความตื่นตระหนก และ 3) ความตึงเครียด/ขัดแย้งรุนแรง ก็จะทำให้อารมณ์ความรู้สึกของผู้เปิดรับเนื้อหาในสื่อมีความอ่อนไหวสูง ถูกยั่วยุและโน้มน้าวได้ง่าย
2) ปฏิบัติการของประทุษวาจา
ปฏิบัติการของประทุษวาจามีลักษณะของการพัฒนาหรือยกระดับของการแสดงความเกลียดชัง ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปมากที่สุดใน 3 ระดับ ประกอบด้วย
ความรุนแรงระดับที่ 1 เป็นการแสดงความเกลียดชังซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน
ความรุนแรงระดับที่ 2 การโน้มน้าวใจผู้อื่นให้เกลียดชังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่งบนฐานของอัตลักษณ์ที่แตกต่างในด้านต่างๆ
ความรุนแรงระดับที่ 3 การโน้มน้าวหรือยุยงให้ผู้อื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นการใช้ความรุนแรงอันเนื่องมาจากความเกลียดชัง
3) ข้อเสนอการกำกับดูแลประทุษวาจาที่เผยแพร่ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ตามระดับความรุนแรงของเนื้อหา
|
ระดับความรุนแรง |
||
กลไกการกํากับ |
ระดับ 1 |
ระดับ 2 |
ระดับ 3 |
|
|
|
|
สื่อสิ่งพิมพ์ |
การกํากับดูแลตนเอง (Self-regulation) ควบคู่ไปกับ การกํากับดูแลโดยสังคม (social regulation) ภายใต้ ภาคีเครือข่ายจากภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมใน ลักษณะของ ‘Private consortium’ |
การมอนิเตอร์สื่อมวลชน |
|
สื่อวิทยุและ |
การกํากับดูแลร่วมกันระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อและ |
การกํากับดูแลตาม |
|
โทรทัศน์ |
กสทช. ร่วมกับการกํากับดูแลโดยสังคม, ผู้ชมผู้ฟังเอง |
กฎหมาย |
|
สื่อออนไลน์ |
ไม่ต้องกํากับดูแล |
การกํากับดูแลตนเอง ผ่าน |
การกํากับดูแลตาม |
“ตัวกลาง” ที่เป็นลักษณะ |
กฎหมาย ควบคู่กับ การ |
||
ป้องกันไว้ก่อน |
กํากับดูแลตนเองผ่าน |
||
“ตัวกลาง” ที่เป็นลักษณะ |
|||
ป้องกันไว้ก่อน และการ |
|||
กํากับดูแล 2.0 |
|||
สื่อทุกประเภท |
เครื่องมือที่ไม่ใช่การกํากับดูแล (non-regulatory tools) อาทิ การส่งเสริมการรู้เท่า |
||
ทันสื่อ (Media literacy) หรือการศึกษากับผู้ใช้หรือการใหความรู้ในระดับสาธารณะ |
|||
เกี่ยวกับการสร้างความเกลียดชังออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้มีความรับผิดชอบและร่วมกัน |
|||
ส่งเสริมวัฒนธรรมการไม่เฉยชาหรือยินยอมต่อการสร้างความเกลียดชังออนไลน์ |
|||
เป็นต้น |
ประเด็นที่ 2 การพิจารณาประทุษวาจาที่จะนำไปสู่การจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงออก
- หลักการ “คำพูดที่ยั่วยุนำไปสู่การทำผิดกฎหมายบ้านเมือง” (imminent lawless action)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาใช้หลัก Clear and Present Danger Doctrine หรือ “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” ซึ่งเป็นคติทางกฎหมายอย่างหนึ่ง (Legal Concept or Doctrine) ที่ผู้พิพากษาศาลสูงแห่งสหรัฐฯ Oliver Wendall Holmes, Jr. เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1919 และถูกนำมาใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยฝ่ายบริหารใช้อำนาจหรือศาลมีคำวินิจฉัยว่ามีเหตุอันควรยกเว้น เพื่อป้องกันหรือระงับภัยและธำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ ซึ่งฐานคติดังกล่าวอยู่บนความเชื่อที่ว่า “ภัย” นั้นๆ อาจมีแนวโน้ม มีแบบอย่าง มีข้อมูลและมีปัจจัยเชื่อมโยง จนเห็นได้อย่างชัดแจ้งไร้ข้อสงสัยว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ณ จุดใดจุดหนึ่ง
แต่กระทั่งในทศวรรษ 1950 ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาสู่หลักการ “คำพูดที่ยั่วยุนำไปสู่การทำผิดกฎหมายบ้านเมือง” (imminent lawless action) อันเป็นผลมาจากคำตัดสินของศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาในกรณี Brandenburg v. Ohio ซึ่งพิจารณาว่าการสื่อสารซึ่งมุ่งยั่วยุและอาจนำไปสู่การทำผิดกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้น ที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและไม่ได้รับการคุ้มครองว่าเป็น free speech
อีกนัยหนึ่ง การพิจารณาว่าการสื่อสารนั้นเชื่อมโยงไปสู่อันตรายจากความรุนแรงโดยพลัน (imminent danger) หรือไม่ อาทิ พิจารณาว่าการยั่วยุให้ใช้ความรุนแรงมีการบอกรายละเอียดขั้นตอน การกระทำความรุนแรงหรือไม่ หรือว่าการสื่อสารความเกลียดชังนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่สุกงอมพร้อมปะทะกันหรือไม่ แม้ในขณะนั้นสารที่ส่งไปไม่ได้มีลักษณะยั่วยุก็ตามแต่ก็อาจส่งผลให้เกิดการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้น เป็นต้น